วัดแม่พระเมืองลูห์ด หาดใหญ่ สงขลา

วัดแม่พระเมืองลูห์ด หาดใหญ่

อำเภอและเมืองหาดใหญ่
ปัจจุบันนี้เมืองหาดใหญ่มีความเจริญก้าวหน้าและมีเศรษฐกิจที่ดี เพราะมีธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว และในเขตอำเภอหาดใหญ่ยังมีอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เมืองหาดใหญ่อยู่ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 50 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดสงขลาประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพ 960 กิโลเมตร เมืองหาดใหญ่เป็นเมืองค่อนข้างใหม่ไม่เกินร้อยปี

ถ้าเรามองย้อนหลังไปประมาณร้อยกว่าปี บริเวณที่เป็นเทศบาลนครหาดใหญ่ปัจจุบันในอดีตนั้นจะมีแต่บ้านส่วนกระจัดกระจายอยู่ไม่มาก ส่วนฝั่งคลองเตย และคลองอู่ตะเภาก็จะเป็นป่าเสม็ดและป่าไผ่เป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า โคกเสม็ด สมัยนั้นการเดินทางจากกรุงเทพไปใต้มักจะเดินทางทางเรือ เมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลจึงมักจะเจริญรุ่งเรืองกว่า อาทิเช่น นครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา

ในปี ค.ศ.1910 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเสันทางจังหวัดเพชรบุรี - สงขลา ขณะที่มีการสร้างทางรถไฟนี้ คนจีนบางคนที่มองการณ์ไกลคือ นายเจียกีซี (ต่อมาได้รับพระราชทานนามเป็นขุนนิพัทธ์จิระนคร) พระเสน่หามนตรี นายชีกิมหยง แซ่ชี และพระยาอรรถกวีสุนทร ได้ซื้อที่ดินในบริเวณสถานีรถไฟปัจจุบัน สมัยนั้นสถานีรถไฟหาดใหญ่อยู่ที่คลองอู่ตะเภา และต่อมาในปี ค.ศ.1921 ได้สร้างเสันทางรถไฟเชื่อมต่อกันระหว่างคลองอู่ตะเภา –มาเลเซีย - สุไหงโกลก จึงมีการสร้างทางรถไฟในสถานที่ปัจจุบัน ทำให้ที่ดินที่คนจีนดังกล่าวซื้อมาก็มีราคาดี ซึ่งทั้งสี่ท่านนี้ได้มีบทบาทในการเจริญเติบโตของเมืองหาดใหญ่เป็นอย่างมาก

เมืองหาดใหญ่จึงกลายเป็นชุมทางที่สำคัญในด้านการคมนาคม ขนส่ง และการท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชาวอังกฤษ ชาวจีนจากสิงคโปร์ เดินทางมาจังหวัดสงขลาไปอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบฯ และกรุงเทพ เป็นจำนวนมากขึ้น

เมื่อโครงการสร้างทางรถไฟจะเริ่มขึ้น ชาวจีนมาอาศัยอยู่ที่หาดใหญ่มากขึ้น และหาที่ดินมาครอบครอง โดยมองการณ์ไกลว่าหาดใหญ่จะต้องเจริญ ในปี ค.ศ. 1935 ตำบลหาดใหญ่ได้ยกฐานะเป็นสุขาภิบาล ต่อมาได้เป็นอำเภอหาดใหญ่ ปัจจุบันเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่

กลุ่มคริสตชนที่หาดใหญ่สมัยเยี่ยมเยียน
ระหว่างปี ค.ศ. 1669 - 1841 จังหวัดสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของสังฆมณฑลสยาม (กรุงเทพ)ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 สงขลาได้มาอยู่ภายใต้เขตปกครองของสังฆมณฑลสิงคโปร์ เมื่อมีการตั้งมิสซังราชบุรี ในปี ค.ศ. 1929 - 1930 สงขลามาอยู่ในเขตปกครองมิสซังใหม่ มิสซังราชบุรี ต่อมาในปี ค.ศ 1969 ก็อยู่ในเขตปกครองของสุราษฎร์ธานี คริสตชนพวกแรกที่เข้ามาอยู่เมืองหาดใหญ่ สงขลา และสะเดา โดยมากได้เข้ามาจากประเทศมาเลเซีย หรือจากเมืองจีนโดยตรง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นไป ก็มีคริสตชนที่เป็นข้าราชการและพ่อค้ามาจากส่วนกลางด้วย

ในปี ค.ศ.1929 คณะซาเลเซียนได้รับมอบมิสซังราชบุรี โดยคุณพ่อกาเยตาโน ปาขอตตี (Don Gaetano pasotti) เป็นผู้รับผิดชอบมิสซังรวม 19 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส ในเดือนมกราคม ค.ศ 1929 คุณพ่อกาเยตาโน ปาซอตตี (Don Gaetano pasotti) พร้อมกับคุณพ่อโยเซฟ ปีนัฟโฟ (Don Giuseppe Pinaffo) ได้เดินทางไปใต้ ไปสำรวจมิสซัง ท่านก็ได้แวะที่หาดใหญ่และประทับใจในความเจริญของจังหวัดสงขลา ต่อไปท่านก็เดินทางไปเกาะปีนัง เพื่อรับมิสซังภาคใต้จากคุณพ่อคณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P) สังฆมณฑลสิงคโปร์ แต่เนื่องจากมีพระสงฆ์จำนวนน้อย คุณพ่อกาเยตาโน ปาซอตตี มอบหมายให้คุณพ่อที่ปีนังดูแลมิสซังทางใต้ตอนล่างสุดต่อไป

ในปี ค.ศ. 1934 มิสซังราชบุรีได้รับแต่งตั้งเป็นเขตปกครองเฉพาะ (prefectura Apostolica) พระคุณเจ้าปาซอตตีจึงเริ่มขยายงานอภิบาลไปทางใต้ ในเดือนเมษายน ค.ศ 1934 คุณพ่อมารีโอรูเซดดู (Don Mario Ruzzeddu) ได้รับมอบหมายให้อยู่ประจำที่ราชบุรีเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น เดินทางไปเยี่ยมเยียนคริสตชนในภาคใต้ ท่านได้เริ่มเดินทางไปหัวหินและตัวเมืองประจวบฯ

ในวันที่ 9 ตุลาคม ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ.1935 พระคุณเจ้ากาเยตาโน ปาซอตตีได้เดินทางกับคุณพ่อมารีโอ รูเซดดู ไปเยี่ยมเยียนกลุ่มคริสตชนในภาคใต้ เพื่อแนะนำงานอภิบาลให้แก่คุณพ่อได้รู้จัก

ในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1935 ท่านถึงสถานีควนเนียง ท่านได้พบกับอาจารย์ทวน คมกฤศเป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมพันธุ์ยางหาดใหญ่ให้การรับรองที่บ้านของตน ในวันที่ 20 ขณะที่ถวายบูชามิสซา พระคุณเจ้าได้โปรดศีลล้างบาปให้ลูกของอาจารย์ทวน ตั้งชื่อว่า ยวง เวียนเน ทัศไนย

ในวันที่ 22 ตุลาคม อาจารย์ทวีได้พาพระคุณเจ้าและคุณพอมาีรโอ ไปพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและเยี่ยมเยียนครอบครัวคริสตังที่นั่น พระคุณเจ้าปาซอตตีได้ถือโอกาสนี้ไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนที่สำคัญๆ บางแห่งในเมืองสงขลา ต่อมาท่านได้พบกัปตันวอสเบน (vosbein) ชาวเดนมาร์ก ซึ่งมีภรรยานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก กัปตันวอสเบน มีอาชีพซื้อผลผลิตของเหมืองแร่ต่างๆ ในภาคใต้ส่งไปต่างประเทศ


ในวันที่ 23 ตุลาคม พระคุณเจ้าปาซอตตีและคุณพ่อมารีโอได้เดินทางไปปัตตานี วันรุ่งขึ้นหลังจากที่ได้สำรวจตัวเมืองปัตตานีได้กลับมาที่หาดใหญ่ ในวันที่ 25 ตุลาคม กัปตันวอสเบนได้มาพบพระคุณเจ้าที่หาดใหญ่มาเรียนคำสอนเพื่อจัดพิธีแต่งงานให้เรียบร้อย ท่านได้สนทนากับพระคุณเจ้าและคุณพ่อมารีโอเป็นเวลานานเกี่ยวกับเมืองหาดใหญ่ ท่านได้รายงานว่าที่หาดใหญ่ ทุ่งลุง และอำเภอสะเดา มีคริสตังชาวจีนจำนวนหนึ่งด้วย ตอนนั้นที่หาดใหญ่ มีคริสตชนชาวจีน คนไทยและชาวต่างประเทศ ประมาณ 20 คน อาทิเช่น ครอบครัวของนายคินซู แซ่หลี ครอบครัวของนายเหลียนฟัดและครอบครัวของนายกิมเหงียน แซ่หย่อง ต่อ มามีนายคอเหลียง แซ่เจ็ง พี่ชายคุณพ่อวีระ แซ่เจ็ง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุล เป็น เจนผาสุก) และครอบครัวอื่นๆ นอกนั้นมีชาวต่างประเทศบางคนที่มาค้าขายอาทิเช่นมิสเตอร์ สไรเบอร์ (Mr.Schreiber) ชาวเยอร์มัน นายโทมัส (Mr. Thomas) ชาวอินเดียและคนไทย อาจารย์ทวนคมกฤสคนไทยที่เป็นข้าราชการ นอกนั้นยังมีคริตชนที่กระจัดกระจายอยู่ตามเสันทางหาดใหญ่สะเดา รวมทั้งหมดประมาณ 60 คน

พระคุณเจ้าปาซอตตี และคุณพ่อมารีโอ ได้ทราบว่าชาวจีนที่หาดใหญ่มักจะส่งลูกๆ ไปเรียนที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย เพราะที่นั่นมีการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากกว่า และพวกเขาจะได้เรียนภาษาจีนและภาษาอังกฤษด้วย ถ้าคณะนักบวชซาเลเซียนมาเปิดโรงเรียนที่มีระดับและสอนภาษาที่หาดใหญ่ ชาวหาดใหญ่จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อาจารย์ทวนปรารภกับพระคุณเจ้าว่าที่สงขลามีเถ้าแก่ซีกิมหยง ซึ่งมีที่ดินมากมายที่หาดใหญ่ท่านยินดีถวายที่ดินแปลงหนึ่งสำหรับการเปิดกิจการโรงเรียนดังกล่าว พระคุณเจ้าปาซอตตีได้เดินทางไปดูที่ดินดังกล่าวเป็นครั้งแรก

ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1935 พระคุณเจ้าปาซอตตี และคุณพ่อมารีโอ ได้เดินทางไปสงขลาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อไปทำพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ในบ้านของกัปตันวอสเบน ท่านได้ทำพิธีแต่งงานให้เขา โปรดศีลล้างบาปให้ลูก เมื่อเสร็จพิธีท่านก็เดินทางไปปีนังโดยรถยนต์

ในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1935 พระคุณเจ้าปาซอตตี ได้เขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ของคณะที่กรุงตุริน บรรยายสภาพของกลุ่มคริสตชน และความหวังที่ท่านมีสำหรับกิจการคาทอลิกในอนาคตที่หาดใหญ่และอาณาบริเวณ พระคุณเจ้าปาซอตตีและคุณพ่อมารีโอ ได้กลับไปถึงราชบุรีในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1935

ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1936 คุณพ่อมาริโอได้ออกเดินทางไปใต้เป็นครั้งที่ 2 ท่านใช้เวลา45 วันในการเดินทางเยี่ยมเยียนครอบครัวคริสตังที่กระจัดกระจายตามจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ ทั้งตามทางรถไฟทั้งฝั่งทะเลอันดามัน ที่หาดใหญ่ท่านได้พักที่บ้านของอาจารย์ทวน คมกฤศ ที่คอหงสั และจากที่นี่ท่านก็ไปเยี่ยมเยียนครอบครัวคริสตังในเมืองหาดใหญ่และสงขลาพระคุณเจ้าปาซอตตี ได้แวะที่หาดใหญ่อีกครั้งหนึ่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 (เป็นครั้งที่ 2)

ขณะที่กำลังเดินทางไปเบตง และอีกครั้งหนึ่งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1937 (ครั้งที่ 3) ขากลับจากเบตงหลังจากที่ได้เสกวัดน้อยนักบุญเปโตรที่นั่นแล้ว ท่านได้แวะที่หาดใหญ่เพื่อทำมิสซาให้คนจีนที่นั่นด้วย

