รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

1 คำแนะนำการเดินทาง บาหลี อินโดนีเซีย

ธงชาติ อินโดนีเซีย

tour-instruction-bali-Indonesi


บาหลีเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าออสโตรนีเชียน (Austronesian) ที่อพยพมาจากถิ่นฐานเดิมบนเกาะไต้หวัน โดยใช้เส้นทางทางทะเลผ่านภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมและภาษาของชาวบาหลีจึงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และโอเชียเนีย (Oceania) มีการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากหินมีอายุกว่า 3,000 ปีได้ที่หมู่บ้านเจะเก๊ะ (Cekik) ที่อยู่ทางตะวันตก รวมทั้งที่ตั้งถินฐานและหลุมฝังศพของมนุษย์ในยุคนีโอลิธิก (Neolithic) ถึงยุคสำริด และโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,000 ปี จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซิตุส ปุรบา ลากา (Museum Situs Purbalaka) ที่เมืองกิลิมานุ (Gilimanuk)
อีกด้วย ประวัติของบาหลีก่อนการเผยแพร่ศาสนาฮินดูเข้ามายังหมู่เกาะอินโดนีเซียโดยพ่อค้าชาวอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 7 เป็นที่รู้กันน้อยมาก อย่างไรก็ตามบาหลีเริ่มเป็นเมืองค้าขายที่คึกคักตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาล แต่การบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบาหลีที่เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏในศิลาจารึกที่ขุดค้นพบใกล้หาดซานูร์ (Sanur) รวมทั้งจารึกบนแผ่นโลหะ เทวรูปสำริด และหินสลักที่แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธและฮินดู บริเวณรอบๆภูเขากุนุง คาวี (Gunung Kawi) และถ้ำกัว กะจะห์ (Goa Gajah) เชื่อกันว่าคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบาหลีน่าจะอพยพมาจากประเทศจีนเมื่อสมัย 4,500 ปี แต่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดๆหลงเหลืออยู่ ส่วนหลักฐานเก่าแก่ที่สุดยังปรากฏ เช่น ระบบของการทำเกษตรกรรม และการผลิตข้าว เช่นเดียวกับที่ยังพบเห็นได้ในปัจจุบันมาจากยุคสำริด คือประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล และมีการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นโบราณวัตถุทางศาสนาฮินดูจากศตวรรษที่ 3 และ 4 แต่ภายหลังปรากฏว่าศาสนาพุทธได้กลายเป็นศาสนาประจำของชาวบาหลีในยุคแรก เพราะคำว่าบาหลีถูกพบในบันทึกของนักปราชญ์ชาวจีนเมื่อปีคริสตศักราชที่670ว่าขณะเดินทางไปยังอินเดีย ได้แวะยังดินแดนชาวพุทธแห่งหนึ่งซึ่งก็คือบาหลีนั้นเอง

ข้อควรระวังในการเที่ยวบาหลี

ระวังรักษาสิ่งของมีค่าที่อยู่กับตัวเสมอเนื่องจากมีผู้ไม่หวังดีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่คนเยอะ เอกสารสำคัญหรือของมีค่าควรเก็บไว้ในตู้เซฟของโรงแรม และกระเป๋าที่พกติดตัวก็ควรจะมิดชิดเช่นกัน

ควรมีสำเนาพาสปอร์ตติดตัวไปด้วยเสมอ

เมื่อลงไปว่ายน้ำอย่าออกไปว่ายนอกเขตที่กำหนดไว้ เนื่องจากกระแสน้ำจะแรงมากให้ว่ายในบริเวณระหว่างธงแดงและธงเหลือง

อย่าพกพาหรือเสพยาเสพติดใดๆ ทั้งสิ้นหากถูกตรวจพบอาจถูกจำคกไปจนกระทั้งประหารชีวิต

อย่าเดินเหยียบเครื่องบูชาที่วางไว้ตามพื้น

อย่าแตะศีรษะผู้อื่น เนื่องจากเป็นสิ่งไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับศาสนาฮินดู นอกจากนั้นจะต้องไม่รับส่งของด้วยมือซ้ายซึ่งที่บาหลีถือว่าเป็นมือสำหรับชำระล้างในห้องน้ำ

