วัดภูเขาแก้ว อุบลราชธานี

tour-wat-phu-khao-kaew-ubon-ratchathani

วัดภูเขาแก้ว
ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วย ภาพนูนสูงอยู่เหนือ บานประตูและ หน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย

วัดภูเขาแก้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2480 สำหรับให้พระสงฆ์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ พระอุโบสถ ที่ประดับด้วยกระเบื้องทั้งหลัง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ ความงามของอุโบสถ ได้ถูกถ่ายทอดจากฝีมือของช่างพื้นบ้าน โดยการออกแบบของเจ้าอาวาส (พระอาจารย์โชติ) โดยได้นำรูปแบบศิลปะไทย ซึ่งถ่ายทอดอยู่ในส่วนบนของพระอุโบสถ ที่ทำหลังคาเป็นโครงสร้างไม่มีมุข ลดหลั่นกันสี่ชั้นทั้งด้านหน้า และด้านหลังมุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ โดยมีคันทวยรองรับชายคา เป็นรูปนาคอยู่โดยรอบ

ส่วนบริเวณกลางหลังคา ตกแต่งเป็นยอดปราสาททอง หน้าบันจำหลักลายปูนปั้นลายก้านขด ที่ยังคงความอ่อนช้อย และเข้ากันได้ดีกับบัวเสาที่ทำตามศิลปะอินเดีย ในขณะที่ส่วนล่างของบัวหัวเสาลงมาตกแต่งแบบศิลปะขอม

tour-wat-phu-khao-kaew-ubon-ratchathani

จากที่กล่าวมาในเบื้องต้นทำให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรม หรือลวดลายที่ใช้ตกแต่ง ส่วนใหญ่จะถูกถ่ายทอดมาจากลวดลายของปราสาทขอมทั้งสิ้น ทั้งนางอัปสรหรือทวารบาล ที่ยืนเคียงคู่อยู่ที่ประตูพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถวัดภูเขาแก้ว จะตกแต่งด้วยภาพนูนสูง อยู่เหนือบานประตูและหน้าต่างขึ้นไป เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย พร้อมทั้งเล่าเรื่องประวัติของพระธาตุแต่ละองค์โดยสังเขป

นอกจากนี้ บริเวณชั้นล่างของพระอุโบสถยังใช้เป็นศาลาการเปรียญ และนั่งปฏิบัติกัมมัฏฐาน โดยรอบผนังอาคารชั้นล่างยังทำเป็นโต๊ะตั้งเครื่องปั้นดิน

tour-wat-phu-khao-kaew-ubon-ratchathani tour-wat-phu-khao-kaew-ubon-ratchathani

ที่ตั้ง
วัดภูเขาแก้วตั้งอยู่อำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 44 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร ประมาณ 1 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217