ในปี ค.ศ.1936 พระคุณเจ้าปาซอตตีได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งประมาณ 12 ไร่ ที่คอหงส์อำเภอ หาดใหญ่ ท่านรายงานเรื่องนี้ในการประชุมที่ปรึกษาของมิสซัง ในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ว่าท่านได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งประมาณ 12 ไร่ ที่หาดใหญ่ ในราคา 485 บาท

คุณพ่อย็อบ การห์นีนี่ มักจะเดินทางไปหาดใหญ่ สะเดา และเบตง ในเดือนเมษายนเพื่อให้โอกาสแก่ครอบครัวคริสตชนคนจีนทีจะฉลองปัสกาเป็นประจำทุกปี ท่านรู้จักภาษาจีนเป็นอย่างดีและสามารถแทนพระคุณเจ้าปาซอตตีได้ (อ้างอิง บันทึก เมษายน ค.ศ. 1936)

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1937 คุณพ่อมารีโอได้เดินทางไปถึงหาดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ท่านได้ไปพักที่บ้านอาจารย์ทวน คมกฤศ (ดูการบันทึกของพ่อมารีโอ วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1937 - 24 มกราคม 1938) ท่านได้เดินทางไปพบเถ้าแก่ซีกิมหยงที่สงขลา เพื่อปรึกษาหารือเรื่องที่ดินที่หาดใหญ่ คุณพ่อมารีโอได้สนทนากับเถ้าแก่ซีกิมหยงเป็นเวลานานเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของเมืองหาดใหญ่ และกิจการของเถ้าแก่ ซึ่งเถ้าแก่ซีกิมหยงได้รับปากกับคุณพ่อมาริโอว่าท่านยินดีถวายที่ดิน 6 ไร่ เมื่อมิสซังราชบุรีจะเปิดโรงเรียน (ดูจดหมายที่คุณพ่อมาริโอ รูเซดดู เขียนถึงพระคุณเจ้าปาซอตตี จากเหมืองปินเยาะ ลงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1938)

ภายหลังไม่นานคุณพ่อมาริโอ ได้เขียนจดหมายถึงพระคุณเจ้าปาซอตตี อีกฉบับหนึ่งรายงานว่าที่หาดใหญ่มีคาทอลิกชาวอินเดียคนหนึ่งชื่อนายโทมัส (Mr. Thomas) ซึ่งเคยสัญญากับคุณพ่อที่มาจากปีนัง ท่านพร้อมที่จะให้ที่ดินแปลงเล็กๆ ที่หาดใหญ่ เพื่อสร้างวัด แต่คุณพ่อไม่เคยมาดำเนินการในเรื่องนี้ คุณพ่อมารีโอสรุปว่าเมืองหาดใหญ่เป็นเมืองพร้อมต้อนรับกิจการคาทอลิกสักแห่งหนึ่ง และกิจการนี้มีอนาคตแน่นอนเพราะคนจีนต้องการ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือพระคุณเจ้าปาซอตตี ได้เดินทางไปเบตงพร้อมกับสามเณรคาร์เร็ตโต (Carretto Pietro) ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1938 ท่านได้แวะที่หาดใหญ่เหมือนกัน (ดูเรื่องวัดเบตง)

คุณพ่อมารีโอ ยังเดินทางเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง เพื่อไปเยี่ยมเยียนคริสตชนภาคใต้ในโอกาสคิรสต์มาส พระคุณเจ้าปาซอตตี หรือคุณพ่อยอบ การ์นินี มักจะเดินทางไปเบตง เพราะเขาทั้งสองรู้ภาษาจีนเป็นอย่างดี (ดูการบันทึกรายวันของคุณพ่อมาริโอที่ราชบุรี และบ้านเณรใหญ่ที่บางนกแขวกที่เก็บไว้ในห้องเอกสารสำนักงานซาเลเซียนที่กรุงเทพฯ)

พระคุณเจ้าปาซอตตี พร้อมคุณพ่อเกรสปี (Don Delhno Crespi) ได้เดินทางไปเบตงอีกครั้งหนึ่งระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม -12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 โดยผ่านทางยะลา ขากลับท่านทั้งสองได้แวะที่หาดใหญ่ท่านพักที่โรงแรมเพราะอาจารย์ทวีได้ย้ายไปอยู่อำเภอสวรรคโลก ทางเหนือของเมืองสุโขทัย วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 มีคนจีน 2 คนจากบ้านทุ่งลุง (ยังมีนายคอเหลียง แซ่เจ็ง พี่ชายคุณพ่อวีระและบราเดอร์มานพ แซ่เจ็ง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น เจนผาสุก) ได้มารับท่านไปทำมิสซาที่บ้านทุ่งลุง (ห่างจากหาดใหญ่ไปทางสะเดา 25 กิโลเมตร) คริสตังทุกคนเห็นพร้อมกันว่ามิสซังราชบุรีน่าจะเปิดโรงเรียนที่หาดใหญ่ พระคุณเจ้าปาซอตตีสัญญาว่าเรื่องนี้ใกล้ความจริงแล้วจะมีโรงเรียนและหอพักนักเรียนประจำด้วย

หาดใหญ่ ศูนย์กลางภาคใต้
พระคุณเจ้าปาซอตตีและคุณพ่อเกรสปี ได้เดินทางไปพบเถ้าแก่ซีกิมหยงที่สงขลา เถ้าแก่ได้ย้ำคำสัญญาที่เคยให้กับคุณพ่อมารีโอว่า พร้อมที่จะให้ที่ดินเพื่อมิสซังจะส่งคุณพ่อองค์หนึ่งมาประจำที่หาดใหญ่ เพื่อเปิดกิจการโรงเรียนในปี ค.ศ.1939 -1940 คุณพ่อเจ้าคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย มีโครงการขยายงานไปทางใต้ท่านกำลังศึกษาอยู่ว่าควรจะเปิดที่ภูเก็ตหรือที่หาดใหญ่ ในวันที่ 22 - 29 มิถุนายน ค.ศ. 1940 คุณพ่อยอห์น การ์เซตตา (Fr. Casetta John) เจ้าคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปหาดใหญ่ พร้อมกับคุณพ่อมารีโอ รูเซดดู (ดูการบันทึกรายวันของบ้านเณรบางนกแขวก ในวันที่ 29 มิถุนายน 1940) เขาทั้งสองได้อยู่ที่หาดใหญ่ในวันที่ 24 - 25 มิถุนายน คุณพ่อเจ้าคณะได้สังเกตเห็นว่าเมืองหาดใหญ่เป็นเมืองธุรกิจที่มีอนาคต คุณเม่งจุน คริสตชนคนหนึ่งที่หาดใหญ่ได้พาคุณพ่อทั้งสองไปพบเถ้าแก่ซีกิมหยง เพื่อปรึกษาหารือเรื่องที่ดินและการเปิดกิจการโรงเรียนที่หาดใหญ่

คุณพ่อเจ้าคณะยังได้เดินทางไปเกาะภูเก็ตกับคุณพ่อมารีโอ เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่นั่นด้วยก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะเปิดกิจการที่หาดใหญ่หรือที่ภูเก็ต ในที่สุดคุณพ่อเจ้าคณะได้สรุปว่าหาดใหญ่เป็นเมืองที่เหมาะสมที่สุดเพื่อเปิดกิจการซาเลเซียนแห่งแรกในภาคใต้ เมื่อได้ขออนุญาตผู้ใหญ่ของคณะที่กรุงตุริน คุณพ่อเจ้าคณะได้นำเรื่องนี้มาปรึกษากับที่ปรึกษาของแขวง ในที่สุดเดือนธันวาคม ค.ศ. 1940 คุณพ่อเจ้าคณะและที่ปรึกษาได้ลงมติเห็นด้วยที่จะเปิดกิจการโรงเรียนที่หาดใหญ่และที่หัวหิน (ดูรายงานมติของที่ปรึกษาเจ้าคณะ วันที่ 30 ธันวาคม 1940)

หมายเหตุ สถานการณ์ในประเทศไทยขณะที่แขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทยเปิดบ้านซาเลเซียนที่หาดใหญ่

1. คุณพ่อเจ้าคณะได้ตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการเปิดบ้านที่หัวหินและที่หาดใหญ่ปลายปีค.ศ. 1940 ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะเริ่มสงครามอินโดจีน และในทวีปยุโรปมีสงคราม

2. เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมคุณพ่อมารีโอไม่สามารถเปิดโรงเรียนที่หาดใหญ่ ควรจะคำนึงถึงสถานการณ์ด้านการเมืองและบรรยากาศแห่งการเบียดเบียนศาสนา

3. เถ้าแก่ซีกิมหยงได้สัญญาที่จะถวายที่ดินให้แก่พระคุณเจ้าปาซอตตี และคุณพ่อมารีโอ แต่เมื่อถึงเวลาคุณพ่อเจ้าคณะเป็นผู้ที่ลงทุนเปิดบ้านที่หาดใหญ่

คุณพ่อมารีโอ รูเซดดู เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 1
(ข้อมูลต่อไปนี้ คัดมาจากการบันทึกรายวันที่หาดใหญ่ ซึ่งอยู่ในห้องเอกสารของแขวง)

ในการเดินทางหาดใหญ่ ในวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อมารีโอได้เช่าบ้านหลังหนึ่งใกล้ๆ วงเวียนน้ำพุในปัจจุบันเพื่อเตรียมที่จะมาอยู่ประจำที่หาดใหญ่

ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 คุณพ่อเดินทางจากบางนกแขวก พร้อมกับนายบุญยงค์ ก่อนที่จะเดินทาง พระคุณเจ้าปาซอตตี เป็นห่วงมากจึงได้หยิบพระรูปแม่พระนิรมลทินมอบให้คุณพ่อมารีโอโดยพูดว่า “ขอให้คุณพ่อรับพระรูปแม่พระของคุณพ่อบอสโกรูปนี้แล้วอย่าลืมสิ่งที่คุณพ่อบอสโกเคยบอกว่า อาศัยความศรัทธาต่อศีลมหาสนิทและต่อแม่พระจะช่วยท่านให้ทำสิงใหญ่โตได้” คำพูดของพระคุณเจ้าปาชอตตีเหล่านี้ เป็นเสมือนคำทำนายสำหรับคุณพ่อมารีโอที่กำลังเดินทาง (ในเวลานั้นเป็นระยะเวลาแห่งการเบียดเบียนศาสนา) คุณพ่อเจ้าคณะไปส่งคุณพ่อที่สถานีรถไฟราชบุรี และอวยพรให้งานที่คุณพ่อจะกระทำนี้สำเร็จด้วยดี

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันที่แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด คุณพ่อมาีริโอ รูเซดดู มาถึงที่อำเภอหาดใหญ่ เพื่ออยู่ประจำ คุณพ่อนำสัมภาระของท่านไปยังบ้านที่ท่านได้เช่าไว้ล่วงหน้าแล้ว เจ้าของบ้านรีบมาบอกคุณพ่อว่ายกเลิกสัญญาเช่า เพราะว่าคุณพ่อเป็นผู้สอนศาสนาที่รัฐบาลไม่ชอบ คุณพ่อเป็นผู้ที่ได้วิ่งเต้นเพื่อเปิดกิจการที่หาดใหญ่ และมีความหวังสูงสำหรับกิจการนี้ แต่เ๋ืมื่อคุณพ่อได้ยินคำพูดเหล่านี้ขณะที่คุณพ่อเหนื่อยจากการเดินทางเป็นเวลาหลายชั่วโมงท่านก็มีความผิดหวังมาก แต่คุณพ่อมารีโอคิดถึงคำพูดของพระคุณเจ้าปาซอตตี จึงคิดในใจว่าแม่พระต้องเริ่มทำอัศจรรย์ในวันนี้เอง ท่านก็ได้พบที่พักในบ้านของนายแพทย์โทมัส (Mr. Thomas) เป็นบ้านที่กำลังก่อสร้างแต่นายโทมัสยินดีให้คุณพ่ออยู่ชั่วคราว เมื่อคุณพ่อทำมิสซาในวันอาทิตย์แรกที่คุณพ่ออยู่ประจำมีคริสตชนมาร่วมพิธีไม่กี่คน ต่อมาก็มีคนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ต้นเดือนมีนาคม คุณพ่อได้เช่าบ้านของนายปาเป้ (MR.PAPE) เป็นโปรแตสแตนท์ ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นเพื่อนกับมิสเตอร์ สไรเบอร์ (Mr.Schreiber) คาทอลิก ชาวเยอรมัน มิสเตอร์ปาเป้ ให้คุณพ่อเช่าบ้านในราคาพิเศษ 10 บาทต่อเดือน เพื่อความอยู่รอดคุณพ่อจึงต้องลงมือสอนพิเศษภาษาอังกฤษในตอนเย็น เจ้าอาวาสองค์แรกในภาคใต้ รับผิดชอบงานอภิบาล 14 จังหวัดภาคใต้ด้วย

