รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วัดป่าไทรงาม กำแพงเพชร

ประวัติวัดป่าไทรงาม

ดำริ หลวงปู่อินทร์ จนฺทูปโม พระสงฆ์ที่ชาวไทรงามและพุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพเป็นอย่างสูง เพราะท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง ได้เคยดำริว่าอยากจะสร้างวัดกรรมฐานสักวัดหนึ่งในอำเภอไทรงาม แต่ไม่ทันที่จะดำเนินการ เนื่องจากท่านมรณะภาพเสียก่อน ยังความโศกเศร้าและเสียดายแก่ศรัทธาญาติโยมยิ่งนัก

ริเริ่ม พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้ใหญ่ม้วน เทียนสันต์ บริจาคที่ดินเพื่อสร้าง จำนวน ๑๒ ไร่ เป็นการสนองเจตนาของหลวงปู่ และได้ชักชวนชาวบ้านช่วยกันตามกำลังความสามารถ สร้างกุฏิและศาลาชั่วคราว ให้พระสงฆ์ได้อยู่เจริญกรรมฐาน ภาวนา ขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ละมาย ลาภสมฺปนฺโน ได้เดินธุดงค์มาจากภาคอีสาน ผู้ใหญ่ม้วนพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้กราบอาราธนานิมนต์ให้อยู่โปรดศรัทธาญาติโยม นอกจากนี้ได้รับเมตตาจาก หลวงพ่อจันทร์ อินทวีโร วัดป่าบึงเขาหลวง จังหวัดอุบลราชธานี (สาขาที่ ๒ ของวัดหนองป่าพง) ส่งพระเณรมาอยู่จำพรรษา และตั้งชื่อว่าสำนักสงฆ์ไทรงามอินทราม

พัฒนา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ พระอาจารย์ละมาย เห็นว่าที่ตั้งวัดคับแคบและอยู่ใกล้หมู่บ้านเกินไป จึงย้ายมาปรับปรุงและขยายพื้นที่ ปลุกต้นไม้จัดเขตวัดให้เป็นสัดส่วน เป็นเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ และพัฒนาบุคคลไปพร้อมกัน โดยการจัดอบรมปฏิบัติธรรม และจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี ทำให้มีธรรมทายาทสืบทอดกันอย่างต่อเนื่อง สามเณรที่บรรพชาภาคฤดูร้อนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในข้อวัตรข้อปฏิบัติ และตั้งใจว่าถ้าจะอุปสมบท ต้องมาบวชที่วัดป่าไทรงาม พระอาจารย์ได้นิมนต์ครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน ซึ่งเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง มาอบรมศรัทธาญาติโยมในทุก ๆปี และวัดป่าไทรงามได้รับการจัดตั้งเป็น สาขาที่ ๖๘ ของวัดหนองป่าพง

อุปถัมภ์ บุญของชาวไทรงาม ในปี ๒๕๓๐ พระวิสุทธิญาณเถระ ( หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย) แห่งวัดเขาสุกิมได้นำคณะศิษย์จำนวนมากมาแวะเยี่ยมวัดไทรงาม ได้เห็นข้อวัตรข้อปฏิบัติที่เคร่งครัดของภิกษุสามเณรและญาติโยม จึงได้รับนิมนต์และรับอุปถัมภ์เป็นประธานทอดกฐินที่วัดป่าไทรงามทุกปี รวมทั้งรับรับเป็นสาขาอุปถัมภ์ของวัดเขาสุกิมอีกด้วย

สืบต่อในปี ๒๕๓๒ กรมการศาสนาได้ประกาศตั้งให้เป็นวัดที่ถูกต้อง โดยชื่อว่าวัดไทรงาม(วัดป่า) และเนื่องจากพระอาจารย์ละมายมี ภารกิจ ต้องสร้างวัดอีกแห่งหนึ่งจึงได้มอบหมายให้ พระอาจารย์สง่า อุฏฐาโน เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นผู้สานงานต่อจากท่าน พระอธิการสง่า อุฏฐาโน ได้ยึดหลักปฏิบัติทีได้รับการอบรมสั่งสอนจากครูบาอาจารย์สายวัดป่า ได้พัฒนาวัด และพัฒนาอย่างต่อเนื่องศรัทธาญาติโยมที่มีต่อวัดป่าไทรงามเพิ่มมากขึ้นทุกปี ด้วยพลังศรัทธา และพลังแห่งความสามัคคี ความร่วมมือ ร่วมใจจากทุกๆฝ่าย จึงทำให้วัดป่าไทรงาม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ที่ผู้ได้มาเยือนแล้วจะเพิ่มความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง 

 

โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน ตำบลไทรงาม
อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

