บ้านปลาขาว อุบลราชธานี

tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani

บ้านปลาขาว
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านปลาขาว หมู่ที่ 3 ตำบลยาง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ชุมชนปลาขาว 8 หมู่บ้าน ได้จัดตั้งหมู่บ้านมานานกว่า 200 ปี คนรุ่นแรกอพยพมาจากบ้านแก้ง คนบ้านแก้งข้ามลำชอมมาทำนาพอถึงฝนน้ำชอมก็เอ่อท้วมถนน การที่เที่ยวไปมาไม่สะดวก หลายหลังเข้าก็เลยตั้งเป็นบ้านชื่อว่า บ้านปลาขาว เหตุที่ให้ชื่อ ว่าบ้านปลาขาวนั้นก็เพราะว่ามีแม่น้ำล้อมในน้ำมีปลาขาว คือ ห้วยชอม บ้านปลาขาวมีผู้ใหญ่บ้านชื่อว่านายอุทัย แสงหิรัญ

ที่ตั้ง
ทิศเหนือ จดบ้านโนนเรือ

ทิศตะวันออก จดบ้านโนนขาวสะอาด

ทิศใต้ จดเขตของตำบลเก่าขาม

ทิศตะวันตก จดบ้านปลาขาวใน

tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani

การคมนาคม
หมู่บ้านปลาขาวมีเส้นทางคมนาคมสู่อำเภอ เส้นทางที่ใกล้ที่สุดจำนวน 1 เส้นทาง เป็นถนนลาดยาง ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ไปมาสะดวก

ลักษณะภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ
เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร นาข้าว

แหล่งน้ำที่สำคัญ
1.ฝายน้ำล้นห้วยดินดำหนองย่าก่าน แหล่งน้ำสาธารณะ สระใหญ่ 4 ไร่ ใช้ในการเกษตรและประมงเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญใช้ในการเกษตรและหาปลาของคนในหมู่บ้าน
2. ห้วยดินดำ แหล่งน้ำสาธารณะ ขนาดของสระ ยาว 5 กิโลเมตร ใช้ในการเกษตรและหาปลาของชาวบ้าน
3. ห้วยซอม ยาว 3 กิโลเมตร ใช้ในการเกษตรและหาปลา

tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani

ประชากร
บ้านปลาขาวมีจำนวนประชากรทั้งหมด 72 ครัวเรือน ชาย 175 หญิง 171 คน
รวมทั้งสิ้น 346 คน ประชากรนับถือศาสนาพุทธ
รายได้เฉลี่ย 35,437 บาท/คน/ปี

การศึกษา
ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ ชั้นประถมศึกษา 225 คน
จบชั้นมัธยมศึกษา 32 คน จบ ปวส. 3 คน จบปริญญาตรี 5 คน

สภาพทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านปลาขาวเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา ราษฏรส่วนใหญ่จึงมีอาชีพทำนา เป็นหลัก ทำไร่มันสำปะหลังส่วนน้อย และบางส่วนปลูกยางพารา และเลี้ยงวัวบางส่วน ทำการเกษตร ปลูกข้าว รับจ้าง ค้าขาย รับราชการ เนื่องจากราษฎรในหมู่บ้านนี้เป็นคนขยัน สามารถพึ่งตนเองได้ ผลผลิทางการเกษตรที่นำรายได้เข้าหมู่บ้านประมาณปีละ 40,000,000 บาท

กลุ่มอนุรักษ์ภาพเขียนไทย
ประวัติและการบริหารจัดการ
กลุ่มจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2539 ที่บ้านปลาขาว หมู่ที่ 3 ต.ยาง โดยรวมกลุ่มเยาวชนในตำบลที่สนใจมาวาดภาพไทย โดยมีผู้ฝึกสอน คือ นายอำนวย สุทธัง ปัจจุบันมีสมาชิก 30 คน สมาชิกมีรายได้ตั้งแต่ 1500 - 12000 บาท/เดือน รายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของสมาชิกแต่ละคน สถานที่จำหน่าย จำหน่ายที่ร้านนานาภัณฑ์ กทม. เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ

tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani

กลุ่มในชุมชน
1. กลุ่มอนุรักษ์ภาพไทย บ้านปลาขาว หมู่ที่ 3 ต.ยาง
2. กลุ่มทอผ้าไหม บ้านหนองคู หมู่ที่ 4 ตำบลยาง

สภาพการรวมตัว
มีการทำงาน จันทร์ - เสาร์ เวลา 08.00 - 16.30 สมาชิกจะทำงานตามวัน เวลาที่กำหนด ถ้ามีงานสั่งมากก็จะเพิ่มเวลาทำงาน และจะได้รับรายได้เพิ่ม โดยสมาชิกจะมีรายได้ ตั้งแต่ฝึกงาน มีคณะกรรมการบริหารกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับกลุ่มทำให้เยาวชนในตำบล ไม่อพยพไปทำงานต่างถิ่น

สภาพทั่วไปของชุมชน/กลุ่ม
กลุ่มตั้งอยู่บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 3 บ้านปลาขาว ต.ยาง ซึ่งเป็นบ้านของคุณอำนวย สุทธังใช้เป็นสถานที่วาดภาพไทย สภาพเป็นทุ่งนาอยู่หลังวัด เหมาะแก่การวาดภาพชุมชน หมู่บ้านอยู่ใกล้วัด กลุ่มีสมาชิก 30 คน มีคณะกรรมการบริหารกลุ่ม

อาณาเขต / ที่ตั้ง
สถานที่เป็นบ้านของคุณอำนวย สุทธัง มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ อยู่กลางทุ่งนา สภาพแวดล้อมน่าอยู่

จำนวนประชากร
จำนวนทั้งสิ้น 50 คน

tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani tour-ban-pla-khaw-ubon-ratchathani

อาชีพหลักของชุมชน/กลุ่ม
ทำนา

อาชีพรองของชุมชน/กลุ่ม
ทอผ้า, วาดภาพไทย

ปัญหาที่พบและสิ่งที่ชุมชนต้องการ
1. ขาดอาคาร สถานที่ที่เป็นเอกเทศ
2. ขาดอุปกรณ์ คือ โต๊ะเขียนแบบ โคมไฟ

แนวทางการวิเคราะห์และแนวทางแก้ไข
1. จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจาก อบต.ยาง เพื่อสร้างอาคาร สถานที่ และจัดซื้อ อุปกรณ์การเขียนแบบ โต๊ะเขียนแบบ โคมไฟ อนุรักษ์ภาพไทย ศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง สมาชิกมีรายได้ และเป็นการอนุรักษ์ภาพไทย ศิลปวัฒนธรรมไทยเห็นควรส่งเสริม
2. สมาชิกควรได้รับการพัฒนาฝีมือ