รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

เขื่อนสิรินธร อุบลราชธานี

tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani

tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani

เขื่อนสิรินธร
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง 70 กม. ตามทางหลวง 217 แยกขวาที่กม. 71 ไปอีก 500 เมตร เป็นเขื่อนหินแกนดินเหนียว สร้างกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ตัวเขื่อนสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร อำนวยความประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน บริเวณริม ทะเลสาบ มีสวนสิรินธร ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มีรูปปั้นและน้ำพุสวยงาม มีบริการบ้านพักสำหรับ นักท่องเที่ยวสำหรับ นักท่องเที่ยว ติดต่อที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี โทร. 436-3271-2

ข้อมูลทั่วไป
เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากจะให้ประโยชน์ ทางด้านการผลิต พลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอำนวยประโยชน์ นานัปการ ต่อการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ ของประชาชน ในภูมิภาคแถบนี้ ทั้งทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยว นับเป็นการสงวนและใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ ในประเทศให้เกิดประโยชน์ สูงสุด อย่างสอดคล้อง กับการพัฒนาประเทศ ในยุคปัจจุบัน

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนที่มีความสำคัญ ยิ่งแห่งหนึ่งในการพัฒนาประเทศ และความเป็นอยู่ ของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภูมิใจที่เขื่อนแห่งนี้ ได้มีส่วนในการยกระดับ มาตรฐาน การครองชีพ ของประชาชนให้ดีขึ้น และผลักดัน ให้ภูมิภาคแถวนี้ ก้าวไปสู่ความเจริญ ก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน สมควรเป็นมรดกอันมีค่า ของประชาชน และประเทศชาติสืบไป

tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani

ลักษณะเขื่อน
ตัวเขื่อน
มีความสูง ๔๒ เมตร ยาว ๙๔๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๗.๕ เมตร

อ่างเก็บน้ำ
มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๘ ตารางกิโลเมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ ๑,๙๖๖.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด ๑๔๒.๒ เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง)

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร
ติดตั้งเครื่อง กำเนิดไฟฟ้าไว้ ๓ เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ ๑๒,๐๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๓๖,๐๐๐ กิโลวัตต์

การก่อสร้างโครงการ ได้เริ่มในเดือนมิถุนายน ๒๕๑๑ และมีการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้เชิญพระนามของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนามเขื่อนว่า "เขื่อนสิรินธร" การก่อสร้างตัวเขื่อน และระบบส่งไฟฟ้าระยะแรก แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิดเขื่อนสิรินธร เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มอบเขื่อนสิรินธร ให้อยู่ในความรับผิดชอบดูแล ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต่อไป

ประโยชน์
เขื่อนสิรินธร เป็นโครงการอเนกปรสงค์ จึงสามารถ อำนวยประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ในการพัฒนาประเทศ ในด้านต่างๆ ดังนี้

การผลิตพลังงานไฟฟ้า
สามารถใช้พลังน้ำ มาผลิตพลังงาน ได้เฉลี่ยปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ขยายขอบเขต การจ่ายกระแสไฟฟ้า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกไปได้กว้างขวางขึ้น

tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani

การชลประทาน
สามารถส่งน้ำ ที่เก็บกักไว้ ในอ่างเก็บน้ำ ไปใช้ในระบบชลประทาน ได้เป็นพื้นที่ ๑๕๐,๐๐๐ ไร่ จึงช่วยให้ เกษตรกร ในแถบนี้ทำการเพาะปลูก ได้ตลอดปี

บรรเทาอุทกภัย
เขื่อนสิรินธร สามารถกักเก็บน้ำ ที่ไหลบ่ามา ตามแม่น้ำโดมน้อย ไว้ได้เป็นจำนวนมาก จึงช่วยป้องกันปัญหา น้ำท่วมและ ช่วยให้แม่น้ำมูล สามารถระบายน้ำ ลงสู่แม่น้ำโขง ได้สะดวกยิ่งขึ้น

การประมง
อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ โดย กฟผ. ร่วมมือกับกรมประมง นำพันธุ์ปลา มาปล่อย อาทิ ปลายี่สก ปลานิล ปลาใน ฯลฯ และกุ้งก้ามกราม ทำให้ราษฎร มีอาชีพหลักเพิ่มขึ้น