สำหรับผู้หญิงห้ามเข้าวัดหากอยู่ในระหว่างมีประจำเดือน

ในการเข้าชมวัดต้องแต่งตัวเรียบร้อยใส่เสื้อมีแขน ไม่เปิดไหล่ ไม่ใส่กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสั้น ไม่เช่นนั้นจะต้องนุ่งโสร่ง ซึ่งวัดใหญ่ๆ จะมีให้เช่า และทุกคนต้องใช้ผ้าคาดเอวซึ่งส่วนมากจะให้บริการฟรี แต่มักมีการเก็บเงินทางที่ดีถ้ามีโปรแกรมเข้าวัดเยอะๆ ก็ควรพกผ้าคาดเอวส่วนตัวไปเลย

หากเข้าไปในวัดขณะที่กำลังมีพิธีไหว้อยู่ควรนั่งชมอยู่ห่างๆ และไม่ยืนค้ำคนที่นั่งไหว้อยู่หรือยืนค้ำเครื่องบูชา อีกทั้งไม่ควรถ่ายรูปโดยใช้แฟลช

 

tour-instruction-bali-Indonesi tour-instruction-bali-Indonesi

tour-visa การขอวีซ่า:สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ใกล้สนามบินกุราห์ไร (NGURAH RAI) โทร. 751038 และ ที่ถนนจะลันปันไจตัน (JL. PANJAITAN) โทร. 227828 คุณไม่สามารถขอต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยวในประเทศได้วิธีเดียวที่จะทำให้คุณอยู่ในอินโดนีเซียได้ยาวขึ้น คือคุณจะต้องเดินทางออกนอกประเทศ และเดินทางกลับเข้ามาใหม่ การขอต่ออายุวีซ่าธุรกิจและ โซเชียล วีซ่า ต้องเดินเรื่องเอกสารมาก แต่ก็ทำได้ไม่ยากนัก คุณสามารถขอรายละเอียดเกี่ยวกับวีซ่าได้ที่ สถานทูตหรือสถานกงสุลอินโดนีเซีย ในประเทศสิงคโปร์ สถานทูตอินโดนีเซีย หรือเคอตุตาน เบอร์ซา รีปุบลิค อินโดนีเซีย (KEDUTAAN BESAR REPUBLIK INDONESIA) ตั้งอยู่ เลขที่ 7 ถนนแชตสเวิร์ธ (CHATSWORTH ROAD) โทร. (65) 737 7422สถานทูตอินโดนีเซียในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ 600-602 ถนนเพชรบุรี พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 252 3135-40 แฟกซ์. 255 1267 เวลาทำการ 08.00-16.00น.

tour-trip การเดินทางสู่บาหลี:ทางอากาศ• มีเที่ยวบินที่บินตรงจากกรุงเทพฯ สู่สนามบินงูราห์รายของบาหลีคือการบินไทยนอกจากนั้นยังสามารถใช้การบินการูด้าแอร์ไลน์ ซึ่งราคาจะประหยัดกว่าสายการบินไทยเล็กแบบรถตู้ขนาดที่นั่งประมาณ 10 คน จะให้บริการเส้นทางระหว่างเมืองใกล้ๆ ส่วนรถประจำทางขนาดใหญ่หรือรถบัสจะให้บริการระยะทางไกลๆ • ชัตเตลบัส คือรสบัสที่วิ่งประจำเส้นทางสำคัญๆ โดยไม่จอดแวะรับระหว่างทาง เช่น กูต้าไปอูบุด หรือเดนบาซาร์• แท็กซี่ ที่เดนปาซาร์หรือกูต้าจะมีรถแท็กซี่มิเตอร์สีฟ้าหรือสีขาวให้บริการไปยังจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงแรมที่พัก การเหมาแท็กซี่ส่วนบุคคลให้พาเที่ยวนั้นทำได้ แต่ต้องตกลงราคาและต่อรองราคาให้ดีก่อนเสมอ • รถเช่า นักท่องเที่ยวสามารถเช่าได้ตามบริษัทให้เช่ารถ เช่น AVIS และ HERTZ หรือ บริษัทรถเช่าท้องถิ่น ก่อนตกลงราคาควรแน่ใจว่ามีประกันคุ้มครองด้วย การขับขี่รถยนต์ในบาหลีกำหนดความเร็วไม่เกิน 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และต้องมีใบขับขี่สากล อย่างไรก็ดีการขับขี่รถในบาหลีต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะถนนค่อนข้างแคบและเล็ก โดยเฉพราะในเขตตอนกลางเกาะซึ่งเป็นภูเขาสูง นอกจากนั้นมักจะเจอขบวนแห่ต่าง ๆ บนถนนเสมอ ซึ่งต้องใจเย็น ไม่แซง และไม่บีบแตรไล่• รถมอเตอร์ไซค์และจักรยาน ผู้เช่าต้องมีใบขับขี่สากลเช่นกัน ขณะขับขี่ ทั้งคนขับและคนซ้อนต้องสวมหมวกกกันน็อก