วัดแรกแม่พระแห่งเมืองลูร์ดในที่ปัจจุบัน
ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1941 เถ้าแก่ซีกิมหยงได้นัดคุณพ่อมารีโอให้ไปพบที่บ้านของตนที่สงขลา และท่านได้มอบหนังสือสัญญามอบที่ดิน 6 ไร่ ให้แก่คุณพ่อมารีโอ

ในวันที่ 9 เมษายน คศ. 1941 คุณพ่อการ์นินี พร้อมสามเณรสนม วีระกานนท์ ได้ไปถึงหาดใหญ่ ขณะที่กำลังเดินทางไปเบตงเพื่อไปฉลองปัสกา เมื่อเขาทั้งสองไปถึงอำเภอบันนังสตาร์ สามเณรสนมถูกตำรวจจับเพราะไม่มีบัตรประจำตัว ถูกกล่าวหาเป็นแนวร่วม คุณพ่อการ์นินี จึงโทรเลขไปบางนกแขวกให้อธิการบ้านเณรฝากเอกสารของสามเณรสนม มากับคุณพ่อวันเดอร์วอร์ต (Van Der Voort) ซึ่งกำลังเดินทางลงมาหาดใหญ่ ในวันที่ 18 เมษายน มาเป็นผู้ช่วยคุณพ่อมาริโอสอนภาษา ปลายเดือนเมษายน สามเณรสนม วีระกานนท์ จึงถูกปล่อยตัว

วันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1941 คุณพ่อเจ้าคณะมาเยี่ยมเพื่อดูสถานการณ์ คุณพ่อเจ้าคณะอนุมัติให้คุณพ่อเตรียมแบบสร้างบ้านหลังหนึ่งในที่ดินที่รับถวายมา ต่อมาคุณพ่อเจ้าคณะพร้อมที่ปรึกษาได้อนุมัติโครงการสร้างบ้านที่หาดใหญ่ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1941 และในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 มีการเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง ต้นเดือนมิถุนายนมีการสร้างสะพานข้ามคลองเตยยาว 24 เมตร และได้ลงมือก่อสร้างบ้านสองชั้น ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน บ้านหลังนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เป็นบ้านสองชั้นครึ่งปูนครึงไม้ ในวันที่ 3 ตุลาคม คุณพ่อมาีริโอ ก็เข้าไปอาศัยอยู่ด้วย คุณพ่อได้เรียกบ้านหลังนี้ว่า บ้านปีนาร์ดี (pinardi) หาดใหญ่ ซึ่งบ้านหลังนี้อยู่ถึงปี ค.ศ. 1960 ก่อนหน้านั้นในด้านศาสนาคุณพ่อมารีโอ รูเซดดู (Fr. Mario Ruzzeddu) ก็จัดฉลองปัสกา กลางเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 มีสัตบุรุษมาร่วม 36 คน นอกนั้นคุณพ่อยังได้ไปชุมพร บ้านดอน ภูเก็ต ยะลา (บ้านนิบง) และบ้านนรา เพื่อให้สัตบุรุษที่นั้นมีโอกาสทำปัสกาด้วย

ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1941 พระคุณเจ้าปาซอตตี ได้แวะที่หาดใหญ่และได้ทำพิธีเสกบ้านที่คุณพ่อมารีโอเพิ่งสร้างเสร็จ พระคุณเจ้าพูดด้วยความแปลกใจว่า บ้านหลังนี้เป็นบ้านซาเลเซียนหรือสร้างไว้ในที่ของมิสซัง ดีใจมากในความร่วมมือ ตอนนั้นมีสมาชิกซาเลเซียนอยู่ประจำ 3 ท่าน คือมีสามเณรรูนี (Rooney) มาเพิ่มด้วย โอกาสนี้มีสัตบุรุษมาร่วมฉลอง 55 คน เท่ากับวันฉลองแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ บ้านหลังนี้เป็นที่พักและเป็นวัดน้อยถวายแด่แม่พระนิรมลทิน

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน คุณพ่อเจ้าคณะได้เดินทางไปหาดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในการประชุมที่ปรึกษาของแขวง ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 194ฯ คุณพ่อเจ้าคณะได้รายงานต่อที่ประชุมรายละเอียดเกี่ยวกับบ้านซาเลเซียนที่หาดใหญ่ว่า เป็นบ้านระดับสากล มีสมาชิก 4 คน 4 สัญชาติ คุณพ่อมาริโอเป็นชาวอิตาเลียน คุณพ่อวันเดอร์วอร์ทเป็นชาวฮอลแลนด์ สามเณรรูนีเป็นชาวไอริช และมีภราดาอนันต์ ฉายาบรรณเป็นคนไทย (อ้างการบันทึกบ้านเณรซาเลเซียนบางนกเนขวก 18/11/1941)

ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สงครามญี่ปุ่นได้เริ่มขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่คนในวงการเมืองเขารู้มาหลายเดือนแล้ว ทำให้ชาวต่างประเทศ ชาวยุโรป เดินทางออกนอกประเทศกันก่อนแล้วเหตุการณ์นี้ทำให้ชาวสงขลาและหาดใหญ่กลัวกันมาก

ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ 1941 สมาขิกซาเลเซียน 2 คน (ซึ่งเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ และชาวไอริช) ถูกเจ้าหน้าที่คุมตัวไปสงขลา และส่งตัวไปกักขังต่อที่กรุงเทพฯ (1 – 6 - 1942) (ทำให้คุณพ่อเสียใจและผิดหวังเป็นครั้งที่ 2) คุณพ่อมารีโอ จึงอยู่กับภราดาอนันต์ ฉายาบรรณ (ฮกลี้) เท่านั้นที่บ้านซาเลเซียนหาดใหญ่

ระหว่างปี ค.ศ. 1942 ถึงจบสงคราม ที่สงขลาและหาดใหญ่มีชาวญี่ปุ่นอยู่เต็ม ชีวิตค่อนข้างลำบาก เพราะการติดต่อกับส่วนกลางได้ยาก มีขโมยชุกชุม คนจีนที่หาดใหญ่มีความกังวลต่อการโฆษณาของรัฐและการเบียดเบียนคนจีนในหลายๆ เรื่อง แต่ในทางกลับกันคริสตังคิดถึงพระมากขึ้นมาวัดมากขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1942 มีสัตบุรุษมาทำปัสกาที่หาดใหญ่ 60 คน ในโอกาสนี้คุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาป 4 คน อย่างน้อยในงานอภิบาลท่านได้รับความบรรเทาใจบ้าง

อุปสรรคในการเปิดโรงเรียน
ทางเจ้าหน้าที่อำเภอแนะนำคุณพ่อมารีโอให้ยื่นเรื่องขอเปิดโรงเรียนสามัญดีกว่าที่จะสอนพิเศษเท่านั้น คุณพ่อเจ้าคณะได้ส่งครูทองดีจากโรงเรียนสารสิทธิ์บ้านโป่ง มาช่วยคุณพ่อมารีโอเตรียมเอกสาร และยื่นเรื่องขอเปิดกิจการโรงเรียนในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 และคุณพ่อมาริโอคาดว่า จะได้รับอนุญาตในเร็ววัน แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เจ้าหน้าที่ได้ส่งเรื่องไปและกลับมาเพื่อแก้ไขหลายต่อหลายครั้ง โดยอ้างว่า

1. คุณพ่อไม่มีวุฒิการศึกษาเพื่อดำเนินกิจการโรงเรียน
2. อาคารเรียนไม่เป็นสัดส่วน ทั้งบริเวณอาคารมีการปลูกสวนผักทั่วไป ไม่มีสนามที่เหมาะสมสำหรับนักรียน
3. คุณพ่อขออนุญาตเปิดโรงเรียนในที่ดินของคนอื่น

ในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1942 คุณพ่อเจ้าคณะและที่ปรึกษาได้พิจารณาเรื่องที่ดินที่หาดใหญ่ ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม ปีเดียวกัน คุณพ่อเจ้าคณะและที่ปรึกษาได้พิจารณาเรื่องการเปิดโรงเรียนทีหาดใหญ่ คณะที่ปรึกษามีความเห็นว่า การเปิดโรงเรียนที่หาดใหญ่เป็นเรื่องสำคัญ จึงอนุมัติงบประมาณ 4,000 บาทเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนต่างหากจากบ้านพัก เพื่อขจัดอุปสรรคในการอนุมัติเปิดโรงเรียนให้คุณพ่อเจ้าคณะได้หาวิธีแก้อุปสรรคอื่นๆ (ดูมิติของที่ปรึกษาเจ้าคณะ 03/10/1942)

ฉะนั้น วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 คุณพ่อเจ้าคณะได้ส่งคุณพ่อแฮกเกอร์ ฟรีเยริโอ ซึ่งมีประกาศนียบัตรครูมูล เหมาะที่จะเป็นควรใหญ่ของโรงเรียน แต่ในวันที่ 12 มีนาคม คุณพ่อได้กลับไปบ้านโป่ง เพราะว่าท่านทำอะไรยังไม่ได้ขณะที่ยังไม่มีการก่อสร้างอาคารเรียนต่างหากจากบ้าน ต่อมาวันที่ 5 เมษายน คุณพ่อเจ้าคณะได้ส่งคุณพ่อแตร์ปิน (Fr. Alessandro Terpin) เพื่อออกแบบอาคารเรียน แต่ว่าที่ 26 เดือนเดียวกัน คุณพ่อแตร์ปิน ถูกขโมยนาฬิกาและกระเป๋าเงิน ท่านจึงเสียใจและเดินทางกลับไปบ้านโป่ง เรื่องการออกแบบอาคารเรียนจึงชะงักลงไป

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 คุณพ่อเจ้าคณะส่งคุณพ่อยูลีโอ อ๊อตโตลินา (Fr.Giulio Ottolina) ท่านมาถึงหาดใหญ่วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1943 เป็นผู้ช่วยคุณพ่อมารีโอระหว่างนั้นคุณพ่อมารีโอใช้เวลาในการเดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนใน 14 จังหวัดภาคใต้จนถึงภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ชุมพรและโดยเฉพาะที่เบตง ฤดูการบันทึกที่หาดใหญ่ 16 กันยายน ค.ศ.1941 , 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942) ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1943 สามเณรวีระ ปอลและอันเดรมานพ แซ่เจ็ง (เจนผาสุก) ได้มาอยู่ที่หาดใหญ่มาเยี่ยมพี่ชายชื่อ นายคอเหลียง แซ่เจ็ง ซึ่งมีกิจการค้าขายดีพอสมควร เป็นคนที่รู้จักภาษาจีนหลายท้องถิ่น และรู้ภาษาญี่ปุ่นด้วย สามเณร 2 คนได้พักอยู่ที่วัดจนถึงวันที่ 10 เมษายน จึงกลับไปบ้านโป่ง

ในปี ค.ศ. 1943 คุณพ่อมาริโอไปเบตงหลายครั้งพร้อมคุณมนัส เพื่อหาวิธีที่จะได้เอกสารที่ดินของวัด เพราะเถ้าแก่โลฮาลิบได้ถึงแก่กรรมแล้วที่ปีนัง (ดูบันทึกรายวัน 25/05, 29/08, 30/11/1943) แต่ท่านทำไม่สำเร็จในเรื่องนี้เพราะความวุ่นวายของสงคราม

ในเดือนกันยายน ชาวอิตาเลียน ถูกควบคุมบริเวณถึงเดือนพฤศจิกายน จึงทำอะไรไม่ได้เลยในวันที่ 5 ธันวาคม มีคนมาขโมยปากกาและกระเป๋าเงินของคุณพ่ออ๊อตโตลินา ต่อมาในวันที่ 6 ครอบครัวหนึ่งที่อยู่ในที่ของวัดถูกขโมยทองที่เป็นสินสอด ผู้ใหญ่จึงเข้าใจว่าขโมยซึ่งได้ขโมยหลายครั้งแล้วนี้ต้องเป็นคนที่อยู่ในบริเวณวัด ในวันที่ 12 ธันวาคม ขณะที่ทุกคนเดินทางไปฉลองที่บ้านเถ้าแกเซีกิมหยง คนเฝ้าบ้านได้เห็นขโมยเข้าบ้านเป็นคริสตชนจีนจากเบตง

