ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาผักหวาน สกลนคร
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาผักหวาน
อยู่ที่บ้านภูตะคาม ตำบลท่าศิลา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 18 กิโลเมตร เป็นภาพเขียนโบราณ มีอายุประมาณ 3,600 ปี อยู่บนก้อนหินใหญ่เป็นภาพลักษณะคล้ายผู้หญิงยืนเรียงกันเป็นแถวโดยใช้มือเกาะไหล่กันสถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบริการ บ้านพัก ไว้บริการนักท่องเที่ยว และในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์ไปเองเสียค่าพื้นที่ 30 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร 47190 โทร. 0 1849 9546 หรือสอบถามข้อมูลที่พักเพิ่มเติมได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
การเดินทางที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร คล้อยมาทางจังหวัดอุดรธานี เส้นทางที่สะดวกที่สุดที่จะเข้าสู่พื้นที่ คือ เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี ใช้เส้นทางจังหวัดอุดรธานี-สกลนคร มาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 22 จนถึงทางแยกหลักกิโลเมตรที่ 95 ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านต้าย-ดอนส้มโฮง ถึงทางแยกบ้านโพนสว่าง หลักกิโลเมตรที่ 17 ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านโพนสว่าง-ภูผาเหล็ก อีก 6 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
ลักษณะทั่วไปบ้านภูตะคามและสภาพทั่วไป บ้านภูตะคามเป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นในบริเวณเชิงเขาภูผาเหล็ก แหล่งสำคัญกำเนิดของลำน้ำสงคราม ซึ่งถือกันว่าเป็นบริเวณที่พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ภาชนะหม้อ ไห ลูกปัด เป็นจำนวนมาก การเกิดหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านภูตะคามในปัจจุบันเพิ่งเริ่มมาเมื่อประมาณ 50 ปีมานี้ โดยมีครอบครัวของพ่อใหญ่โม้ สมสะอิน พ่อใหญ่พัน สีดามาตย์ พ่อใหญ่เหมย ก้องเวหา พ่อใหญ่คำกองประมูล และคน อื่น ๆ และให้ชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านทุ่งอินทร์แปลง ในปีถัดมา กำนันขุนประจักษ์ แสงสี ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านว่า บ้านภูตะคาม ซึ่งมีความหมายถึงหมู่บ้านในเทือกเขานั่นเอง อันเนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่อยู่ระหว่างรอยต่อจังหวัดสกลนคร อุดรธานี และไม่ไกลจากขอนแก่น ซ้ำยังเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน บ้านภูตะคามจึงเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีการแทรกซึมจากผุ้ก่อการร้ายชุกชุม การต่อสู้ทางการเมืองในปี 2507 นับว่ามีความเข้มข้นมากที่สุด แต่ในปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้มีถนนลูกรังเชื่อมต่อจากบ้านผาสุยด้วยระยะทาง 9 กม. เข้าสู่หมู่บ้านภูตะคาม และมีทางแยกเข้าสู่แหล่งภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ด้วยระยะ ทางเพียง5 กม.