tour-weather สภาพดินฟ้าอากาศ: บาหลีมีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูแล้งและฤดูมรสุมฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน โดยมีเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีอากาศเย็นที่สุดในช่วงปีส่วนฤดูมรสุมเริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน-เมษายนอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 20-32 องศาเซลเซียสดังนั้นช่วงที่เราไปเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุด สามารถใส่เสื้อผ้าได้เหมือนอยู่บ้านเรา แต่ต้องระวังเพราะบาหลีแดดจัดต้องเตรียมครีมกันแดด หมวก และร่มไปให้พร้อมไม่งั้นกลับมาอาจจะดำได้

tour-instruction-bali-Indonesi

ธงชาติบาลี

tour-instruction-bali-Indonesi

การแต่งกาย บาหลีใช้ภาษาประจำชาติที่เรียกว่า"บะหะซา อินโดนีเซีย"แต่ทั่วไปก็สามารถสื่อสารในภาษาอังกฤษได้ดีการแต่งกาย ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้น และกระโปรงสั้นไม่ใช่เครื่องแต่งกายที่เหมาะสมและในการเยี่ยมชมวัด ต้องแต่งกายอย่างสุภาพในชุดเครื่องแต่งกายท้องถิ่นที่เรียกว่า "ปะคะเอียน อะดัต"และควรมีผ้าโสร่งติดตัวไว้ด้วย

tour-instruction-bali-Indonesi

tour-currencyปลั๊กไฟฟ้า

tour-value-money หน่วยเงิน / อัตราแลกเปลี่ยน: หน่วยเงินของบาหลีและอินโดนีเซียเป็นรูเปียห์ (Rupiah) มีมูลค่าประมาณ 1 เหรียญสหรัฐ จะแลกได้ประมาณ 8,700-9,200 รูเปียห์ ธนบัตรมีมูลค่า 100 , 500 , 1,000 , 5,000 , 10,000 , 20,000 , 50,000 และ 100,000 รูเปียห์อย่างไรก็ดีอันตราแลกเปลี่ยนเงินรูเปียห์นั้นผกผันได้อย่างมาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีอีกครั้งก่อนเดินทาง และธนบัตรมูลค่าต่ำ เช่น 10 หรือ 20 เหรียญสหรัฐฯ จะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำกว่าธนบัตร 100 เหรียญสหรัฐฯ หากเดินทางออกไปตามหมู่บ้าน ควรแลกเงินรูเปียห์ออกไปให้พอเพียงที่จะใช้และควรเป็นใบย่อยด้วย อย่างไรก็ดีร้านขายของที่ระลึกใน เขตกูต้า ซานูร์ และนูซาดูอา มักยอมรับเงินเหรียญสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันสกุลเงินบาทชองไทยนั้นก็เป็นที่ยอมรับอย่างดีได้ในบาหลีสามารถจะแลกที่ร้านรับแลกเงินใดก็ได้ อนึ่ง ควรแลกเงินเฉพาะกับธนาคารหรือร้านรับแลกเงินที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

tour-language ภาษา: แม้ภาษาทางการของบาหลีคือภาษาอินโดนีเซียเช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ในประเทศแต่ชาวบาหลีก็มีภาษาบาหลีเป็นของตัวเองซึ่งนอกจากจะพูดต่างกันแล้วยังมีตัวอักษรใช้เขียนของตนด้วย ภาษาบาหลีมี 3 ระดับ คือ แบบไม่เป็นทางการจะใช้พูดกับคนแปลกหน้า และราชา