เมื่ออิสระจากการควบคุม คุณพ่อมารีโอได้เดินทางไปสงขลาเพื่อติดตามเรื่องอนุญาตเปิดโรงเรียน แต่ในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1944 ศึกษาธิการอำเภอส่งเรื่องโรงเรียนกลับมาให้คุณพ่อมารีโอ มีใจความว่า ไม่อนุญาตให้เปิดโรงเรียน (คุณพ่อมารีโอ ได้รับความผิดหวังเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นความผิดหวังอย่างหนัก) ความจริงคือตอนนั้นรัฐบาลสมัยหลวงพิบูลสงคราม มีนโยบายปิดโรงเรียนเอกชนภาคชั้นประถมอยู่แล้ว เพราะเป็นความรับผิดชอบของรัฐเท่านั้น และมีการเบียดเบียนศาสนา

คุณพ่อมารีโอได้เริ่มงานเยี่ยมเยียนคริลตชนในภาคใต้ด้วยความร้อนรน และท่านเป็นผู้เสนอต่อผู้ใหญ่เรื่องการเปิดศูนย์อภิบาลที่หาดใหญ่ แต่ในที่สุดท่านก็ทำไม่สำเร็จในการเปิดโรงเรียนตามความตั้งใจแต่แรก ส่วนเถ้าแก่ซีกิมหยงให้กำลังใจคุณพ่อมาก และบอกคุณพ่อว่าอย่ากลัวเลยสถานการณ์นี้จะผ่านพ้นไปเร็ว ถ้าคณะซาเลเซียนจะเปิดโรงเรียนเมื่อไรท่านจะให้ที่ดินอีก 5 ไร่ (ดู18/03/1944)

เถ้าแก่ซีกิมหยงได้มาอยู่ที่หาดใหญ่ถาวร ตั้งแต่เริ่มสงครามโลกแล้ว เพราะคนจีนทุกคนถูกบีบและเพ่งเล็งหลายเรื่อง ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1944 คุณพ่อมารีโอ รูเซดดู เองก็ถูกย้ายไปอยู่บ้านโป่ง

ข้อสังเกตเกี่ยวกับอุปสรรคที่หาดใหญ่
1. คุณพ่อเจ้าคณะได้ดำเนินการเปิดศูนย์อภิบาลที่หาดใหญ่ เพราะมีอนุญาตจากผู้ใหญ่แล้วและท่านคิดว่าสงครามอินโดจีนจะไม่เป็นอุปสรรคต่อโครงการนี้ที่หาดใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างไกลแต่ว่าไม่มีใครสามารถคาดคิดว่าจะมีสงครามญี่ปุ่นเกิดขึ้น พร้อมผลกระทบต่างๆ

2. เมื่อเปิดกิจการและสร้างบ้านแล้ว การถอนสมาชิกซาเลเซียนกลับไป หมายความว่าทุกอย่างจะสูญเสียไปพร้อมที่ดินก็ได้

3. นอกนั้นยังมีปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดิน ว่าเป็นของแขวงซาเลเขียน หรือเป็นของสังฆมณฑลราชบุรี เรื่องนี้จะเป็นเหตุให้การเปิดโรงเรียนจะล่าช้าไป ตามที่เราจะเห็นในภายหลัง

คุณพ่ออ็อตโตลีนา ยูลีโอ (Fr. Giulio Ottolina)
เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 (1944-1947)
เมื่อคุณพ่อมารีโอ รูเซดดู ย้ายไปแล้ว คุณพ่อยูลีโอ อ๊อตโตลินาได้รับมอบหมายให้ เป็นผู้รับผิดชอบบ้านซาเลเซียนที่หาดใหญ่ ในวันที่ 5
กรกฎาคม ค.ศ. 1944 คุณพ่อปองกีโอเน ได้รับมอบหมายให้ไปหาดใหญ่เป็นผู้ช่วยคุณพ่อยูลีโอ อ๊อตโตลินา

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 พันธมิตรค่อยๆ ตีญี่ปุ่นถอยกลับและเข้ามาใกล้ประเทศไทย มีการทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ บ้านโป่ง สงขลา จึงมีครอบครัวคริสตชนคนจีนบางครอบครัวมาขอที่อาศัยในที่ที่ซาเลเซียนอาศัยอยู่ที่หาดใหญ่ด้วย ระหว่างปี ค.ศ. 1944 - 1946 บิดามารดาและครอบครัวของคุณพ่อวีระ เจนผาสุก ไปอยู่ในบริเวณวัดที่หาดใหญ่ด้วย ตอนนั้นมีคนเข้าวัด 50 - 80 คน ส่วนคุณพ่ออ๊อตโตลีนา ยังกล้าที่จะเดินทางไปเบตง ภูเก็ต เพื่อเยี่ยมสัดบุรุษที่นั่นบ้าง

เถ้าแก่ซีกิมหยงได้มาอยู่ที่หาดใหญ่ตั้งแต่เริ่มสงครามโลกแล้ว ท่านคอยให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือ และคุ้มครองด้วย เถ้าแก่ซีกิมหยง ยังสัญญาว่าจะให้ที่ดินอีก 5 ไร่ในภายหน้า ถ้าคณะซาเลเซียนจะทำการเปิดโรงเรียน (18 มีนาคม 1944)

ในเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม ค.ศ. 1944 คุณพออ๊อตโตลีนา พยายามเร่งให้เถ้าแก่ซีกิมหยง โอนที่ดินให้คณะซาเลเซียนในนามของนายมานะ หรือให้เซ็นสัญญาให้คณะซาเลเซียนเช่า เป็นเวลา 20 ปีแต่เรื่องนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างบ้านซาเลเซียนหาดใหญ่และเถ้าแก่ เถ้าแก่จึงเริ่มปลูกผักและรังวัดเพื่อกำหนดเขตที่ฝังศพของครอบครัวในที่ดินใกล้บ้าน ทั้งยังปล่อยข่าวว่าอาจจะเปิดตลาดในที่ดินดังกล่าว คุณพ่อเจ้าคณะจึงเดินทางมาหาดใหญ่ และให้เรื่องนี้ยุติไว้ก่อน ในไม่ช้าจะทำเรื่องโอนเข้ามูลนิธิ แต่เรื่องนี้ใช้เวลาหลายปี กว่าจะสำเร็จ

เมื่อสงครามยุติในเดือนสิงหาคมและมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คนจีนจึงไม่กลัวแล้วและเริ่มใช้ชีวิตปกติ เถ้าแก่ซีกิมหยงยังสัญญากับคุณพ่อปองกิโอเน ว่าท่านพร้อมช่วยเงินก้อนหนึ่งด้วยถ้าคณะซาเลเซียนจะเปิดโรงเรียน (31 – 8 - 1945) คุณพ่อเจ้าคณะจึงได้อนุมัติและมอบหมายให้คุณพ่อปองกิโอเนลงมือก่อสร้างอาคารเรียนชั้นเดียวทางทิศตะวันตกที่ได้อนุมัติในปี ค.ศ. 1942 และเตรียมตัวสำหรับการเปิดโรงเรียน แต่แล้วปัญหาเรื่องเจ้าของที่ดินยังไม่ยุติ เรื่องการเปิดโรงเรียนจึงต้องพักอีกครั้งหนึ่ง

ในเดือนเมษายน ค.ศ.1946 คุณพ่อปองกิโอเนย้ายไปอยู่ที่หัวหิน มีคุณพ่อราฟาแอล กูร์ตี (Fr. Rafael Curti) มาช่วยคุณพ่ออ๊อตโตลีนา เป็นเวลา 1 ปี

คุณพ่อยอบ การ์นินี (Giobbe carnini)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 3
พระคุณเจ้าปาซอตตีมีโครงการเปิดโรงเรียนของสังฆมณฑลราชบุีรีที่หาดใหญ่เพื่อให้หาดใหญ่เป็นศูนย์ของสังฆมณฑลในภาคใต้ ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 คุณพ่อยอบ การ์นินี และคุณพ่อนาตัล มาเนมาอยู่ประจำที่หาดใหญ่ พระคุณเจ้าปาซอตตีให้คุณพ่อการ์นินี เป็นอธิการ และคุณพ่อนาตัล มาเน เป็นเหรัญญิก (26 – 5 - 1947) พระคุณเจ้าปาซอตตี มอบงานเร่งด่วนที่จะติดตามสัตบุรุษ 14 จังหวัดภาคใต้อย่างใกล้ชิด เพราะในระหว่างสงครามอินโดจีน งานด้านการอภิบาลที่กระจัดกระจายได้หยุดชะงักลง และนอกจากการทำงานอภิบาลแล้ว พระคุณเจ้าปาซอตตียังได้ให้คุณพ่อการ์นินี และคุณพ่อมาเน รับผิดชอบการติดตามเรื่องการเปิดกิจการของโรงเรียนที่หาดใหญ่แต่ไม่สำเร็จเหมือนกัน ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 มีการตั้งหมู่คณะซาเลเซียนอย่างเป็นทางการที่หาดใหญ่

ในปี ค.ศ. 1948 คุณพ่อเปโตร การ์เรตโตได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย และในปี ค.ศ. 1949 เถ้าแก่ซีกิมหยงได้ถึงแก่กรรม โดยยังไม่ได้โอนโฉนดที่ดินที่ได้ถวายให้แก่ซาเลเซียน ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 คุณพ่อเจ้าคณะได้รายงานให้ที่ปรึกษาขอ่งท่านทราบว่าพระคุณเจ้าปาซอตตีปรารถนาให้หาดใหญ่เป็นศูนย์สังฆณฑลทางภาคใต้ ฉะนั้นท่านจึงปรารถนาให้มีโรงเรียนแผนกชายโดยมีคณะซาเลเซียนเป็นผู้บริหาร และโรงเรียนแผนกหญิงโดยมีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์เป็นผู้บริหาร แต่ยังมีการติดขัดอยู่ว่า ซาเลเซียนยังไม่ได้รับการโอนโฉนดที่ดิน อย่างไรก็ตามมิสซังยังมีที่ดิน 20 ไร่ที่เชิงเขาคอหงส์ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1949 ซิสเตอร์ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ได้มาที่หาดใหญ่ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเปิดโรงเรียนสำหรับนักเรียนหญิง โดยที่ลูกของเถ้าแก่ซีกิมหยงจะถวายที่ดิน 3 ไร่ ตรงข้ามโรงเรียนศรีนคร

การเปิดโรงเรียนซาเลเซียนที่หาดใหญ่
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 คุณพ่อเจ้าคณะ เปโตร การ์เรตโต และที่ปรึกษา ได้ร่างเอกสารแสดงว่าเป็นการเร่งด่วนที่จะเริ่มกิจการโรงเรียน ในที่ดินที่เถ้าแก่ซิกิมหยงมอบให้ ถึงแม้จะยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของใครก็ตาม ฉะนั้นเดี๋ยวนี้หมดเวลาแล้วที่จะพิจารณาเรื่องใครเป็นเจ้าของที่ดิน ซาเลเซียนควรจะลงมือเปิดโรงเรียนเลย (ดูการบันทึกมติที่ประชุมที่ปรึกษา)

ในปี ค.ศ. 1950 ความฝันจึงเป็นจริงในที่สุด (ได้เวลาของพระ) ในเดือนมกราคม - มีนาคม มีการยื่นเอกสารเพื่อเปิดโรงเรียนซาเลเซียนที่หาดใหญ่ ชื่อว่า “โรงเรียนหาดใหญ่วิทยา่”

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1950 ซิสเตอร์บัลโดได้มาที่หาดใหญ่อีกครั้งหนึ่งเพื่อยื่นเอกสารเปิดกิจการของโรงเรียนในที่ดินแปลงใหม่ โดยอาศัยการประสานงานของคุณนายสวัสดิ์ และพร้อมๆ กันนั้นคุณพ่อยอแซฟ วิตาลี (วันที่ 22 เมษายน) ได้มาประจำที่หาดใหญ่ และดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนซาเลเซียนที่มีชื่อว่า “หาดใหญ่วิทยา”

แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็ได้เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้มีความจัดเจนในการดำเนินกิจการคาทอลิกที่หาดใหญ่ในภายหลัง คือ วันที่ 18 มีนาคม มีไฟไหม้ใหญ่ที่หาดใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุให้ลูกหลานของเถ้าแก่ซีกิมหยง ได้รับความเสียหายมาก ดังนั้นคุณพ่อยอแซฟ วิตาลี และคุณพ่อการ์นินี จึงได้รายงานเรื่อง ไฟไหม้ที่หาดใหญ่ และความเสียหายของครอบครัวของเถ้าแก่ซีกิมหยง ต่อคุณพ่อเจ้าคณะ ท่านจึงได้ขออนุญาตจากผู้ใหญ่ที่กรุงตุริน เพื่อกู้เงินจากต่างประเทศสำหรับกิจการของแขวง และให้ครอบครัวของเถ้าแก่ซีกิมหยงได้กู้จำนวนหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูฐานะทางครอบครัวให้ดีขึ้น

