พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ กำแพงเพชร
พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร
เฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่เลขที่ 104/5 ถนนปิ่นดำรห์ อยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี สร้างด้วยไม้สักเป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง
พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนของประวัติศาสตร์เมือง ส่วนของมรดกดีเด่น เช่น หินอ่อน แหล่งน้ำมัน และส่วนของชาติพันธุ์วิทยา แสดงถึงชนเผ่าต่างๆ เช่น มูเซอ กะเหรี่ยง ลีซอ การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น
มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้ระบบมัลติมีเดีย มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน
นอกจากนั้นมีศูนย์จริยศึกษา เพื่อฝึกหัดอบรมงานประณีตศิลป์ ศิลปประดิษฐ์ สำหรับเยาวชนในวัยเรียน ซึ่งจะเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัด โดยจะสอนเกี่ยวกับพุทธศาสนา มรรยาท การแกะสลัก ร้อยมาลัย ซึ่งจะเปิดสอนเฉพาะวันอาทิตย์
เป็นสถานที่แสดงผลงานของศูนย์บริรักษ์ไทยและศูนย์จริยศึกษา จำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน ภายในตัวอาคารจัดเป็นห้องโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยประกอบด้วยระบบภาพแสงและเสียง ในระบบมัลติมีเดีย การแสดงนิทรรศการด้วยระบบคอมพิวเตอร์
และในบริเวณยังมีสวนกล้วย กว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งกล้วยพื้นบ้านไทย และพันธุ์กล้วยนานาชาติ อาทิเช่น กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยตานีดำ กล้วยคุณหมิง กล้วยหอมแกรนด์เนนม กล้วยพม่าแหกคุก กล้วยน้ำว้าลูกไส้ดำ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้วยน้ำหมาก ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย
พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 09.00 - 16.30 น. ค่าผ่านประตู 10 บาท ค่าเข้าชมมัลติมีเดีย 250บาท/คณะ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5572 2341-2
คำยืนยันลูกค้า
คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - เอ้าท์ติ้ง พัทยา (เอสเปค) 20 ท่าน
8798 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - Team Building นครนายก (มิยามะ) 25 ท่าน Part 2
9470 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - กรุ๊ปคุณอั๋น (ยู กรุ๊ป) กิจกรรมทีมบิวดิ้ง แก่งกระจาน 2 วัน 50ท่าน Part 1
17840 Views