เมืองเก่าท่าสองยาว ตาก

tour-muang-khao-tha-song-yao-tak

เมืองเก่าท่าสองยาว
ตั้งอยู่บริเวณห้วยลึก ห้วยธาตุริมฝั่งแม่น้ำเมยทางทิศใต้ของชุมชนแม่ต้าน สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองฉอดเก่า จากการสำรวจของกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2502 พบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าด้านทิศใต้บ้านแม่ต้านริมฝั่งแม่น้ำเมย ภายในเมืองโบราณมีแนวเทินดินมีคูคั่นเป็นกำแพงเมืองโบราณ ทางด้านทิศตะวันตก มี 3 ชั้น มีโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ 10 แห่ง บ่อน้ำสี่เหลี่ยมกรุอิฐ ลึกประมาณ 20 เมตร 1 บ่อ ลานกว้างบนยอดดอยมีพระเจดีย์แบบเชียงแสน 1 องค์ นอกจากนี้ยังพบก้อนอิฐส่วนมากเป็นแบบสุโขทัย มีอิฐแบบอยุธยาปนอยู่บ้าง ไม่มีปูนสอ รอบโบสถ์ พบกองอิฐวางประจำอยู่ทิศทั้ง 8 เหมือนกับที่พบที่โบราณสถานที่บางแห่งในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใบเสมาพบแผ่นเดียวที่ดอยพระธาตุ พบแผ่นสัมฤทธิ์มีลวดลายสำหรับประดับองค์ระฆังแบบเชียงแสน พบพระพุทธรูปแบบสัมฤทธิ์แบบเชียงแสนหลายองค์

ศาลเจ้าอโมกขละ
ภาย ในบริเวณเมืองเก่ามีศาลเจ้าอโมกขละ ศาลเจ้าพ่อโมกขละ อยู่บนเส้นทางสายแม่ต้าน - ท่าสองยาง ศาลอยู่ทางขวามือ ริมถนน เป็นศาลใหญ่ก่ออิฐถือปูน ภายในมีรูปปั้นประดิษฐานเจ้าพ่อโมกขละ ชาวบ้านแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และอำเภอใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสมาก บริเวณใกล้เคียงมีศาลพระภูมิเล็กๆ มากมายเรียงรายอยู่ มีเรื่องเชื่อกันว่า ศาลเจ้าพ่อโมกขละนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่สัญจรไปมาบนเส้นทางนี้มักแวะนมัสการและจุดประทัดถวายเจ้าพ่อโมกขละ ครั้งหนึ่งได้ทำการต่อสู้กับพม่าจนกระทั่งตัวตาย ด้วยเหตุนี้เอง ชาวบ้านจึงเกิดศรัทธาและเคารพสักการะ โดยตั้งศาลขึ้นบูชาเป็นที่นับถือของชาวบ้านแม่ต้าน ผู้ที่สัญจรไปมาเส้นทางนี้มักแวะนมัสการและจุดประทัดถวายเสมอ ประวัติการสร้างศาลนี้ สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ และไม่มีการจารึกในวีรกรรมของเจ้าพ่อโมกขละแต่อย่างใด เพียงเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น

tour-muang-khao-tha-song-yao-tak

พระธาตุเมืองเก่าห้วย ลึก
มี วัดเก่าที่ร้างหลายแห่ง และมีเจดีย์เก่าที่สำคัญ คือ พระธาตุเมืองเก่าห้วยลึก ได้บูรณะหลายครั้ง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2412 มีชาวกระเหรี่ยงชื่อ นายพะสุแฮ ได้ศรัทธา ทำการบูรณะพระเจดีย์องค์นี้จนเป็นผลสำเร็จต่อมาปี พ.ส. 2470 พระอภิชัย (ปี๋) หรือ ประขาวปี๋ ได้บูรณะขึ้นใหม่โดยทำเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมและมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันที่ 19 เมษายนของทุกปี เรียกว่า วันน้ำทิพย์ของชาวบ้านแม่ด้าน

บริเวณ ใกล้เคียงเรียกว่าโบราณสถานทุ่งกากอก พบโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ มีผู้พบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ แบบเชียงแสนกว่า 400 องค์ กำแพงก่อเป็นเทินดิน 2 ชั้น มีคูคั่นหนอง ซึ่งเชื่อกันว่าขุดเอาดินไปทำอิฐ อิฐที่โบสถ์ วิหาร และเจดีย์เป็นแบบสุโขทัย เนื้อข้าวไม่มีแกลบก่ออ้วยปูนสอ พบก้อนหินอยู่รอบโบสถ์ซึ่งเข้าใจว่าใช้แทนใบเสมา