ด้วยเหตุนี้ครอบครัวเถ้าแก่ซีกิมหยง ได้ถวายที่ดินให้คณะซาเลเซียนอีก 5 ไร่ ที่ติดกับที่ดิน 6 ไร่เดิม ทั้งยังถวายอีก 3 ไร่เพื่อใช้เป็นกิจการของวัด (คือ 3 ไร่ที่เคยคิดจะให้ซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์) นอกจากนั้นครอบครัวของเถ้าแก่ซีกิมหยง ยังได้ถวายที่ดินที่สงขลาจำนวน 20 ไร่ให้แก่พระคุณเจ้าคาร์เรตโต ซึ่งตอนนั้นได้รับตำแหน่งเป็นประมุขสังฆมณฑลราชบุรีแล้ว เพื่อเป็นการใช้หนี้ในปี ค.ศ.1956 พระคุณเจ้าคาร์เรตโตได้มอบที่ดินให้แก่แขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย

ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1950 คุณพ่อเจ้าคณะ เปโตร คาร์เร็ตโต ที่ศาลาแดง ได้รับโทรเลขจากหาดใหญ่แจ้งว่า บริษัทยางภาคใต้ (Southern Rubber Co.;td) ได้ขอซื้อที่ดิน 12 ไร่ของมิสซังที่คอหงส์ แต่ตอนนั้นพระคุณเจ้าปาซอตตีป่วย ที่ดินผืนนี้จึงขายในปีต่อไป ในราคา 120,000 บาทโดยพระคุณ เปโตรคาร์เรตโต เป็นผู้ให้ขาย

วัดลำดับที่ 2 และที่ 3
คุณพ่อโยเซฟ วิตาลี (Joseph vitali) เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 4
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1951 คุณพ่อยอบ การ์นินี ได้เดินทางกลับไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ พระคุณเจ้าคาร์เร็ตโตได้มาเยี่ยมวัดหาดใหญ่และแต่งตั้ง คุณพ่อวิตาลีให้เป็นผู้รับผิดชอบสัตบุรุษที่วัดหาดใหญ่ ส่วนคุณพ่อนาตัล มาเน จะรับผิดชอบสัตบุรุษที่กระจัดกระจายตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงนราธิวาส และเบตง รวม 14 จังหวัด ในเวลาเดียวกัน พระคุณเจ้าคาร์เร็ตโตได้อนุญาตให้คุณพ่อวิตาลีได้ขายที่ดิน 12 ไร่ที่คอหงส์เพื่อใช้ในการก่อสร้างวัดชั่วคราวหลังที่ 2 ด้านหลังบ้าน 2 ชั้น เพื่อความสะดวกของผู้ที่มาร่วมมิสซา

ในปี ค.ศ. 1952 นี้เองมีคุณพ่อคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์มาอยู่ประจำที่ภูเก็ต เพื่อรับผิดชอบการอภิบาลสัตบุรุษภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่ระนองถึงตรัง ในปีเดียวกันนี้เองมีคำสั่งจาก พระคุณเจ้าคาร์เรตโต ให้มีคุณพ่ออยู่ประจำที่บ้านแสงอรุณเพื่อรับหน้าที่ดูแลสัตบุรุษชุมพรและสุราษฎร์ธานีด้วย คุณพ่อนาตัล มาเน จึงมีพื้นที่รับผิดชอบลดน้อยคงเหลือตั้งแต่นครศรีธรรมราชถึงนราธิวาสเท่านั้น กลุ่มคริสตชนที่บ้านทุ่งลุงกำลังเจริญเติบโต คุณพ่อการ์นินี เคยไปทำพิธีมิสซาให้เขาเป็นภาษาจีนในบ้านไม้ที่สวนยางของเขา กลุ่มนี้จึงมีการรวมตัวกันดีในปี ค.ศ. 1953 พระคุณเจ้าคาร์เร็ตโตได้มอบที่ดิน 3 ไร่ที่ได้รับมาจากเถ้าแก่ซีกิมหยงให้แก่โรงเรียนซาเลเซียนที่หาดใหญ่ ทั้งมอบหน้าที่ให้คุณพ่อวิตาลเป็นผู้รับผิดชอบงานอภิบาลในจังหวัดสงขลา ส่วนคุณพ่อมาเนรับผิดชอบในอาณาบริเวณ และเป็นเหรัญญิกของโรงเรียนด้วย

ในปี ค.ศ. 1954 มีการก่อสร้างวัดหลังที่สามในที่ดิน 3 ไร่ ทางทิศตะวันออกตรงที่มีวัดหลังปัจจุบัน เพื่อให้เป็นสัดส่วนต่างหากจากอาคารเรียนต่างๆ วัดหลังที่สามนี้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยาว 24 เมตรคุณพ่อมารีโอ รูเซ็ตดู (Marrio Ruzzeddu) เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 (สมัยที่2)ในปี ค.ศ. 1954 คุณพ่อนาตัล มาเน ย้ายไปอยู่บ้านโป่ง มีคุณพ่อมารีโอกลับมาอยู่หาดใหญ่แทนคุณพ่อนาตัล มาเน ทำหน้าที่รองอธิการโรงเรียนและเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดหาดใหญ่ และอาณาบริเวณ


LIST OF THE PARISH PRIESTS - HAAD YAI

N NAME FROM UNTIL
1. FR.RUZZEDDU MARIO 1941 1944
2. FR.OTTOLINA GIULIO 1944 1947
3. FR.CARNINI GIOBBE 1947 1952
4. FR.VITALI JOSEPH 1952 1954
5. FR.RUZZEDDU MARIO 1954 1957
6. FR.FORLAZZINI JOSEPH 1957 1964
7. FR.DELMOTTE MICHELLE 1964 1971
8. FR.MANE' NATALE 1972 1973
9. FR.DELORENZI FRANK 1973 1980
1O. FR.SOSIO VALENTINO 1980 1983
11. FR.TAPAI ELEUTERIUS 1983 1991
12. FR.SACCO FRANCIS 1991 1996
13. FR.TAMAYO JOHN 1996 1998
14. FR.VIW' CHENPHASUK PAUL 1998 2001
15. FR.NIPHON SARACHIT PETER 2001 2007
16. FR.JOHN LISSANDRIN 2007

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1956 คุณพ่อคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์รับผิดชอบการอภิบาลที่เบตง โดยคุณพ่อลีโน อินามา (และต่อมาคุณพ่อยอห์น เชเรซาโต ได้ไปสมทบช่วยงานที่อำเภอเบตงด้วย เป็นเวลา 1 ปี) จนถึง ปี ค.ศ.1960

คุณพ่อโยเซฟ ฟอร์ลาซซินี (Joseph Forlazzini)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส องค์ที่ 6
เมื่อคุณพ่อมารีโอ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงในปี ค.ศ. 1957 คุณพ่อโยเซฟ ฟอร์ลาซซินีได้รับมอบหมายเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสที่หาดใหญ่และเป็นรองอธิการด้วย โอกาสนี้ท่านได้เรียนภาษาจีนเพื่อสะดวกในการสื่อสารกับคนจีนในพื้นที่ท่านร้อนรนในการเอาใจใส่สัตบุรุษชาวจีน คุณพ่อได้อาศัย คุณครูจุงแสง (คุณครูเจริญศิลป์ เลิศวิทยาวิวัฒน์) เป็นผู้ช่วยคุณพ่อในการสอนคำสอนให้คนจีน นอกนั้นให้เดินทางกับคุณพ่อเวลาที่คุณพ่อไปทำมิสซาที่ทุ่งลุงหรือเบตง ทั้งยังช่วยคุณพ่อในการแปลคำสอนและการเทศน์สำหรับคริสตชนชาวจีน คุณพ่อยังได้เอาใจใส่ครอบครัวที่กระจัดกระจายทั่วไปตั้งแต่นครศรีธรรมราชถึงนราธิวาส จนถึงปี ค.ศ. 1964 ในปี ค.ศ. 1960 พระคุณเจ้าคาเร็ตโตได้ดำเนินเรื่องมอบวัดบ้านโป่ง ส่วนวัดหัวหินและวัดหาดใหญ่นั้นได้มอบที่ดินด้วย ทั้งการดำเนินงานกิจการวัดและที่ดินให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะซาเลเซียนอย่างเป็นทางการ โดยมีพันธะที่จะสร้างวัดถาวรด้วย

ในปี ค.ศ. 1964 คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท ได้มารับตำแหน่งคุณพ่อเจ้าอาวาส ท่านรับผิดชอบเฉพาะจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง ส่วนคุณพ่อยอแซฟ ไปอยู่ประจำที่เบตง

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1963 คุณพ่อฟรีเยรีโอไปอยู่ประจำที่จังหวัดยะลา คุณพ่อที่อยู่หาดใหญ่จึงรับผิดชอบจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล เพราะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคุณพ่อการ์โล กาเซตตา มาอยู่ประจำตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ดูแลรับผิดชอบสัตบุรุษที่นั่น

คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท (Michale Delmotte)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 7
ในปี ค.ศ. 1964 คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท (Fr. Michale Delmotte) ชาวเบลเยี่ยม ได้รับตำแหน่งเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสที่วัดแม่พระเมืองลูร์ด หาดใหญ่ มีคุณพ่อฟรังซิส ซัคโก (Fr. Francis Sacco) เป็นผู้ช่วย คุณพ่อเดลม๊อทเป็นคุณพ่อองค์แรกที่ทำงานที่วัดเต็มเวลาโดยมีผู้ช่วยด้วย เรื่องนี้รวมกับการที่อาณาเขตของวัดหาดใหญ่ลดน้อยมากแล้วทำให้คุณพ่อและผู้ช่วยได้เอาใจใส่งานอภิบาลที่หาดใหญ่และกลุ่มเล็กๆ ในอาณาบริเวณ โดยเฉพาะการสอนคำสอนให้เด็กในภาดฤดูร้อน

คุณพ่อซัคโกจะทุ่มเทเอาใจใส่สัตบุรุษที่ทุ่งลุง ทับโกบ คลองแงะ บางแก้ว พัทลุง และสตูล ที่ทุ่งลุง คุณพ่อได้ซื้อที่กลางหมู่บ้านและสร้างวัดถวายแด่พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นความตั้งใจของคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดหาดใหญ่ตั้งแต่ในสมัยของคุณพ่อยอบ การ์นินี ที่ทับโกบ คุณพ่อก็ได้ซื้อที่เหมือนกันและได้สร้างวัดน้อยเช่นเดียวกัน คุณพ่อเดลม๊อทเป็นผู้ที่ริเริ่มการสอนคำสอนภาคฤดูร้อนที่หาดใหญ่ และกระทำต่อเนื่องมา ทุกๆ ปี

ในปี ค.ศ.1968 คุณเสรีได้ถวายที่ดินทีเบ้านไร่ทางไปทุ่งลุงเพื่อเป็นที่เปิดสุสานคริสต์ต่างหากจากสุสานจีน และในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 มีการนเสกสุสานครั้งแรกที่นั่น

สร้างวัดใหม่ (หลังปัจจุบัน)
คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท (Fr. Michael Delmotte) มีความตั้งใจมาหลายปีแล้วว่า จะทำการสร้างวัดหลังใหม่ที่ถาวร เหมาะสมกับกลุ่มคริสตชนที่กำลังขยายตัวในเมืองหาดใหญ่

คุณพ่อเจ้าคณะและที่ปรึกษาจึงพิจารณาโครงการของคุณพ่อเดลม๊อท และอนุมัติให้มีการก่อสร้างวัดใหม่ (ดูมิติของที่ปรึกษาเจ้าคณะลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 1968 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1969) ในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1969 หลังจากที่ได้มีการเตรียมการมานานแล้ว คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท ได้ลงมือก่อสร้างวัดถาวรที่หาดใหญ่ โดยท่านเป็นผู้หาทุนเองเป็นส่วนมาก นอกนั้นคณะซาเลเซียนได้สมทบทุนในการก่อสร้าง มีช่างซาลอน เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มีพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1969 วัดนี้มีพิธีเปิดและเสกในวันที่ 4 ดุลาคม ค.ศ. 1970 โดยพระคุณเจ้าคาร์เรตโตเป็นประธาน

คุณพ่อนาตัล มาเน ( Fr. Natale Mane)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 8
เมื่อคุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท ได้สร้างวัดเสร็จแล้วท่านได้อยู่หาดใหญ่อีกไม่นาน และท่านจึงเดินทางกลับประเทศเบลเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1971

ในปี ค.ศ.1971 คุณพ่ออธิการโรงเรียนแสงทองวิทยา เป็นคุณพ่อเจ้าวัดที่หาดใหญ่ด้วย โดยคณพ่อซัคโกเป็นผู้ช่วย


