2 ช่องทางและวิธีการเดินทาง แผนที่ ภูมิอากาศ กรุงเทพฯ
สารบัญ
ช่องทางและวิธีการเดินทาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ทางบก
มีรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) และรถร่วมบริการ วิ่งบริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้บริการตั้งแต่เวลา 04.00-23.00 น. และในบางสายเปิดบริการตลอด 24 ชม. นอกจากนี้ยังมีรถรับจ้างอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ที่ โทร.184 หรือ www.bmta.co.th
รถยนต์
กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่
ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายเหนือ)
ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายตะวันออก)
ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายใต้)
ทางรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการเดินรถไฟไปตามสถานีรถไฟชานเมืองภายในเขตกรุงเทพฯ ได้แก่ สายเหนือ และสายอีสาน วิ่งไปถึงสถานีรถไฟดอนเมือง สายตะวันออก วิ่งไปถึงสถานีรถไฟหัวตะเข้ และสายใต้วิ่งไปถึงสถานีรถไฟตลิ่งชัน ติดต่อสอบถามตารางเวลา และรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟหัวลำโพง โทร.223-7010 และ 223-7020
การเดินทางด้วยรถไฟสามารถทำได้ โดยมีสถานีรถไฟต้นทางสามแห่ง คือ
สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) สำหรับเดินทางไปยังภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง
สถานีรถไฟธนบุรี (สถานีรถไฟบางกอกน้อย) สำหรับเดินทางไปยังภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันตก
สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ สำหรับเดินทางเลียบปากอ่าวไทยไปยังปากน้ำท่าจีน และปากน้ำแม่กลอง
ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแผนที่จะปรับปรุงสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ให้เป็นสถานีหลักเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหา นคร ทั้งนี้ จะมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟทางไกลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันภายใต้โครงการรถไฟฟ้าชาน เมือง (สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)
รถไฟฟ้ามหานคร (รถไฟฟ้าใต้ดิน)
เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ในเส้นทางสายบางซื่อ-หัวลำโพง รวมทั้งสิ้น 18 สถานี อัตราค่าบริการเริ่มต้นที่ราคา 14 บาท สูงสุดที่ราคา 36 บาท โดยในปีแรกนับจากวันที่เปิดให้บริการ ทาง บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BMCL) มอบส่วนลด 15% ให้กับผู้ใช้บริการทุกท่าน โดยเริ่มต้นที่ราคา 12 บาท สูงสุดที่ราคา 31 บาท เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น.
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2354 2000 หรือเว็บไซต์ www.bangkokmetro.co.th
รถไฟฟ้า บีทีเอส
รถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ใน 2 เส้นทาง คือ สายสุขุมวิท ซึ่งได้รับชื่อพระราชทานว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา สาย 1" และสายสีลมซึ่งได้รับชื่อพระราชทานว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา สาย 2" เปิด ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ราคา 10 บาท สูงสุดที่ราคา 40 บาท
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2617 7141-2 หรือ เว็บไซต์ www.bts.co.th
รถโดยสารประจำทาง
ทางรถโดยสารประจำทาง (ต่างจังหวัด)
รถโดยสารประจำทางหรือรถประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยมี สถานีหลักอยู่ที่
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (ที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิตใหม่ หรือ หมอชิต 2) สำหรับ เดินทางขึ้นเหนือ ไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง (รวมภาคตะวันออก ภาคตะวัน ตก และภาคใต้ในบางเส้นทาง)
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สำหรับเดินทางลงใต้ ไปภาคใต้และภาคตะวันตก
ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ คือระบบขนส่งมวลชนใหม่ของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะคล้ายกับรถ ประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ สายที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน คือ สายช่อง นนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร โดยจะสามารถเปิดทดลองวิ่งได้ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้ และ จะให้บริการฟรีเป็นเวลา 6 เดือน
ทางน้ำ
มีบริการเรือโดยสารข้ามฟากบริเวณท่าช้าง ท่าพระจันทร์ ท่าเตียน ท่าเทเวศร์ ท่าคลองสาน ท่าสี่พระยา ฯลฯ และบริการเรือด่วนเจ้าพระยาไปจังหวัดนนทบุรีทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.00-18.00 น. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา โทร.225-3002-3 นอกจากนี้ยังมีเรือหางยาววิ่งไปตามคลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว คลองบางกอกน้อย และวิ่งไปตามคลองต่างๆ เป็นต้น สอบถามเส้นทางเดินเรือได้ที่ สำนักการจราจร และขนส่ง กองการขนส่ง โทร.910-3709-10
เครื่องบิน
การเดินทางทางอากาศ ในอดีตได้ใช้สนามบินดอนเมือง (ท่าอากาศยานกรุงเทพ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2457 ต่อมาได้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ) ซึ่ง ได้เปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 03.00 น
ปัจจุบัน สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำหรับเที่ยวบินต่างประเทศและเที่ยวบินในประเทศบางส่วน
การเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทางรถยนต์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพฯ (บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ประมาณ 24 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางเท่ากับไปดอนเมือง โดยมีเส้นทางที่สะดวก 3 เส้นทางคือ คือ
เส้นทางมอเตอร์เวย์ วิ่งมาออกทางด่วนสาย กรุงเทพฯ-ชลบุรี ผ่านวงแหวนรอบนอก และชิดซ้ายเข้า สนามบิน
เส้นทางบางนา-ตราด กม.ที่15 มีป้ายบอกทางเลี้ยวเข้าสนามบิน ถ้าใช้ทางด่วนบูรพาวิถีต้องลงที่บาง พลีก่อน
เส้นทางฝั่งถนนร่มเกล้า วิ่งมาผ่านวงแหวน ผ่านป้าย Free Zone เลยมาอีกเล็กน้อยก็ถึงอาคารผู้โดย สาร
สำหรับรถแท็กซี่มิเตอร์ จากสนามบินไปยังสถานที่ต่าง ๆ คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 50 บาท จากปกติ
รถประจำทาง มี 7 สาย ค่าโดยสารตามระยะทางประมาณ 12-35 บาท
สาย 549 สุวรรณภูมิ - มีนบุรี - บางกะปิ (ผ่านถนนลาดกระบัง-ร่มเกล้า-สีหบูรณานุกิจ-เสรีไทย)
สาย 550 สุวรรณภูมิ - แฮปปี้แลนด์ (ผ่านถนนลาดกระบัง-อ่อนนุช-ศรีนครินทร์)
สาย 551 สุวรรณภูมิ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) (ผ่านถนนพระราม 9-ถนนอโศก-ดินแดง-ถนน ราชวิถี)
สาย 554 สุวรรณภูมิ - รังสิต (ทางด่วน) (ผ่านถนนวงแหวนตะวันออก-รามอินทรา-แจ้งวัฒนะ-วิภาวดี- ดอนเมือง-รังสิต)
สาย 552 สุวรรณภูมิ - สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช (ผ่านบางนา-ตราด - ถนนสุขุมวิท)
สาย 553 สุวรรณภูมิ - สมุทรปราการ (ผ่านถนนลาดกระบัง-วัดกิ่งแก้ว-บางนา-บางปะกง-ศรีนครินทร์- สุขุมวิท-ถนนสายลวด)
สายเฉพาะกิจ ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ ผ่านวิภาวดีรังสิต-แยกดินแดง-ทางด่วนพระราม 9 -ศรีนครินทร์- มอเตอร์เวย์
รถแอร์พอร์ตบัส มี 4 เส้นทาง ค่าโดยสาร 150 บาทตลอดสาย
สาย AE1 สุวรรณภูมิ-สีลม (ทางด่วน)
สาย AE 2 สุวรรณภูมิ-บางลำภู (ทางด่วน)
สาย AE 3 สุวรรณภูมิ-ถนนวิทยุและสุวรรณภูมิ-สุขุมวิท 3 (นานาเหนือ)
สาย AE 4 สุวรรณภูมิ-หัวลำโพง (ทางด่วน)
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดขบวนรถกรุงเทพ - สุวรรณภูมิ(หัวตะเข้) 7:30 น และ 16:00 น เป็นรถปรับอากาศ ค่าโดยสาร 50 บาทตลอดสาย เมื่อลงรถไฟต้องต่อรถโดยสารเข้าสู่สนามบิน ค่าโดย สารคนละ 15 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1690 ตารางรถไฟสายตะวันออก
การเดินทางจากสนามบินไปยังต่างจังหวัดทางรถยนต์ บริษัทขนส่งจำกัดจัดระโดยสารปรับอากาศใน เส้นทางต่อไปนี้
สุวรรณภูมิ - พัทยา