เท่านั้น เป็นเส้นทางที่รถยนต์สามารถเข้าถึงแหล่งที่เรียกว่าถ้ำผักหวานอย่างสะดวก ปัจจุบัน ( สถิติปี 2540 ) บ้านภูตะคามมี 280 หลังคาเรือน ประชากรเพศชาย 280 คน ประชากรเพศหญิง 785 คน อาชีพหลักคือการทำนา อาชีพหลักคือการทำนา อาชีพรองที่สำคัญคือการเลี้ยงวัวขาย
หลักฐานที่พบแหล่งเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ภาพเขียนสีที่พบ อยู่ในบริเวณหน้าผาลักษณะเป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ที่แยกตัวจากเทือกเขาภูผาเหล็ก หน้าผา แห่งนี้สูงประมาณ 30 เมตรหันหน้าไปทางทิศ ตะวันตก ด้านบนเป็นลานหินมีบันไดไม้แข็ง แรงพาดไว้ให้ปีนป่ายขึ้นชมทิวทัศน์ แต่สิ่ง ที่น่าเสียดายคือหน้าผาส่วนพื้นดินมี รอยขุดเจาะหาโบราณวัตถุจนเป็นโพรงและมี การตกแต่งภายในถ้ำให้เป็นที่อยู่อาศัย ของพระธุดงค์มีการขีดเขียนข้อความด้วยสี น้ำมันจนเกือบทำลายภาพสีอันมีค่า ( ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ส่งช่างเทคนิคมาแก้ ไขลบตัวอักษรออกให้แล้ว ) มีการก่อ แท่นหินปูนขนาดใหญ่หน้าปากถ้ำ นับเป็นการ ทำลายสภาพแวดล้อมศิลปกรรมของสถานที่แห่งนี้ ที่ทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหาทางแก้ไขให้บริเวณนี้กลับคืนสภาพ ธรรมชาติให้มากที่สุด
ลักษณะของภาพเขียนสีลักษณะของภาพเขียนสีผาผักหวาน คล้ายคลึงกับลักษณะของ ภาพที่พบในศิลปถ้ำทางภาคใต้ของประเทศ ฝรั่งเศส และภาพที่พบทางแถบสแกนดิเน เวียมาก สำหรับที่ผาผักหวานนั้น สันนิษฐานว่า แต่เดิม คงมีภาพมากกว่านี้ แต่คงถูกทำลายไป โดยธรรมชาติคือ ลมและฝนที่พัดผ่านแทรก เซาะมาเป็นเวลานับพัน ๆ ปี ภาพบางส่วน จึงหลุดหายไปตามกาลเวลา ภาพที่เหลืออยู่ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ตามเทคนิคในการ สร้างภาพคือ
ภาพกลุ่มที่ 1 เป็นภาพวาดเพียงโครงนอก ไม่ ระบายสีทึบ เป็นภาพกลุ่มคนที่เห็นเต็มร่าง 7 คน แผนผังยังทำไม่เสร็จหรือลบเลือน ไปอีก1 คน ในกลุ่มนี้สันนิษฐานเพศได้ 5 คน เพศชาย 3 และเพศหญิง 2 เพศชาย สังเกตได้จากองคชาติที่ขีดเป็นเส้นออกมาระหว่าง ขาและลูกอัณฑะที่โผล่ออกมาที่ก้น เพศ หญิงมีนมที่หน้าอกตอนบนและเหนือท้องเป็น ที่สังเกต ผู้ชายไว้ผมยาวรวบมัดไว้ข้าง หลังคล้ายเปีย ผู้ที่ไม่แสดงลักษณะเพศไม่มี เครื่องนุ่งห่มอีก 2 คน