การคมนาคม
สามารถใช้อ่างเก็บน้ำ เป็นเส้นทางเดินเรือ ติดต่อค้าขายและคมนาคม ขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้สะดวกอีกทางหนึ่ง

การท่องเที่ยว
ความสวยงามสงบร่มรื่น ของภายในบริเวณ เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เป็นสิ่งดึงดูดใจ ให้นักท่องเที่ยว เดินทางมาเที่ยวชม และพักผ่อนหย่อนใจ เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขยายตัว ทางด้านธุรกิจท่องเที่ยว อื่นๆ ตามไปด้วย

สิ่งอำนวยความสะดวก
หากประสงค์จะเยี่ยมชม และพักแรม ภายในเขื่อน สามารถติดต่อสอบถาม เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ ที่หน่วยธุรการ และบริการ เขื่อนสิรินธร โทร. ๒๗๐๗ (สายใน) หรือ โทร. (๐๔๕) ๓๖๖๐๘๑ หากอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อสำรองที่พัก ได้ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี

การเดินทาง
เขื่อนสิรินธร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร การเดินทางโดย รถยนต์ ใช้เส้นทาง ไปตามถนนสายมิตรภาพ ประมาณ ๗๓๗ กิโลเมตร มุ่งสู่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวง หมายเลข ๒๑๗ เข้าสู่อำเภอพิบูลมังสาหาร จากนั้นไปตาม เส้นทางพิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก เข้าสู่เขื่อนสิรินธร

นอกจากนี้ สามารถเดินทางได้ โดยรถโดยสารปรับอากาศ หรือรถไฟ แต่ถ้าต้องการความสะดวก สบาย และรวดเร็ว ก็สามารถใช้บริการ สายการบิน ภายในประเทศได้

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
เพื่อให้การมาเยี่ยมเขื่อนสิรินธร ได้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลิน อย่างเต็มที่ ท่านสามารถ แวะชมสถานที่ท่องเที่ยว ใกล้เคียง ภายในจังหวัดอุบลราชธานี ได้อีกหลายแห่ง เช่น แก่งสะพือ แก่งตะนะ น้ำตกตาดโตน แม่น้ำสองสี หรือ ดอนด่านปากน้ำมูล น้ำบุ้น และผาแต้ม

สวนสิรินธร
เป็นสวนเฉลิมพระเกียรติที่ กฟผ. จัดสร้างขึ้นเพื่อ เป็นการถวายความจงรักภัคดี และถวายเป็นราชสักการะ ต่อองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาส คล้ายวันพระราชสมภพ ทรงมีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๔ โดยจัดเป็นสวนสาธารณะอันร่มรื่น งดงามเพื่อให้สาธารณะชน ได้พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กฟผ. ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างสวนนี้ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๓ แล้วเสร็จ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๔ รวมค่าใช้จ่ายประมาณ ๔.๔๐ ล้านบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน เปิดสวนสิรินธร เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๔

สวนแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำฝั่งซ้าย ของสันเขื่อนสิรินธร มีพื้นที่ประมาณ ๔๐ ไร่ โดยออกแบบก่อสร้าง ให้มีลักษณะเป็นสวนป่า ที่คงสภาพสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ไว้ได้มากที่สุด การใช้วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ เน้นให้กลมกลืน กับพื้นที่เดิม

ภายในสวนสิรินธร ประกอบด้วยสวนพฤกษศาสตร์ สวนน้ำพุ ศาลาพักผ่อน และพันธุ์ไม้ดอก โทนสีม่วง ซึ่งเป็สีประจำวันพระราชสมภพ คือวันเสาร์ ประดับไว้โดยรอบ พร้อมกับตัดแต่งต้นไม้ เป็นตัวอักษร สธ อันเป็นพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ ยังมีประติมากรรมรูปหล่อ เป็นช้าง ๓ เชือกเล่นดนตรี ซึ่งเป็นเครื่องดนตรี ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดปราน อันได้แก่ ระนาด ซอ และ ขลุ่ย

tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani tour-si-rin-dhorn-dam-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 670 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์