ศาสนาและวัฒนธรรม: ศาสนาประจำของชาวบาหลีคือศาสนาฮินดูที่เรียกว่า ฮินดูธรรม (Hindu Dharma) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชวา เป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสนาฮินดูแบบที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่กับศาสนาพุทธซึ่งแพร่หลายเข้ามาก่อนหน้า โดยหลักปฎิบัตินั้นได้มาจากปรัชญาอินเดีย ร่วมกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อท้องถิ่นการผสมผสานกันนี้เองทำให้ศาสนาฮินดูที่บาหลีแตกต่าจากฮินดูที่อินเดียไปมาก ชาวบาหลีนั้นเชื่อในธรรมชาติว่ามีพลังและเชื่อในจิตวิญญาณว่าทุกๆ สิ่งจะมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีความนับถือในบรรพบุรุษและวิญญาณของผู้ล่วงลับ

tour-instruction-bali-Indonesi

tour-food อาหารบาหลีอาหารบาหลีส่วนใหญ่จะเป็นข้าวและกับอาหารที่ขึ้นชื่อคือ babi guling หรือ หมูหันย่างกรอบ และ bebek betutu หรือ เป็ดรมควันแสนอร่อย อาหารทะเลหากมายังดินแดนที่เป็นเกาะแล้วไม่ได้ลิ้มรสอาหารทะเล ก็คงเหมือนกับมาไม่ถึงบาหลีนั่นเอง บริเวณที่ขายอาหารทะเลที่สดๆ และมีชื่อเสียงของบาหลีก็คือ จิมบารัน(Jimbaran) และ ชานดิดาสา(Candidasa) นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารจีน อาหารไทย อาหารญี่ปุ่น ตามภัตตาคารและร้านอาหารต่างๆ ให้เลือกได้ตามชอบใจด้วย
ผลไม้ผลไม้ขึ้นชื่อของบาหลีคือ สลัก (salak) ที่คล้ายกับระกำหรือสละของไทย แต่เปลือกไม่มีหนานแหลมเท่า และรสชาติหวานหอมกลมกล่อมเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องลิ้มลอง อีกทั้งไม่วายที่จะต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับฝากคนที่เมืองไทยด้วยเสมอ ผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่คนบาหลีนิยมรับประทานกันมากที่สุดคือทุเรียน แต่จะกินกันแบบสุกจนงอมจัดและตกลงจากต้นมาเอง นอกจากนั้นในตลาดยังมีขนุนและกล้วยชนิดต่างๆ ขายเหมือนกับในบ้านเรา ส่วนมังคุดจะมีในฤดูมังคุดคือช่วงเดือนฟฤศจิกายนถึงมีนาคม

tour-tourist-attractions สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
การังกาเสม
ปุรา เบซากิห์
เทงกะนัน
อัมลาปุระ
วังเตียร์ตากังกา
แทมปักซิริงและเตียร์ตาอัมปึล
ปุราเตียร์ตาอัมปึล
กุหนุงกาวี
ท่าเรือปาดังไบบาหลี
กลุงกุง
พระราชวังทามันกิลี
ปุระทามันสารี
พิพิธภัณฑ์ศิลปะ
ติฮิงกัน
ปุระกัวลาวาห์ ปุรากัวกาจาห์ นูซาเปนิดา
อุทยานแห่งชาติบาหลีตะวันตก
ปุระเคเฮน
ปากปล่องภูเขาไฟบาตูร์
กุนุงบาตูร์
ทะเลสาบบาตูร์
คินตามณี
ปุราอูลันดานูบาตูร์