คุณพ่อแฟรงค์ เดโลเรนซี (Fr. Frank Delorenzi)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 9
ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 คุณพ่อแฟรงค์ เดโลเรนซี ได้มารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแม่พระเมืองลูร์ด หาดใหญ่ คุณพ่อแฟรงค์อยู่หาดใหญ่เป็นเวลา 8 ปี ท่านได้เอาใจใส่อภิบาลกลุ่มคริสตชนที่หาดใหญ่และอาณาบริเวณด้วยใจร้อนรน อาทิเช่น บ้านทุ่งลุง ทับโกบ คลองแงะ บางแก้ว พัทลุง และสตูล เป็นอย่างดี ที่หาดใหญ่คุณพ่อมีความตั้งใจเป็นพิเศษ ที่จะพยายามสร้างหมู่คณะคริสตชนที่มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว ท่านจึงได้หาคูรสอนคำสอนสองคนมาช่วยงาน คือ คูรโสภา แซ่หลี และคูรยะหลาน (ภายหลังชื่อ ทัศนีย์ ซึ่งเข้าเป็นซิสเตอร์คามิลเลียน) ช่วยสอนคำสอนที่วัดทุ่งลุง ครูโสภาและครูยะหลานเป็นชาวเบตงที่คุณพ่อยอแซฟได้ส่งไปเรียนเป็นคูรคำสอนที่บาตูกะจา เมืองไตปิง ประเทศมาเลเซีย ต่อมาที่เบตงมีคุณพ่อบูเจียมาอยู่ ซึ่งรู้ภาษาจีนดีแล้วจึงไม่ต้องการครูคำสอนช่วย ต่อมาคุณพ่อแฟรงค์ได้คิดโครงการที่จะอบรมคูรคำสอนสำหรับทั้งสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีเพื่อเป็นผู้ช่วยคุณพ่อเจ้าวัดในวัดต่างๆ ตามความต้องการ ท่านได้ซื้อที่ดินที่สงขลาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1974 และได้สร้างวัดน้อยที่นั่น

ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ 1975 เป็นต้นไปมีผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามมาลงที่สงขลา เป็นเหตุให้คุณพ่อมีงานเพิ่มอีกอย่างหนึ่ง ผู้ลี้ภัยนี้จะมีมาเรื่อยๆ ต่อเนื่องกันถึง 10 ปี คุณพ่อและสมาชิกซาเลเซียนที่หาดใหญ่ ก็จะรับเป็นงานที่สำคัญที่ต้องไปให้การเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือ 2-3 ปีต่อมามีคุณพ่อคณะเยสุอิต ชาวอเมริกัน คือคุณพ่อเดฟริน (Fr. Devlin) มาเอาใจใส่เป็นประจำ

ในปี ค.ศ.1976 คุณพ่อโจซีโอได้ทำหน้าที่แทนคุณพ่อแฟรงค์เป็นเวลา 1 ปีเมื่อกลับมาแล้วคุณพ่อแฟรงค์ ได้สร้างอาคารศูนย์คาทอลิกแพร่ธรรม หาดใหญ่ และในปีต่อๆ ไป คุณพ่อซัคโก ซึ่งย้ายมาอยู่ที่ศูนย์คาทอลิกแพร่ธรรมหาดใหญ่ ได้อบรมครูคำสอนหลายรุ่น สำหรับสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีเพื่อให้งานอภิบาลสัตบุรุษเข้าถึงทุกครอบครัว ทุกปีจะเชิญซิสเตอร์หรือคุณพ่อจากคณะนักบวชที่กรุงเทพฯ มาช่วยอบรมและเยี่ยมเยียนครอบครัวต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้ผลดี คุณพ่อยังได้สนับสนุนกลุ่มเยาวชน พลมารี กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน และอื่นๆ

ในปี ค.ศ.1979 คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท ซึ่งช่วยเหลือวัดหาดใหญ่เป็นประจำ ทั้งๆ ที่ท่านได้กลับไปยังบ้านเกิดของท่านแล้ว ก็ยงเดินทางกลับมาเยี่ยมวัดที่ท่านได้สร้างขึ้นมา

ในปี ค.ศ.1980 โอกาสฉลองปัสกา มีพิธีบวชพระสงฆ์เป็นครั้งแรกในวัดแม่พระเมืองลูรด์หาดใหญ่ คือ คุณพ่อชีโร่ นาวา (Fr. Ciro Nava)

คุณพ่อโซซีโอ
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที 10
ในปี ค.ศ.1980 คุณพ่อแฟรงค์ ได้ย้ายไปประจำวัดแม่พระฟาติมา ที่บ้านแสงอรุณ คุณพ่อโซซีโอ จึงเป็นคุณพ่อเจ้าวัด โดยมีคุณพ่อการ์โล เวลาร์โด เป็นผู้ช่วย และมีคุณพ่อซัคโก ดูแลอาคารแพร่ธรรม

แม้ว่าคุณพ่อวาเลนติโน โซซีโอ จะดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสเพียง 3 ปี แต่ท่านได้ดูแลนักเรียนประจำที่โรงเรียนแสงทองเป็นเวลาหลายปี และยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสหลายวาระติดต่อกัน ดังนั้นท่านได้ช่วยพัฒนาคริสตชนหาดใหญ่ในหลายด้าน โดยเฉพาะการดูแลเอาใจใส่การสอนคำสอนทั้งในช่วงภาคเรียนปกติและคำสอนภาคฤดูร้อน พร้อมทั้งจัดหาครูคำสอนเพิ่ม เช่น ครูพิลาป ประชาบาล ส่วนคุณพ่ซัคโกได้ให้ครูประสงค์ รุจิรัตน์ มาช่วยในศูนย์แพร่ธรรม ติดตามดูแลสัตบุรุษที่อยู่ห่างไกลอย่างสม่ำเสมอ อบรมบรรดาเด็กๆ ให้สามารถช่วยจารีต ร่วมพิธีกรรมอย่างถูกต้องและสง่างาม รับผิดชอบดูแลวัดและสัตบุรุษในช่วงที่คุณพ่อเจ้าอาวาสติดภารกิจนอกพื้นที่ด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดี

ในปี ค.ศ.1981 คุณพ่อซัคโก ซึ่งอยู่ประจำศูนย์คาทอลิกแพร่ธรรมหาดใหญ่ ทำหน้าที่แทน คุณพ่อโซซีโอ ระยะหนึ่ง


คุณพ่อแตร์รี่ ตาไปย์ (Fr. Terry Tapay)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 11
ในปี ค.ศ. 1983 มีคุณพ่อแตร์รี่ ตาไปย์ เป็นคุณพ่อที่หนุ่มทีสุดที่ชาวหาดใหญ่เคยมี ท่านมีอายุเพียง 35 ปีในตอนนั้น มีคุณพ่อซัคโก เป็นผู้ช่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์แพร่ธรรมคาทอลิกหาดใหญ่

ต้นปี ค.ศ. 1985 คุณพ่อซัคโก ย้ายไปเป็นคุณพ่อที่บ้านโป่ง คุณแตร์รี่ ตาไปย์ จึงรับผิดชอบศูนย์คำสอนด้วย โดยมีคุณพ่อยอแซฟ เกียรติ บุญกำจาย เป็นผู้ช่วยระยะหนึ่ง คุณพ่อตาไปย์ได้พัฒนาการมีส่วนร่วมของสัตบุรุษในกิจกรรมต่างๆ ของวัด เข่น การขับร้องในพิธีมิสซา สนับสนุน ดูแลเอาใจใส่เยาวชนให้รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัดและดำเนินชีวิตเป็นลูกที่ดีของพระเจ้า ทำให้เยาวชนรวมตัวกันอย่างเป็นปึกแผ่นและมีชีวิตชีวาด้วยการปลูกฝังให้พวกเขารักดนตรี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ส่งเสริมการใช้พระคัมภีร์ในครอบครัวให้เกิดผลในชีวิตประจำวัน แก่บรรดาสัตบุรุษที่สนใจสนับสนุนให้ฆราวาสมีบทบาทในงานแพร่ธรรมมากขึ้น โดยการส่งตัวแทนฆราวาสเข้าร่วมสัมมนาผู้นำฆราวาสของสังฆมณฑลเป็นประจำทุกปี เริ่มในปี ค.ศี 1985 ทำให้ฆราวาสมีความตื่นตัว เข้าใจบทบาทของตนเองที่มีต่องานแพร่ธรรม และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกิจการต่างๆ ตามความสามารถมากยิ่งขึ้น จัดให้มีการอบรมสัมมนาฟื้นฟูชีวิตครอบครัว โดยเชิญทีมพิธีกรจากบ้านโป่งมาให้คำแนะนำ ริเริ่มการแบ่งคริสตชนเป็นกลุ่มตามเขตที่อยู่อาศัย

คุณพ่อตาไปย์ ได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งที่สงขลา เพื่อเป็นที่ประกอบพิธีมิสซาหลังปัจจุบัน และพัทลุงก็เช่นเดียวกันโดยมีคุณพ่อโรเซ่น ช่วยหาทุน

ในปี ค.ศ.1987 วัดแม่พระเมืองลูดร์ หาดใหญ่ มีบุญได้ต้อนรับพระรูปแม่พระฟาติมา เป็นเวลา 1 เดือน ในปี ค.ศ.1988 ชาวหาดใหญ่ คือ โรงเรียนแสงทอง โรงเรียนธิดานุเคราะห์ และวัดหาดใหญ่ร่วมฉลองดอนบอสโก 88 อย่างสง่าเหมือนกัน

คุณพ่อฟรังซิส ซัคโก
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 12
ในปี ค.ศ.1991 มีคุณฟอซัคโก ย้ายมาประจำที่วัดหาดใหญ่ และสานต่องานของคุณพ่อตาไปย์ เป็นอย่างดี โดยมีคุณพ่ออนุรัตน์เป็นผู้ช่วย ในปี ค.ศ. 1993 มีคุณพ่อโซซิโอ กลับมาเป็นผู้ช่วย

คุณพ่อซัคโก ได้พัฒนางานด้านอภิบาลคริสตชน และงานแพร่ธรรมอย่างเต็มความสามารถ เช่น ส่งเสริมงานแพร่ธรรมกับบรรดาคนต่างศาสนา ส่งเสริมการใช้วีดีโอในการสอนคำสอน จัดอบรมคูรคำสอนอย่างต่อเนื่อง สอนคำสอนคนต่างศาสนา โปรดศีลล้างบาปแก่ผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมาก ริเริ่มให้มีสภาอภิบาลวัด และยกร่างธรรมนูญฉบับที่ 1 สำหรับสภาอภิบาลวัด เพื่อการทำงานร่วมกันของพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส จำนวน 31 ท่าน ได้ริเริ่มให้มีการสวดสายประคำตามบ้านของสัตบุรุษในช่วงเดือนตุลาคมเป็นประจำทุกปี

เริ่มต้นการบูรณะป่าช้า โดยมีคุณครูเจิม เทพสุริยวงศ์ คุณพร้อมสุข สินเจริญกุล คุณครูพรสวัสดิ์ เลิศวิทยาวิวัฒน์ คุณอุดมเลิศ มหัทธโนบล และคุณอุดมชัย มหัทธโนบล พร้อมกับนักเรียนโรงเรียนแสงทองวิทยาจำนวนหนึ่ง โดยในระยะเริ่มแรกได้สร้างถนน ปลูกไม้ยืนต้นเพื่อความร่มรื่นและสวยงาม ของ ป่าช้า

เริ่มผลักดันให้มีการกอ่ตั้งมูลนิธิพี่น้องคาทอลิก หาดใหญ่ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมอบห้คุณพร้อมสุข ติดต่อประสานงานเรื่องการรับโอนที่ดินในส่วนของป่าถ้าจำนวน 4 ไร่เศษ จากคุณเจริญสุข แซ่อึ้ง มารดาของท่าน ซึ่งได้ซื้อที่ดินแปลงนี้จากทายาทของคุณสิริเสรีสำราญ

