พระธาตุศรีคูณ นครพนม
วัดธาตุศรีคูณ
เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวนาแก ตั้งอยู่ในกลางอำเภอนาแกห่างจากอำเภอธาตุพนม ตามทางหลวงสาย 212ประมาณ 7กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงสาย 223 ไป 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแก เลี้ยวซ้ายถึงวัดพระธาตุศรีคูณ ซึ่งเป็นที่ตั้งพระธาตุศรีคูณ มีลักษณะส่วนบนคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม
ที่ตั้ง บ้านนาแกน้อยหมู่ 3ตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ประวัติ วัดธาตุศรีคูณตั้งเมื่อพ.ศ.2421ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ.2431หลักฐานที่สำคัญที่อยู่ภายในวัดมี
พระธาตุมีลักษณะเช่นเดียวกับพระธาตุพนม
หอแจก เป็นหอแจกแบบโปร่งยกพื้นสูงผนังเปิดโล่ง 3ด้านยกเว้นด้านที่ติดกับอาสนะสงฆ์ มีช่องระบายอากาศเป็นรูปวงโค้งเว้นช่วงเป็นระยะ ๆเช่นเดียวกับส่วนหลังคาที่มีการซ้อนชั้นและเว้นช่องระบายอากาศระหว่างหลังคาจั่วและปีกนกมีบันไดทางขึ้น 2 ด้านเป็นบันไดไม้ ส่วนสารองรับหลังคาจั่วเป็นสาเหลี่ยมประดับบัวหัวเสาส่วนรองรับปีกนกเป็นเสาเหล่ยมเช่นเดียวกันแต่ไม่มีบัวหัวเสาฝ้าเพดานและพื้นเป็นการก่ออิฐถือปูน ส่วน ซุ้มประตูและของช่างญวน มีการดัดแปลง โครสร้างเสา และผนังเป็นการก่ออิฐถือปูนส่วนซุ้มประตูและหน้าต่างมักก่อโค้งครึ่งวงกลม หน้าบั่นด้านทิศตะวันออกของหอแจก มีปียอกการก่อสร้างระบุไว้คือปี พ.ศ.2472 ต่อมาได้รับการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้งในปี พ.ศ.2539
ใบเสมา ปักอยู่รอบอุโบสถ์ลักษณะการปักยึดคติตามทิศทั้ง 8 จำนวนทั้งหมด11ใบส่วนยอดของใบเสมาทรงเรียวแหลมลักษณะคล้ายใบหอกป้านโดยเฉลี่ยมีขนาดกว้างประมาณ75เซนติเมตรสูงจากพื้น 114เซนติเมตรแบ่งได้ 2 ประเภทคือแบบมีลวดลายสลักและแบบเรียบ แบบที่สบักบวดบายลักษณะเป็นภาพสัญลักษณะเป็นภาพสัญลักษณะทางพุทธศาสนา เช่น สถูปหม้อปุรณฆฏะ ลายกลีบ ลายคั่นลูกประคำซึ่งจัดอยู่ในสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 -16