สุวรรณภูมิ - ตลาดโรงเกลือ (อรัญประเทศ)
สุวรรณภูมิ - หนองคาย
ติดต่อสอบถามประชาสัมพันธ์สนามบิน โทร. 0 2132 1888
รถเช่า กรุงเทพฯ
ยุโรป-ไทย คาเร้นท์ (Europcar)
โทร. 0 2696 824
อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
มีสาขาทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ที่กรุงเทพฯ มีสาขาสารสิน สนามบินสุวรรณภูมิ และโรงแรม อาทิ แมริออท พูลแมนคิงพาวเวอร์ อีบิสสาธร วิสต้าสาทรเป็นต้น
เฮิร์ทซ (Hertz)
Call Center 1800-600-900, 0 2305 8584
อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บไซต์ http://www.pcrthai.com
สาขาสนามบินสุวรรณภูมิ โทร. 08 5917 9903 บริการตลอด 24 ชั่วโมง
สาขาเอ็มไทย ตึกออลซีซั่น ถนนวิทยุ ปทุมวัน โทร. 0 2654 1105
สาขาถนนสาทรเหนือ เขตบางรัก โทร. 0 2266 4666
แผนที่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
แผนที่จังหวัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร นิววิวทัวร์
ภูมิอากาศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย บริเวณละติจูดที่ 13.45 องศาเหนือ ลองจิจูด 100.28 องศาตะวันออก โดยเป็นเมืองหลวงของประเทศ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,568.7ตารางกิโลเมตร และมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น เช่นเดียวกับพื้นที่ในจังหวัดภาคกลางของประเทศ โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 33.2 องศาเซลเซียส และ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25.0 องศาเซลเซียส
ภูมิอากาศ
อุณหภูมิกรุงเทพมหานครนั้นมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด ได้แก่ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อให้เกิดฤดูกาลที่แตกต่างกัน 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เดือนมกราคม
อุณหภูมิทั้ง 3 ฤดูจะแตกต่างกัน แต่ค่าเฉลี่ยจากการวัด ณ สถานีตรวจอากาศ กรุงเทพมหานคร ปี 2545 จะอยู่ที่ 29.2 องศาเซลเซียส โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 38 องศาเซลเซียส และต่ำสุดเท่ากับ 19.2 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครจะมีค่าสูงเกือบตลอดปี เนื่องจากกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ใกล้อ่าวไทย ซึ่งมีไอน้ำพัดเข้าถึงสม่ำเสมอ ซึ่งจากการวัด ณ ปี พ.ศ. 2545 เช่นกัน ความชื้นสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครจะมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73
ทัศนวิสัยของกรุงเทพมหานครเมื่อเวลา 07.00 น. จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.6-8.0 กิโลเมตรปริมาณฝน ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝน ณ สถานีตรวจอากาศกรุงเทพมหานคร ณ ปี พ.ศ. 2545 คือ 1,878.3 มิลลิเมตร และมีค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่ฝนตกปีละ 146 วัน
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของกรุงเทพมหานครเป็นที่ราบลุ่ม มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1.50-2 เมตร โดยมีความลาดเอียงของระดับพื้นดินจากทิศเหนือ จะค่อยๆ ลาดเอียงสู่อ่าวไทยทางทิศใต้ และเฉพาะลุ่มแม้น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1.50 เมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งในทางภูมิศาสตร์เรียกว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำพา (Alluvium) โดยเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย (The Lower General Plain of Thailand) เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวและพืชประเภทต่างๆ
คำยืนยันลูกค้า
คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - กรุ๊ปคณะคาทอลิก แห่งประเทศไทย แสวงบุญพนมเปญ เสียมเรียบ 34 ท่าน Part5
20623 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - ทีม บิ้วดิ้ง แก่งกระจาน (โรงเรียนวัดลาดพร้าว) 60 ท่าน Part 3
10954 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - ทีมบิ้วดิ้ง เขาใหญ่ (ลิฟท์สตาร์) 20 ท่าน Part 3
12228 Views