2 ช่องทางและวิธีการเดินทาง แผนที่ ภูมิอากาศ นครสวรรค์

tour channel transportationช่องทางและวิธีการเดินทาง จังหวัดนครสวรรค์

ทางรถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 52 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน อยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท-อุทัยธานี-นครสวรรค์ ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 240 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง
บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ ทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๓ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ หรือ www.transport.co.th บริษัทเอกชน เช่น บริษัท วิริยะทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๒๗ บริษัท ถาวรฟาร์ม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๙๔๕ บริษัท ทันจิตต์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๒๑๔ หากต้องการเดินทางไปอำเภอต่าง ๆ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ โทร.๐ ๕๖๒๒ ๒๑๖๙ อยู่ตรงข้ามโรงแรมพิมาน

รถไฟ
มีขบวนรถไฟออกเดินทางจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ - สถานีนครสวรรค์ ทุกวัน รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 หรือ www.railway.co.th

การเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ
ในตัวเมืองนครสวรรค์มีรถสองแถววิ่งประจำทางอยู่หลายสาย ศูนย์ท่ารถตั้งอยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง บขส. และจากบขส.มีรถต่อไปยังอำเภอต่างๆ

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ

อำเภอโกรกพระ 18 กิโลเมตร
อำเภอบรรพตพิสัย 34 กิโลเมตร
อำเภอลาดยาว 40 กิโลเมตร
อำเภอชุมแสง 39 กิโลเมตร
อำเภอเก้าเลี้ยว 20 กิโลเมตร
อำเภอพยุหะคีรี 26 กิโลเมตร
อำเภอท่าตะโก 45 กิโลเมตร
อำเภอตาคลี 61 กิโลเมตร
อำเภอไพศาลี 65 กิโลเมตร
อำเภอหนองบัว 71 กิโลเมตร
อำเภอตากฟ้า 73 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอแม่วงก์ 80 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอแม่เปิน 75 กิโลเมตร

tour map

แผนที่ จังหวัดนครสวรรค์

tour map nakhon sawan

tour map nakhon sawan 2

tour weather

ภูมิอากาศ จังหวัดนครสวรรค์

จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน ในแนวเชื่อมต่อระหว่างภูมิอากาศแถบร้อน กับสภาพภูมิอากาศแบบกึ่งร้อน แบ่งฤดูกาลได้เป็น 3 ฤดู  คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ลักษณะอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและเย็นสบายใจฤดูหนาว

1. ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยรับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

2. ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้

3. ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
จังหวัดนครสวรรค์ มีลักษณะภูมิอากาศประเภททุ่งหญ้าเมืองร้อน ( Aw ) คือค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง  ซึ่งมี
ค่าเฉลี่ยสถิติต่าง ๆ ดังนี้
อุณหภูมิ

ปี 2547 จังหวัดนครสวรรค์ มีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 41.50 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 15.40 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม

ปริมาณน้ำฝน

น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญที่สุด  สำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  การอุปโภค  บริโภค และ
ต้น กำเนิดแหล่งน้ำต่าง ๆ

จากข้อมูลของสถานีอุตุนิยมวิทยารายงานว่า จังหวัดนครสวรรค์ในปี 2547 มีปริมาณน้ำฝนรวมทั้งปีคิดเป็น 928.90 มิลลิเมตร โดยรวมวันที่มีฝนตกทั้งเดือน 110 วัน มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน รวม 302.30 มิลลิเมตร  เดือนที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด คือเดือนมกราคม รวม 0.20 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน คือเดือน กรกฎาคม รวมเป็นระยะเวลา 22 วัน เดือนที่มีฝนตกน้อยสุดในเวลา 2 วัน คือเดือน มกราคม
ความชื้นสัมพัทธ์
จากข้อมูลของสถานีอุตุนิยมวิทยารายงานว่า จังหวัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2547 มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุด 20 เปอร์เซนต์ ในเดือนเมษายน ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 99 เปอร์เซนต์ ในเดือนมิถุนายน, กรกฎาคม และเดือนกันยายน

ลม

ทิศทางและความเร็วลมจะเป็นตัวการที่สำคัญ ในการแพร่กระจายของฝุ่นละออง ทิศทางของกระแสลมหลัก มีอยู่ 3  ทิศทาง  ได้แก่ ลมฝ่ายใต้จะพัดอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน ลมฝ่ายตะวันออกเฉียงจะพัด
อยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม  และลมฝ่ายตะวันออก  จะพัดอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
โดยสรุปสภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครสวรรค์  สัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี หากปีใดปริมาณน้ำฝน มากกว่า 1,200 มิลลิเมตรจะเกิดปัญหาน้ำท่วม ถ้าปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตร จะประสบปัญหาแล้งนาข้าวจะเสียหาย ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากสภาพพื้นที่ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่สูงด้านตะวันตกและด้านตะวันออก ส่วนตรงกลางเป็นแอ่งน้ำ