tour-instruction-bali-Indonesi tour-instruction-bali-Indonesi

tour-festival เทศกาลสำคัญๆ ได้แก่ วันขึ้นปีใหม่ฮินดู นีเยปิ(Nyepi) เป็นวันที่ชาวบาหลีจะ “เข้าเงียบ” ไม่มีการประกอบกิจกรรมใดๆทั้งสิ้น ไม่มีการเดินทางคมนาคมไม่มีการก่อไฟหุงอาหาร และไม่มีการละเล่นบันเทิงสนุกสนามใดๆ โดยจะมีการทำบุญบูชาเทพต่างๆ กันตั้งแต่วันก่อนหน้า รวมทั้งมีการประกอบพิธีไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านที่อยู่อาศัยด้วย
วันกาลุงกัน (Galungun) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ธรรมะเอาชนะอธรรมได้ จะมีการตั้งเสาไม้ไผ่สูงตกแต่งด้วยทางมะพร้าวสานเป็นรูปต่างๆ สวยงามไว้หน้าบ้าน ตั้งศาลเพียงตาวางเครื่องไหว้สักการะสีสดใส ทั้งขนม ดอกไม้และผลไม้ที่ประตูบ้าน ให้บรรพบุรุษที่จะลงมาเยี่ยมจากสวรรค์ ช่วงเวลากาลุงกันจะนาน 10 วันมีงานฉลองและพิธีทุกวัน ต้องมีความชำนาญในการใช้ภาษาเนื่องจากฝ่ายดีจะใช้ภาษากาวีซึ่งเป็นภาษาโบราณในขฯที่ฝ่ายผู้ร้ายจะใช้ภาษาบาหลีระดับง่ายๆ ดังนั้นผู้พากย์จึงต้องมีความสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ภาษา
กาเมลัน (Gamelan) วงดนตรีพื้นเมืองของบาหลี เครื่องดนตรีส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีที่ทำจากทองเหลือง นักดนตรีมักเป็นผู้ชายล้วนแต่เป็นผู้หญิงล้วนก็มี โดยชายและหญิงจะไม่เล่นดนตรีร่วมวงกัน
ตามโรงแรมชั้นหนึ่งจะมีการแสดงระบำต่างๆให้ชม นอกจากนั้นตามย่านท่องเที่ยวโดยเฉพาะอูบุด จะมีการจัดแสดงระบำต่างๆ ที่วังประจำเมืองหมุนเวียนกันไป โดยต้องเสียค่าเข้าชมด้วย สอบถามวัน เวลา และสถานที่จัดแสดงที่แน่นอนได้จากโรงแรมที่พักหรือสำนักงานท่องเที่ยว งานหินและแกะสลัก
ถึงแม้ว่างานหินแกะสลักส่วนมากจะใช้ในการตกแต่งวัดหรือวังเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้ตกแต่งสถานที่อื่นๆด้วยและกลายเป็นการตกแต่งที่เรียกว่า “บาหลีสไตล์” การแกะสลักหินเพื่อใช้วัดหรือวังนั้นจะมีความแตกต่างกับการแกะสลักเพื่อใช้ตกแต่งอาคารสถานที่ รูปสลักแต่ละชิ้นจะสื่อความหมายต่างกันไป หากต้องการชมความงามของหินแกะสลักจากยุคก่อน สามารถหาดูได้ที่วัดซึ่งอยู่ทางตคอนเหนือของเกาะเพราะจะสวยกว่าวัดที่อยู่ในแถบอื่นๆ เช่น ปุระเมดูวา (Pura Meduwa) ที่เมืองกุบูตัมบาหาน ปุระดาเล็ม (Pura Dalem) ที่เมืองจักกะราชา และปุระเบจิ (Pura Beji) ใกล้กับเมืองสิงคราชา เป็นต้น ช่างแกะสลักหินที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ I Gusti Nyoman Lempad ชมงานแกะสลักของเขาได้ที่ปุระชาเก็นอากุง (Pura Sagen Agung) ในเมืองอูบุด
งานไม้แกะสลัก
ในทำนองเดียวกับงานหินแกะสลัก ในสมัยก่อนงานไม้แกะสลักจะพบที่วัดหรือวัง แต่ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นสินค้าที่คนทั่วไปหาซื้อไปตกแต่งอาคารสถานที่ แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมๆ อยู่บ้าง เช่น จะนำงานไม้แกะสลักรูปเทวรูปไปประดับที่ประตูทางเข้าเพื่อเป็นการป้องกันปีศาจร้าย เป็นต้น เกริงซิง (Geringsing) เป็นผ้าอิกัตชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงว่าเทงกะยัย เป็นผ้าที่ทอยากและมีราคาสูงมาก • วันคูนิงกัน(Kuninggan) วันที่สิบสองของเทศกาล เป็นวันส่งวิญญาณบรรพบุรุษกลับสวรรค์จะมีการทำบุญให้ผู้ล่วงลับด้วย • วันสรัสวตี (Saraswati) เป็นวันฉลองเทวีแห่งความรู้และศิลปะ หรือพระสุรัสวดีที่เรารู้จักกันนั้นเองเป็นวันที่ทางวัดจะนำหนังสือธรรม ใบลาน จารึก และคัมภีร์พระเวทย์มาทำพิธีสักการบูชา ส่วนงานพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนบาหลีคือ งานเผาศพ จะเป็นงานที่ผู้ร่วมขบวนแห่งศพแต่งกายงดงามมีสีสัน บริเวณที่จัดงานเผาศพจะทำเป็นรูปสัตว์แต่งสีปิดทองสวยงาม ถ้าผู้ตายมีตำแหน่งหน้าที่หรือยศศักดิ์สูง โลงรูปสัตว์ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและหรูหรามากขึ้น