๑. หลักการและเหตุผลการก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจ บนพื้นฐานของเศรษฐกิจแห่งความรู้ ( Knowledge – Based Economy ) นับเป็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ และสังคมของนานาประเทศในปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดความสะดวกของระบบการสื่อสาร และการปรับฐานการพัฒนาที่ทั่วโลก เห็นพร้องต้องกันว่า การสร้างความรู้ในสังคม ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์นอกจากจะนำมาซึ่งรายได้ และความมั่งคั่งของประเทศได้เช่นเดียวกับภาคการผลิตอื่นแล้ว ยังทำให้คุณภาพชีวิตขอบประชาชนดีขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมให้สังคมมีวัตกรรม เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ( National Competitiveness ) อีกด้วย

องค์ประกอบหลักของฐานการผลิตดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้รู้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะนำพาประเทศ และประชาชนให้พร้อมก้าวกระโดดในกระบานการพัฒนา โดยรัฐบาลไทย ได้มีการจัดเตรียมระบบการปฏิรูประบบการศึกษา เพื่อเตรียมเด็กและเยาวชนไปบ้างแล้ว องค์ความรู้ ซึ่งนับเป็นกุญแจสำคัญในการเพื่อพูนประสิทธิภาพของผู้รู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ อันหมายถึงกลไกล และระบบต่างๆ ที่สร้างสภาพแวดล้อม แห่งการเรียนรู้ของสังคม การดำเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน ของกระทรวงวัฒนธรรม เป็นการเตรียมการให้ประชาชนในระดับรากหญ้า ได้กล่าวเข้าสู่กระบวนการพัฒนาประเทศอย่างชาญฉลาด โดยจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เผยแพร่ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตไทยในชุมชน เพื่อเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน โดยเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ พึ่งพาตนเองจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน และนำเอาองค์ความรู้ ในชุมชนซึ่งได้มาจากปราชญ์ชาวบ้าน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน สังคม มาวิเคราะห์ วิจารณ์ เลือกสรรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการพัฒนาตนเองตลอดจนแสวงหาแนวทางวิธีการที่เหมาะสมมาแก้ปัญหาชุมชน เพื่อสนับสนุนการสร้าง ผู้รู้ องค์ความรู้สังคมแห่งความเรียนรู้ และระบบเศรษฐกิจแห่งความรู้สำหรับประเทศไทย

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาต้นทุนทางสังคมในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ให้มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่เข็มแข็งและยั่งยืน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นได้นำเอาระบบคุณค่าของวัฒนธรรมไทยมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชุมชน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร จึงได้จัดทำโครงการจักตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลไทรงามขึ้น

๒.วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อพัฒนาต้นทุนทางสังคม ให้มีรากฐานวัฒนธรรมที่เข็มแข็ง นำไปสู่การพัฒนาที่ยังยืน

๒.๒ เพื่อส่งเสริมสนับสนุน การถ่ายทอด การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการนำมาประยุกต์ชีวิตประจำวัน เพิ่มคุณค่าทางสังคม จิตใจ และ มูลค่าเพิ่มผลิตในชุมชน

๒.๓ เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็ง ของชุมชนด้วยวัฒนธรรมโดยการนำเอาระบบคุณค่าในวัฒนธรรมไทย การมีศีลธรรม จริยธรรมที่ดีงามและจิตวิญญาณ ในความรักถิ่นเกิดอันจะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาการยากจน และปัญหายาเสพติด และปัญหาการประพฤติชอบในชุมชน

๒.๔ เพื่อร่วมรวมองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมคือ คือคลังสมอง/ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาชีพ แห่งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ลานดนตรี กีฬา/ การละเล่นพื้นบ้านพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านศูนย์สารสนเทศ และห้องสมุดชุมชนไว้ในศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนประจำตำบล

๓.เป้าหมาย
๓.๑ เป้าหมายเชิงประมาณสนับสนุนให้ชุมชนและประชาชนในท้องถิ่นรวบรวมขอมูลทางวัฒนธรรม สงเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่วัฒนธรรมวิถีชีวิตในชุมชนโดยดำเนินการในรูปของศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน ระดับตำบล จำนวน ๑ ศูนย์

๓.๒ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
๓.๒.๑ ประชาชนในชุมชนทุกกลุ่ม ทุกเพศทุกวัย ได้มีโอกาสสืบค้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวัฒนธรรม และวิถีชีวิตไทย ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐาน ต่อการดำเนินชีวิต และครองตนภายใต้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนส่งเสริมกระบวนการพัฒนาคนและองค์ความในชุมชน เพื่อแสวงหาทิศทาง และแนวการปกป้อง ดูแล และพัฒนาชุมชนชุมชนให้เข้มแข็งสามารถป้องกันแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชน ให้เกิดความป้องกันแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชน ให้เกิดความมั่นคงพร้อมกัน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดยเฉพาะการแก้ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด และปัญหาการประพฤติมิชอบในชุมชน

๓.๒.๒ ประชาชนในชุมชน ร่วมกันพัฒนาศูนย์ ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชุนประจำตำบล ให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยใช้มิติทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ผนวกกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน

