เสมาหินทรายที่บ้านปากแบ่ง เลย
เสมาหินทรายที่บ้านปากแบ่งและบ้านนาหลัก
บ้านปากแบ่งและบ้านนาหลัก ตำบลวังสะพุงอยู่ห่างกัน 4 กิโลเมตร โดยบ้านนาหลัก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือและบ้านปากแบ่งอยู่ทางทิศใต้ ทั้งสองแห่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่มานาน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเลย ใบเสมาบ้านปากแบ่งพบครั้งแรกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2508 ลักษณะใบเสมามีลวดลายสลักรูปบัวบนฐานแบบที่มีรูปพระสถูปเจดีย์ประทับอยู่ตรงกลางแผ่นเสมา โดยส่วนบนมีลักษณะรูปกรวยคล้ายกับยอดเจดีย์ที่พบในดินแดนอีสานทั่วไป ส่วนที่บ้านนาหลัก เป็นเสมาหินปักคู่สองหลัก แบบที่มีคู่สลักนูนขึ้นไปจากยอดเสมา เป็นรูปคล้าย ๆ กับสถูปเท่านั้นโดยไม่มีลวดลายใด ๆ และปี พ.ศ. 2519 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นได้นำไปเก็บรักษาไว้ 1 หลัก จึงเหลือไว้ในสถานที่เดิมเพียง 1 หลักเท่านั้น
กลุ่มเสมาหินที่พบในภาคอีสานแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมในภูมิภาคตั้งแต่โบราณ เสมาหินที่พบส่วนมากเป็นศิลปวัตถุแบบทวาราวดีและลพบุรี