tour-instruction-bali-Indonesi

tour-telephone-number โทรศัพท์:โทรศัพท์สาธารณะในบาหลีมีบริการในบริเวณที่เป็นแหล่งความเจริญและแหล่งท่องเที่ยวเช่น กูต้า เดนปาซาร์ และอูบุด ซึ่งจะเป็นของรัฐคือ Kantor Telkom และ Wartel Telkom แต่ก็มีที่เป็นของเอกชนซึ่งเป็นร้านให้บริการ(Teleshop) เช่นกัน โทรศัพท์สาธารณะมีบริการทั้งแบบหยอดเหรียญและแบบใช้บัตรโทรศัพท์ โดยแบบหยอดเหรียญสามารถใช้เหรียญ 50 หรือ 100 รูเปียห์ ส่วนบัตรโทรศัพท์ที่จำหน่ายจะมีหน่วยเป็นยูนิตมีตั้งแต่ 60 , 100 , 140 , 280 , 400 และ 680 ยูนิตสามารถหาซื้อได้ที่สำนักงานโทรศัพท์ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาท์เตอร์แลกเงินในบางจุด ค่าโทรศัพท์กลับมาเมืองไทยจะตกอยู่ราวนาทีละ 10,000 รูเปียห์ หากจะโทรกลับประเทศไทย จะต้องหมุน 001+66+ หมายเลขที่ต้องการ เช่น 001+66+2972-4266 และหากต้องการเก็บเงินปลายทางจะต้องผ่านโอเปอเรเตอร์ (Thailand Direct) 8nv 000 966 การโทรไปยังบาหลีต้องกดรหัสประเทศอินโดนีเซียคือ 62 ตามด้วยรหัสเมืองของบาหลีและหมายเลขที่ต้องการ หรือ กด 100 เป็นบริหารผ่านโอเปอเรอเตอร์
รหัสเมืองภายในประเทศบาหลี
กูต้า-เลเกียน-เซมินยัก , เดนปาซาร์ ,นูซาดูอา , ซานูร์ , อูบุด , เกียนย่าร์ 361
โลวิน่า ,สิงคราชา , คินตามณี 362
ซานดิดาสา , เตียตาร์กังกา 363
เนการา , เมเดวี , กิลิมานุก 365
บาตู 366
เบดูกัล 368

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 859 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์