ในภาพที่เห็นครบองค์ประกอบของภาพทั้ง 7 ภาพนั้น คนที่ 1 ยืนอยู่ข้างหน้าไม่บอก เพศอีก 5 คน ยืนเรียงหันหน้าไปหาคน ที่ 1 เป็นแนวเดียวกัน สามารถบอกเพศได้ตาม ลำดับคือ ผู้ชาย ผู้หญิง 2 คน และผู้ชาย 2 คน คนทั้ง 5 ( ที่บอกเพศ ) ยืน ชิดเท้าเล็กน้อย นอกจากคนสุดท้ายทำท่า กระโดดคล้ายกับถูกเฆี่ยนด้วยแส้ คนที่ 7 ซึ่ง ใช้แส้บังคับคนทั้ง 5 ให้ยกมือ แสดงอาการ คาราวะคนข้างหน้าซึ่งหันหน้ามาจ้อง มองทุกคนในแถว นอกจากนี้ยังมี เด็ก ตัวเล็กคนหนึ่งยืนดูอยู่ข้างหลังคนที่ ถือแส้ด้วย
ลักษณะภาพเช่นนี้คล้ายกับภาพที่ปรากฏในถ้ำ ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส และสวีเดน ซึ่งมี หัวหน้าครอบครัวถือแส้อยู่หัวแถวบ้าง หลัง แถวบ้างคอยเฆี่ยนตีลูก ๆ ให้อยู่ในแถว ลักษณะภาพเช่นนี้แสดงการสั่งสอนของหัวหน้า ครอบครัว หรือชุมชนซึ่งสั่งสอนให้คนมี ระเบียบวินัย มีการลงโทษ เมื่อทำผิดหรือ ขัด ขืนต่อคำสั่งแสดงว่าเป็นสังคมที่มีระบบ ในการปกครองในระดับหนึ่ง
ภาพกลุ่มที่ 2เป็นภาพคนที่ใช้สีระบาย ทึบ ลักษณะการวาดภาพประณีตมากเป็นภาพคนเต็ม ร่างมีส่วนประกอบของร่างกายครบถ้วน เป็นภาพที่ ได้สัดส่วนฝีมือสูง เน้นให้เห็นสัดส่วน ของกิริยาท่าทาง สัดส่วนของร่างกายผมทรง บ็อบลำคอยาว กางแขนทั้งสองยกชู ขึ้นเหนือศีรษะนิ้วหัวแม่มือกางออกขาทั้ง สองถ่างออกจากกันร่างกายประกอบด้วยเส้นโค้ง อ่อนช้อยดูเด่นชัด แต่ไม่บอกเพศ
ในยุโรป สแกนดิเนเวียมนุษย์ยุคก่อน ประวัติศาสตร์นิยมวาดภาพหรือแกะสลักภาพของเทพธิดา วีนัส หรือแม่โพสพในลักษณะผมดก ทรวง อกหรือสะโพกโตแสดงส่วนประกอบของใบหน้า ลำ ขาโตแข็งแรงคล้ายภาพที่ผาผักหวานเป็นความ จงใจของศิลปินที่ต้องการวาดภาพนี้ขึ้นเป็น พิเศษ ในประเทศไทยพบลักษณะภาพคนศีรษะกลมโต น่องโป่ง เช่นนี้ที่ภูปลาร้า อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ระบบความเชื่อแหล่งที่พบภาพเขียนสี และภาพสลักหินแทบ ทุกแห่งมักจะพบลานหินกว้างซึ่งอยู่ ไม่ไกลจากแหล่งภาพเขียนสีมากนัก นักโบราณคดี เชื่อว่าแม้สังคมของมนุษย์จะเปลี่ยนจากยุคหิน ใหม่เข้าสู่ยุคโลหะ เมื่อประมาณ 3,200- 3,600 ปีมาแล้วก็ตาม แต่มนุษย์ก็ ยังหาแหล่งที่จะเลือกทำพิธีกรรม และแหล่ง เขียนภาพหรือแกะสลักซึ่งได้แก่ผนึกถ้ำที่ เหมาะสม เช่น มีพื้นผิวเรียบ เป็นสีชมพูอ่อน หรือสีน้ำตาลอ่อน มีชง่อนเป็นที่กั้นแสง แดดยามร้อนได้และที่สำคัญคือ สามารถกำบังฝน ที่จะทำให้ภาพลบเลือนได้ง่าย เป็นที่ สังเกตว่า การเลือกแหล่งเขียนภาพในเขตร้อนแตก ต่างจากการเลือกแหล่งเขียนภาพในเขตเมืองหนาว ซึ่งนิยมเขียนในถ้ำลึกสำหรับในประเทศเขตร้อนในก้ำลึกจะมีความชื้นสูง จึงนิยมเขียนใน บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี คือตามหน้า ผาตามชง่อนผา เป็นต้น แต่บริเวณเหล่านี้ก็ยัง เรียกกันว่า "ถ้ำ" เช่นเดียวกับบริเวณใน โพรงหินลึก ๆ ขนาดใหญ่