๔. ระยะทาเวลาดำเนินชีวิตตุลาคม ๒๕๔๖ – กันยายน ๒๕๔๗

๕. วิธีดำเนินชีวิต
๕.๑ ศึกษากรอบแนวทางการดำเนินงาน
๕.๒ เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
๕.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการการเกินเนินงาน
๕.๔ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน ประจำตำบลไทรงาม
๕.๕ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

๖. สถานที่ดำเนินงานตำบลไทรงาม อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

๗. งบประมาณ
๗.๑ ขอรับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลไทรงาม จำนวน ๓๐,๐๐๐
โดยจ่ายลักษณะการตอบแทน, ค่าใช่สอย และค่าวัสดุ จำนวลทั้งสิ้น ๓๐,๐๐๐ โดยแยกดังนี้
- ค่าปรับปรุงภูมิภายในศูนย์
- จดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และอื่นๆ
- ค่าวัสดุทั้งนี้ ทุกรายการถั่วจ่ายตามความเป็นจริง

๗.๒ ขอรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลไทรงามจำนวน ๓๐,๐๐๐บาทโดยจ่ายลักษณะค่าตอบแทน, ค่าใช้สอย และค่าวัสดุ จำนวนทั้งสิ้น ๑๐,๐๐๐ บาท โดยแยกตั้งนี้
- ค่าจัดทำแผนที่แสดงมิติทางวัฒนธรรมไทยตำบลไทรงาม จำนวน ๓,๐๐๐ บาท
- ค่าวัสดุ จำนวน ๗,๐๐๐บาท
ทั้งนี้ทุกรายการถั่วจ่ายตามเป็นจริง

รวมงบประมาณทั้งสิน จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบานถ้วน)

๘. ผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร , นางสาวขวัญเรือน จำปาง นักวิชาการวัฒนธรรม

๙. การประเมินผลการสังเกต และการสอบถาม

๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ มีแหล่งเรียนรู้ในทางวัฒนธรรมที่ครบวงจรในตำบลไทรงาม

๑๐.๒ ชุมชนตำบลไทรงาม สามารถนำเอาคุณค่าของวัฒนธรรมไทย มาประยุกต์ใช้ในการคำรงชีวิตอยู่ในสังคม ชุมชนอย่างมีความสุข อันจะนำมาซึ่งความเข้มแข็งและความสามัคคีของชุมชน

๑๐.๓ ประชาชนสามารถนำความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ มาพัฒนาตนเองให้มีอาชีพเสริมที่มั่นคง ซึ่งเป็นการลดค่าใช่จ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว 

ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สุวัฒน์ พิทักษ์วงศ์ นายอำเภอไทรงามในขณะนั้นเห็นว่าในภาวะที่ประเทศเกิดวิกฤติ สังคมสับสนวุ่นวาย เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เป็นคนเก่งและคนดี ประกอบด้วยกับวัดป่าไทรงามมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นสถานที่ในการอบรมเพิ่มพูลคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชนจึงได้ทำโครงการขอจัดตั้งเป็นศูนย์เพิ่มพูนคุณธรรมและจริยธรรมของจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากจังหวัดให้จัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ได้จัดการอบรมเพิ่มพูนคุณธรรมจริยธรรมให้แก่บุคคลทุกกลุ่มตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ในวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ รวม ๓วัน ๒ มีผู้อบรมเพิ่มขึ้น ทำให้ศาลาแฝกหลังเดิมคับแคบและไม่สะดวก พระอธิการสง่า อุฏฐาโน จึงได้นำญาติโยมสร้างศาลาเพิ่มพูนคุณธรรมจริยธรรมขึ้นอีกหลังหนึ่ง และในวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้วัดป่าไทรงามเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ ทางศูนย์ปราบปรามและป้องกันยาเสพติดจังหวัดกำแพงเพชรได้ขอจัดตั้งศูนย์อีกหนึ่งศูนย์คือ ศูนย์สังคมจิตเวชชากังราว

ปี ๒๕๔๕ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้มีประกาศจากมหาเถรสมาคม แต่งตั้งให้วัดไทรงาม เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แห่งที่ ๑ ของจังหวัดกำแพงเพชร

เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เนื่องในสัปดาห์วันวิสาบุชาทางกรมศาสนาได้พิจารณา พระครูสังฆรักษ์ สง่า อุฏฐาโน เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเพื่อรับเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และด้วยความปลื้มปิติยินดีของศรัทธาและศิษยานุสิตจึงพร้อมใจกันจัดฉลองอย่างเรียบง่าย ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ซึ่งถือเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาและของโลก

ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ทางสำนักวานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ดำเนินการเสนอขอพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ ให้พระครูสังฆรักษ์ สง่า อุฏฐาโน มีสมณศักดิ์เป็น พระครูโสภณวชิรกิจ จร.ชท.

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 837 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์