คุณพ่อยอห์น ตามาโย (Fr. John Tamayo)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 13
ในปี ค.ศ. 1996 คุณพอยอห์น ตามาโย มาเป็นคุณพ่อที่หาดใหญ่ และคุณพ่อโซซีโอ เป็นผู้ช่วย ท่านได้เอาใจใส่การอภิบาลครอบครัว โดยจัดให้มีการอบรมสัมมนาชีวิตครอบครัวอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งให้มีการฝึกทีมพิธีกรในเขตพื้นที่ เพื่อช่วยในการสัมมนาโดยไม่ต้องเชิญพิธีกรมาจากส่วนกลาง สานต่องานการแบ่งคริสตชนเป็นกลุ่มตามเขตที่อยู่อาศัย เพื่อการสร้างคริสตชนกลุ่มย่อยและเปิดโอกาสให้ฆราวาสจากกลุ่มต่างๆ เข้ามามีบทบาท ช่วยเหลืองานของวัดตามเอกลักษณ์และกระแสเรียกของกลุ่มนั้นๆ อย่างเหมาะสม เช่น กลุ่มส่งเสริมชีวิตครอบครัวช่วยคุณพ่อในเรื่องการอภิบาลครอบครัว กลุ่มพลมาข่วยคุณพ่อในเรื่องการติดตามคริสตชนที่มีปัญหาทั้งวัด และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากคุณพ่อจิตตาธิการกลุ่มในเขตวัดเท่าที่จะทำได้ ริเริ่มวางรากฐานกิจกรรมคริสตศาสนสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย) โดยส่งตัวแทนฆราวาสเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพระจิต ประเทศมาเลเซีย สนับสนุนให้มีการพบปะกันระหว่างเยาวชนมาเลเซียกับเยาวชนของวัด เปิดโอกาสให้พี่น้องต่างความเชื่อได้สัมผัสถึงอำนาจขององค์พระเจ้าในการรักษาความเจ็บป่วย ทำให้ฆราวาสได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน ส่งผลให้ชีวิตคริสตชนฆราวาสจากทุกสถาพประสานกลมเกลียวกัน มีการริเริ่มจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นของชาววัดเพื่อการอภิบาล และจัดทำสารวัดเพื่อแบ่งปันพระวาจา ข้อคิดตลอดจนประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของวัดให้สัตบุรุษได้ทราบ สนับสนุนสัตบุรุษให้กล้าประกาศพระวาจาในพิธีมิสซามากขึ้น

คุณพ่อปอล วีระ เจนผาสก
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 14
ในปี ค.ศ 1998 คุณพ่อวีระ เจนผาสุก มาเป็นคุณพ่อเจ้าวัดที่หาดใหญ่ เป็นคุณพ่อคนไทยคนแรก ท่านมีคุณพ่อวาเลนติโน โซซิโอ เป็นผู้ช่วย ทั้งยังมีคุณพ่อที่โรงเรียนช่วยคุณพ่อสำหรับอภิบาลสัตบุรุษที่สะเดา

ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2000 ท่านได้ปรับปรุงวัดให้สวยงาม เพราะวัดหาดใหญ่เป็นวัดหนึ่งที่สัตบุรุษทางใต้ตอนล่างสุดจะไปแสวงบุญ ในที่สุดคุณพ่อก็ปรับปรุงสุสานให้เหมาะสม และจัดให้มีคนเฝ้าเอาใจใส่ดูแลเป็นประจำ คุณพ่อยังได้เอาใจใส่การสอนคำสอนครอบครัว มีคนรับศีลล้างบาปและทำพิธีศีลกล่าวให้ถูกต้อง เป็นจำนวนมาก ท่านได้ดูแลเอาใจใส่ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หาดใหญ่ ให้เหมาะสมกับการเป็นศูนย์รวมจิตใจของคริสตชน จัดให้มีการวาดภาพแม่พระและพระตรีเอกานุภาพบนกำแพงหลังพระแท่นในวัด จัดสร้างถ้ำแม่พระใหม่ เพื่อเป็นการต้อนรับปี ปีติมหาการุญ ค.ศ. 2000และเร่งดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิพี่น้องคาทอลิก หาดใหญ่ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้รับการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิพี่น้องคาทอลิก หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ.1998 และรับโอนที่ดินจำนวน 4ไร่ 2 งาน 36.8 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 913 จากคุณเจริญสุข แซ่อึ้ง และได้รับใบอนุญาตสุสานเลขที่2/2543 ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2000 ซึ่งต้องไปต่อใบอนุญาตทุก 3 ปี

ปรับปรุงธรรมนูญสภาอภิบาลวัด และขั้นตอนการเลือกสมาชิกสภาอภิบาลวัด จัดสอนคำสอนผู้ใหญ่ และเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสมเท่าที่เวลาจะอำนวย สานต่องานด้านการเสวนากับพี่น้องต่างความเชื่อ มีการฟื้นฟูกลุ่มวินเซนต์ เดอ ปอล ขึ้นใหม่

ช่วงปลายปี ค.ศ. 2000 ระหว่างวันที่ 21 - 25 พฤศจิกายน เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ วัดได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ทำให้คุณพ่อและสัตบุรุษมีโอกาสแสดงความเอื้ออาทรต่อกันในความทุกข์ยากลำบาก

คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 15
ในปี ค.ศ.2001 คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ เป็นคุณพ่อเจ้าวัดที่วัดหาดใหญ่ โดยมีมีผู้ช่วยเจ้าอาวาส 3 ท่านในต่างวาระ กล่าวคือ คุณพ่อวาเลนติโน โซซีโอ (ค.ศ. 2001) คุณพ่อยอห์น บอสโก สุวัฒน์ เหลืองสอาด (ค.ศ. 2004) และคุณพ่อหลุยส์ พรจิต พูลวิทยกิจ (ค.ศ. 2006 - 2008) ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว กิจการต่างๆ ภายในเขตการปกครองและอาณาบริเวณ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน บนพื้นฐานเทววิทยาพระศาสนจักร “Communion of Communities” โดยมีพระวาจาของพระเจ้าเป็นจุดศูนย์กลางได้มีความพยายามสร้างประสบการณ์แห่งการทำงานร่วมกันในหมู่ชาววัดในระดับรากหญ้า อันเป็นบรรยากาศพื้นฐานที่ก่อให้เกิดคริสตชนกลุ่มย่อย “Basic Ecclesial Community” (BEC) ที่เข้มแข็งอาศัยความร่วมมืออันดีของชาววัด การพัฒนาได้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับทิศทางงานอภิบาลทั้งในระดับสังฆมณฑล และระดับประเทศ

ในระยะเริ่มต้น คุณพ่อได้ส่งเสริม และจัดให้มีการทำแผนอภิบาลวัด (Parish Pastoral Plan) ระยะ 6 ปี (ค.ศ. 2001 - 2006) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอภิบาลชีวิต คริสตชน ให้สามารถดำเนินชีวิตสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าโดยอาศัยพระวาจา การภาวนา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และพิธีกรรม มุ่งสร้างสถาบันครอบครัวและคริสตชนกลุ่มย่อยที่มีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินชีวิตในทุกสถานภาพมีความสอดคล้องผสานกลมกลืน มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พร้อมทั้งจัดเสวนากับพี่น้องต่างความเชื่อบนพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกมิติ คุณพ่อได้จัดระบบการทำงานให้มีความชัดเจนเป็น 4 ฝ่าย

1. ฝ่ายอภิบาลคริสตชน จัดให้มีการสอนคำสอนผู้ใหญ่ สอนคำสอนนักเรียนชั้น ป.1 - 6 จัดค่ายคำสอนภาคฤดูร้อน โดยมีกิจกรรมตามเทศกาลพิธีกรรม มีการอบรมฟื้นฟูจิตใจฆราวาสกลุ่มต่างๆ การสวดภาวนา เฝ้าศีล ศึกษาและแบ่งปันพระวาจา (Lectio Divina) ริเริ่มการสวดสายประคำตามบ้านโดยมีการรำพึงพระวาจาของพระเจ้า ในช่วงเดือนตุลาคม กลุ่มต่างๆ อาทิ ซาเลเซียนผู้ร่วมงานฯได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทช่วยเหลืองานของวัดตามเอกลักษณ์และพระพรพิเศษของตน มีการส่งตัวแทนเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมชุมนมผู้นำเยาวชนในระดับสังฆมณฑล ระดับประเทศ และระดับโลก (วันเยาวชนโลก) ส่งบุคลากรเข้าร่วมส่วนในการอบรมและศึกษาพระคัมภีร์ ประชุมสัมมนาพระสงฆ์นักบวช ฆราวาส ระดับสังฆมณฑลประจำปี และนำผลที่ได้รับจากการประชุมมาเป็นแนวทางในการอภิบาลชีวิตคริสตชนในแต่ละป็อย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมให้ชาววัดได้เข้าร่วมกิจกรรมปีครอบครัว ปีศีลมหาสนิท ปีแพร่ธรรมในระดับสังฆมณฑล เป็นเจ้าภาพเฉลิมฉลองปิดปีสายประคำระดับสังฆมณฑลในเขตภาคใต้ตอนล่าง และยังคงจัดให้มีการจาริกแสวงบุญประจำปี ณ วัดนักบุญอันนา ประเทศมาเลเซีย

ในช่วงสุดท้ายของการเป็นเจ้าอาวาส เพื่อให้การอภิบาลวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ดหาดใหญ่ เป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ ได้จัดให้มีการปรับปรุงข้อกำหนดสภาอภิบาลวัดให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ และบริบทของวัด ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาอภิบาลวัดชุดใหม่แทนชุดเดิมที่หมดวาระการทำงาน และในที่สุด พร้อมกับสภาอภิบาลวัด ได้จัดทำแผนอภิบาล (Parish Pastoral plan) ปี 2007 - 2012 เพื่อเป็นแผนแม่บทอีกครั้ง รวมทั้งแผนงานประจำปี 2007 - 2009 ของทั้ง 4 ฝ่ายเพื่อรองรับแผนแม่บท โดยมุ่งเน้นให้ตอบสนองต่อบริบท ปัจจุบันของวัด และทิศทางปัจจุบันของสังฆมณฑล ปี 2007 - 2009 ที่มุ่งสร้างกลุ่มคริสตชนชาววัดให้มีความรัก และความศรัทธาต่อพระวาจาของพระเจ้า

2. ฝ่ายพิธีกรรม เพื่อให้ชาววัด มีส่วนร่วมในพิธีกรรมและรับศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยความเข้าใจ เกิดประโยชน์ในชีวิต โดยเฉพาะในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ จึงได้จัดตั้งและส่งเสริมกลุ่มพิธีกรรม กลุ่มผู้ประกาศพระวาจา กลุ่มนักขับร้อง กลุ่มผู้ช่วยจารีต ทั้งสี่กลุ่มจะมีส่วนในการจัดเตรียมพิธีกรรมในโอกาสต่างๆ ให้สง่างาม เรียบง่าย และมีความหมาย ช่วยให้ชาววัดมีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า มีการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมด้านพิธีกรรมในระดับสังฆมณฑล และนำสิ่งที่ได้รับมาเป็นแนวทางในการจัดเตรียมพิธีกรรมของวัด จัดอบรมและฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิตของกลุ่มพิธีกรรม กลุ่มผู้ประกาศพระวาจา กลุ่มนักขับร้อง และกลุ่มผู้ข่วยจารีต มีการส่งเสริมให้ใช้สัญลักษณ์ที่สื่อความหมายฝ่ายจิตในโอกาสฉลองสำคัญ เช่น ฉลองวัด ฉลองพระคริสตสมภพ ในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณที่มีพี่น้องต่างชาติ และต่างความเชื่อ ได้มีความพยายามอภิบาลให้เกิดความเข้าใจสาระฝ่ายจิต โดยการใช้ภาษาอังกฤษหรือให้คำอธิบาย ในโอกาสและจังหวะที่เหมาะสม อีกทั้งยังจัดพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณเป็นภาษาอังกฤษเพื่อพี่น้องต่างชาติ นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้มีการประชุมจัดเตรียมงานฉลองสำคัญต่างๆ โดยมีพระวาจาหล่อเลี้ยง และเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานรวมกันอย่างมีเป้าหมาย

3. ฝ่ายสื่อสาร - สังคม เพื่อให้เกิดเอกภาพและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น อีกทั้งเห็นคุณค่า สิ่งดีงามของสภาพวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น เกิดจิตสำนึกในการช่วยเหลือ รักรู้คุณ รับใช้เสียสละ แบ่งปัน ในหมู่ชาววัด คุณพ่อได้ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆของวัดใน 3 รูปแบบ ได้แก่ จัดบอร์ดตามเทศกาลพิธีกรรม จัดทำสารวัด พร้อมบทรำพึงพระวาจาประจำสัปดาห์ จัดทำ web site ของวัด ส่งเสิรมให้ชาววัดได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากภายนอกโดยรับวารสารของสังฆมณฑล สำนักพิมพ์อุดมสาร และอื่นๆ จัดมุมหนังสือสำหรับผู้ที่สนใจข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพระศาสนจักร จัดแผนกประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ให้การต้อนรับสัตบุรุษที่มาจากต่างวัด ได้จัดให้มีสื่อคำสอนที่เอื้อต่อกิจกรรมการเรียนการสอนคำสอน ให้บริการยืมหนังสือ วีดีทัศน์ ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการบริการด้านศาสนภัณฑ์สำหรับชาววัดที่สนใจ ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มองค์กรต่างๆเช่น พลมารี วินเซน เดอ ปอล ส.ช.ค. ในการเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ เด็กกำพร้า ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ ผู้ต้องขังในเรือนจำร่วมกับองค์กรภายนอกเช่น โคเออร์ จัดกิจกรรมด้านศาสนสัมพันธ์ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี

4. ฝ่ายธุรการ - อาคารสถานที่ ในด้านงานธุรการ นอกจากการปรับปรุงซ่อมแซม เครื่องใช้อุปกรณ์สำนักงาน พร้อมทั้งจัดหมวดหมู่เครื่องใช้ต่างๆแล้ว ยังได้จัดให้มีระบบการทำงานแบบ Local Network เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคล และฝ่ายต่างๆ มีการจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร ที่เป็นระบบและปลอดภัย ทั้งในูรปแบบไฟล์เอกสารและไฟล์คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และพัฒนาฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการสำรวจสำมะโนประชากรชาววัด และทำทะเบียนวัดใหม่ เพื่อให้เป็นปัจจุบัน ง่ายต่อการค้นหา ติดต่อเยี่ยมเยียน และอภิบาล

เพื่อให้วัดเป็นสถานที่แห่งการภาวนา เป็นศูนย์กลางในการสรรเสริญโมทนาคุณพระเจ้า และเป็นสถานที่เสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชาววัดอย่างแท้จริง ได้มีการปรับปรุงสถานที่ต่างๆภายในวัด อาทิ ห้องทำงานเจ้าอาวาส และห้องรองเจ้าอาวาส ห้องทำงานของเจ้าหน้าที่วัด ห้องเรียนคำสอนห้องสือคำสอนห้องสมุดชาววัด ห้องประขุม ห้องประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน มีการปรับปรุงที่พัก ห้องนอน ห้องน้ำ ให้สะอาดถูกสุขลักษณะ สำหรับเด็กค่ายคำสอน และผู้ประสงค์เข้าพักในโอกาสพิเศษ ได้มีการจัดสร้างวัดน้อย (ห้องภาวนา) ใหม่ในเขตอาคารวัดใหญ่ แทนวัดน้อยเก่าที่อยู่ในอาคารแพร่ธรรม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาววัดที่ต้องการสวดภาวนาและเฝ้า ศีล

มีการปรับปรุงประตูหน้าของวัด จัดทำป้ายวัดบริเวณประตูหน้า เปลี่ยนหลังคาวัด และทาสีวัดทั้งภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบแสงและเสียงภายในวัด เพื่อพิธีกรรม และการประกาศพระวาจาที่มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงแผงควบคุมสวิตซ์ไฟฟ้า เพื่อความสะดวก ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จัดให้มีมุม “ศาลาร่มเย็น” สำหรับการพบปะพูดคุยของชาววัด นอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบ อาทิ สวนน้ำใต้บันได

มีการพัฒนาสุสานบ้านไร่ให้อยู่ในสภาพที่สะอาดเรียบร้อย และที่สำคัญ ได้มีการเริ่มก่อสร้างศาลาฌาปนกิจหลังใหม่ แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม บรรยากาศแห่งการร่วมแรงร่วมใจของครอบครัวชาววัด และการร่วมรับผิดชอบของสภาอภิบาลวัดเป็นสองสิ่งที่โดดเด่นในช่วงการก่อสร้าง

นอกจากการปกครองดูแลรับผิดชอบประชาสัตบุรุษในเขตวัด และอาณาบริเวณโดยรอบ คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ ยังต้องรับตำแหน่งผู้รักษาการสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ในปี ค.ศ. 2003 เมื่อตำแหน่งประมุขของสังฆมณฑลว่างลง อันเนื่องมาจากการมรณภาพของพระคุณเจ้าประพนธ์ ชัยเจิรญ กระนั้นก็ดี การดำเนินงานด้านต่างๆ ของวัดก็มิได้หยุดชะงัก เนื่องจากชุมชนชาววัดเริ่มเข้มแข็งผนวกกับระบบงานที่ชัดเจน และเปิดกว้างฟูการกระจายอำนาจในปริมาณที่เหมาะสม อันนำมาซึ่งการมีส่วนร่วมของชาววัดในทุกระดับ

คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 16
ในเดือนเมษยน ค.ศ. 2007 คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน (John Lissandrin) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดหาดใหญ่ เป็นองค์ที่ 16 โดยมีคุณพ่อหลุยสัพรจิต เป็นผู้ช่วยในเวลา 1 ปี ต่อมามีคุณพ่ออันตน ปิยะ พืชจันทร์ เป็นผู้ช่วย

คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน มีประสบการณ์การเป็นเจ้าอาวาสเป็นเวลา 9 ปีที่วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ บ้านเจ้าคณะที่กรุงเทพ เป็นประสบการณ์ที่ประทับใจ ท่านจึงเอาใจใส่เยี่ยมเยียนสัตบุรุษทุกครอบครัวเพื่อรู้สถานการณ์ชีวิตคริสตังของพวกเขา คุณพ่อยังได้พยายามสานต่องานของคุณพ่อนิพนธ์เป็นอย่างดี ต่อมาคุณพ่อได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดหาดใหญ่กับหมู่คณะซาเลเซียนที่ทำงานที่โรงเรียน ท่านจึงได้รับความช่วยเหลือมากมายในงานอภิบาล

ในด้านการก่อสร้าง คุณพอยอห์นได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาฌาปนกิจหลังใหม่จนแล้วเสร็จตั้งชื่อว่า “บ้านแม่พระ” โดยที่สัตบุรุษช่วยกันออกทุนเป็นส่วนมากในการก่อสร้างนี้ ท่านได้เอาใจใส่วัดทุ่งลุงเป็นพิเศษเพราะอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมหลังน้ำท่วมปี ค.ศ. 2000 ท่านจึงได้ทำโครงการที่จะบูรณะวัดพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า

ที่ทุ่งลุงที่ดินของแขวงซาเลเซียนที่หาดใหญ่
(ข้อมูลได้มาจากการบันทึกรายวันและจากเอกสารของแขวง)

ในปี ค.ศ. 1936 พระคุณเจ้าปาซอตตี โดยการแนะนำของอาจารย์ทวน คมกฤศ ได้ซื้อที่ดิน 12 ไร่ ที่สามแยกคอหงส์หลังโรงยาง ในราคา 450 บาท ที่ดินแปลงนี้บริษัทเซ้าท์เทอร์น (Southern Rubber co,ltd.) ได้ซื้อจากมิสซังในราคา 120,000 บาท ค.ศ. 1951 (ดูศาลาแดง วันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ.1951)

ในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ 1938 คุณพ่อมารีโอเขียนในการบันทึกรายวันของท่านว่า ท่านได้ไปหาเถ้าแก่ซีกิมหยงที่สงขลา และเถ้าแก่ได้ยืนยันว่า ท่านตั้งใจที่จะให้ที่ติน 6 ไร่ เพื่อชาวคาทอลิกเปิดกิจการที่จะช่วยพัฒนาหาดใหญ่ ด้านศีลธรรมและการศึกษา

วันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อมารีโอ กลับจากการเดินทางไปภาคใต้ รายงานให้คุณพ่อเจ้าคณะว่า เถ้าแก่ชีกิมหยงพร้อมที่จะให้ที่ดินแน่นอนจำนวน 6 ไร่แก่คณะเพื่อเปิดโรงเรียน

ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อมารีโอได้เดินทางไปพบเถ้าแก่ซีกิมหยงที่สงขลาตามการนัดหมาย และเถ้าแก่ซีกิมหยงได้ทำหนังสือถวายที่ดิน 6 ไร่ ให้แก่คุณพ่อมารีโอ และคุณพ่อเตรียมโครงการสร้างบ้านสองชั้นทันทีในที่ดินที่ได้รับมา โดยได้ลงมือก่อสร้างในเดือนมิถุนายน และท่านได้เข้าไปพักอาศัยในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1941 บ้านนี้เป็นที่พักอาศัยและมีโบสถ์ในนั้นด้วย

ในวันที่ ฯ4 ตุลาคม ค.ศ. 1941 พระคุณเจ้าปาซอตตี ได้ทำพิธีเสกบ้านนี้ และท่านได้พูดว่า “ขอบคุณพระเจ้าที่แขวงซาเลเซียนมีความร่วมมือดีกับสังฆมณฑลราชบุรี” คำพูดแบบนี้ฟังดูแล้วดูมีปริศนา ในปี ค.ศ. 1942 คุณพ่อมารีโอได้ยื่นเรื่องเปิดโรงเรียนหาดใหญ่วิทยา แต่เนื่องจากลถานการณ์ทางการเมืองในสมัยนั้น จึงยังไม่สำเร็จ (ดูการบันทึกหมายเหตุรายวัน บ้านซาเลเซียน ศาลาแดง และงานของคุณพ่อมารีโอด้วย สิงหาคม 1942 - เมษายน 1943; 14 – 2 - 44; 14 มีนาคม 1944)

ในปี ค.ศ. 1944 เถ้าแก่ซีกิมหยง ยังให้คำสัญญาแก่คุณพ่ออ๊อตโตลีนา ว่าจะถวายที่ดินเพิ่มให้ครบ 11 ไร่ ถ้าหากมีการเปิดกิจการโรงเรียน เมื่อเถ้าแก่ซีกิมหยงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 (ทำพิธีฝังศพ วันที่ 10 มีนาคม ปีเดียวกัน) ท่านยังไม่ได้โอนที่ดินให้แก่นักบวชซาเลเซียน หรือสังฆมณฑลราชบุรี

เมื่อเกิดไฟไหม้ วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1950 คุณพ่อคาร์เรตโต เจ้าคณะได้ขออนุญาตผู้ใหญ่ของคณะที่กรุงตูรินเพื่อกู้เงิน 100.000 เหรียญจากสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้สำหรับกิจการของแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย และได้ให้แก่บุตรธิดาของเถ้าซีกิมหยงได้กู้ยืมไปจำนวนหนึ่ง เพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็วหน่อย ในวันที่ 8ี มกราคม ค.ศ.1951 คุณสุ่ยฟัดและคุณสุ่ยหยงถวายที่ดินอีก 3 ไรให้แก่คุณพ่อเจ้าคณะ ที่ดินของวัดปัจจุบัน ภายหลังจึงมีการขายที่ดิน 12 ไร่ของมิสซังที่คอหงส์

ในที่สุดโดยการประสานงานของพระคุณเจ้าคาร์เรตโต ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1951บุตรทั้งสองสัญญาที่จะให้ที่ดิน 5 ไร่ที่ยังเหลืออยู่ในแปลงนี้ และจะช่วยจัดการให้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ได้ออกไปที่อื่น แต่เรื่องโอนที่ดินได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนถึงปี ค.ศ.1958 ได้โอนให้ซาเลเซียนในนามของสัตบุรุษหาดใหญ่ผู้หนึ่งและต่อมาจึงโอนเข้ามูลนิธิซาเลเซียนแห่งประเทศไทย (ดูการบันทึกรายวันที่หาดใหญ่)

บุตรธิดาของเถ้าแก่ซิกิมหยงได้มอบที่ดินจำนวน 20 ไร่ ที่สามแยกหนองโรง ทางเข้าเมืองสงขลา เป็นการใช้หนี้ทั้งหมด พวกเขาได้โอนที่ดินให้แก่พระคุณเจ้าคาร์เรตโต ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1952 พระคุณเจ้าคาร์เร็ตโตได้รับโอนที่ดินในนามของคณะซาเลเซียน ส่วนคณะซาเลเซียนมีโครงการที่จะเปิดโรงเรียนอาชีวศึกษาในอนาคต เนื่องจากว่าท่านเป็นผู้ที่ได้หาเงินทุนให้พวกเขาพระคุณเจ้าการ์เรตโต ได้โอนที่ดินนี้ให้แก่คณะจาเลเซียน ในปี ค.ศ. 1956 (ดูรายงานการประชุมที่ปรึกษาเจ้าคณะ) แขวงซาเลเซี่ยนแห่งประเทศไทยได้อนุมัติขายที่ดินผืนนี้ในปี ค.ศ. 1970 โรงเรียนแสงทองได้ขายที่ดินผืนนี้ในปี ค.ศ. 1972 เพื่อใช้เงินในการก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 พระคุณเจ้าคาร์เร็ตโตและที่ปรึกษาได้มอบวัดหาดใหญ่และหัวหิน พร้อมที่ดินให้แก่คณะซาเลเซียนโดยที่คณะซาเลเซียนได้รับภาระที่จะสร้างอาคารวัด ในวัดทั้งสองแห่ง