เนื่องจากภาพที่ปรากฏที่ถ้ำผักหวานมีจำนวน น้อย และเหลือเฉพาะภาพคน 7 ภาพ จึงไม่อาจ สันนิษฐานได้ว่า ภาพเหล่านี้บอกเรื่องราวอะไรนอก จากที่เปรียบเทียบกับภาพในยุโรปที่ นักโบราณคดีสันนิษฐานไว้ อย่างไรก็ตามชาวบ้าน ในหมู่บ้านมักจะโยงลักษณะที่ปรากฏให้ เข้ากับนิทานพื้นบ้านเรื่องหนึ่งคือ สุริวงศ์ โดยอธิบายว่าภาพสตรีที่ยืนกางแขนกางขา นั้นคือนางยักษ์แม่หม้าย แปลงกายเป็นสตรีรูป งามจนท้าวพรหมทัตหลงใหล จนนางพิมพาต้อง รับเคราะห์กรรมอยู่ในป่าส่วนภาพคนยืนเรียง กับคนแถวล่าว ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพวก ฝูงลิงในป่า แต่บางคนก็บอกว่าเป็น เหล่านางกินรีและนางบัวแก้วไกรษร ภรรยาท้า วสุริวงศ์ ความเชื่อเรื่องนิทานพื้นบ้านเหล่านี้ มิไช่เฉพาะเรื่องสุริวงศ์ แต่ยังมีเรื่อง อื่น ๆ เช่น เรื่องสินไซในภูเขาสำนักสงฆ์ สุมณฑาภาวนาที่อยู่ไม่ห่างไกลกัน
เทคนิคและเทคโนโลยีในการเขียนภาพภาพเขียนสีเหล่านี้ เชื่อว่ามีอายุนับเป็น พัน ๆ ปีมาแล้ว ประเด็นปัญหาที่สงสัยคือ ความ คงทนของสีเกิดจากส่วนผสมของสารอะไร บ้าง นักโบราณคดีได้นำสีแดงที่ปรากฏ ในลวดลายหม้อยุคบ้านเชียงซึ่งถือว่าอยู่ ร่วมสมัยเดียวกันกับการเขียนภาพตามผนังถ้ำ ไปพิสูจน์ด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ผลการพิสูจน์ พบว่าสีแดงหรือที่เรียกว่าดินเทศมี ส่วนผสมของฮีเมไทต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พบ หลายแห่งในบริเวณแหล่งโบราณคดีในภาคอีสานแต่ ยังไม่ปรากฏผลการพิสูจน์ว่ามีส่วนผสม ของสารใดบ้าง เมื่อนำมาทำเป็นสีที่ เขียนเป็นภาพผนังถ้ำที่ซึมเข้าไปในเนื้อ หินและมีความคงทนถาวรไม่ลบเลือนง่าย ส่วนผสมดังกล่าวเชื่อว่าต้องประกอบด้วยยางไม้ จากพืชพรรณชนิดใดชนิดหนึ่ง ผลไม้บางชนิด หรือกาวจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ไขมัน ซึ่งส่วน ผสมหรือสูตรผสมจะร้จักกันในยุคนั้น สมัยนั้นสำหรับการพิสูจน์ภาพเขียนของพวกอบอริ จิ่นในทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ พบว่ามีส่วน ผสมของสีผสมน้ำคั่นผลไม้และยางสน
อุปกรณ์ในการเขียนภาพ เชื่อว่าใช้พู่กันโดย ทำจากเปลือกไม้บางชนิด หรือต้นอ้อทุบให้ ปลายแตกเป็นฝอย ลักษณะคล้ายพู่กันปลายแบน ส่วน พู่กันชนิดอ่อนอาจทำด้วยขนสัตว์นำมา มัดรวมกันแล้วจุ่มสีวาดเป็นลายเส้นหรือ ระบายหนาทึบซึ่งภาพที่ปรากฏทั้งด้านบนและ ล่างของแหล่งภาพแห่งนี้ใช้วิธีดังกล่าว ส่วน การเขียนภาพโปร่งแสงหรือภาพแบบเอกซ์เรย์และ การพ่นสีตลอดจนการใช้สีทาที่ฝ่า มือแล้วทาบกับผนังถ้ำไม่ปรากฎในบริเวณนี้