รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

1 คำแนะนำการเดินทาง พม่า

สารบัญ

ธงชาติ พม่าคำแนะนำการเดินทาง ประเทศพม่า

ข้อควรทราบก่อนเดินทาง
การขอวีซ่า:
คนไทยที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดาจะต้องยื่นขอวีซ่า จากสถานทูตพม่าก่อนเดินทาง โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภท คือ
Tourist Visa: อยู่ในพม่าได้เป็นเวลา 4 สัปดาห์
Business Visa: อยู่ในพม่าได้นานถึง 10 สัปดาห์ และ
Entry Visa: จะอยู่ในพม่าได้ 4 สัปดาห์เช่นกัน

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะอยู่ในพม่าเกิน 4 สัปดาห์ ท่านจะต้องยื่นเรื่องขอ Stay Permit จากกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ของพม่าก่อนทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ที่อยู่ในพม่าเกินกว่า 4 สัปดาห์จะต้องยื่น Departure Form ต่อทางการพม่าก่อนที่จะเดินทางออกนอกพม่า

การขอวีซ่า
นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปประเทศพม่า ต้องขอวีซ่าก่อนการเดินทาง โดยหลักฐานประกอบการขอวีซ่ามีดังนี้

1. พาสปอร์ตปัจจุบันที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือนก่อนออกเดินทาง

2. รูปถ่ายขนาดเดียวกันและแบบเดียวกัน จำนวน 3 รูป

3. ค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่า 810 บาท (สำหรับนักท่องเที่ยว) และ 1,440 บาท (สำหรับนักธุรกิจ)

4 นักท่องเที่ยวสามารถขอวีซ่าเข้าประเทศได้เป็นเวลา 28 วัน แต่จะมีการยืดเวลาในการต่อวีซ่าออกไปอีก 14 วัน (สำหรับท่องเที่ยว)และ 3 เดือน (สำหรับนักธุรกิจ)

5. สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางเข้าบริเวณชายแดนพม่าสามารถทำวีซ่าผ่านแดนได้ที่บริเวณชายแดน

ศุลกากร
ข้อกำหนดด้านศลกากรนั้น สามารถนำเข้ามาได้โดยไม่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้ามีดังนี้ บุหรี่ 400 มวน ซิการ์ 100 มวน เหล้า 2 ลิตร และน้ำหอมไม่เกินครึ่งลิตร สำหรับสิ่งของต่าง ๆ ที่จะทำการนำเข้ามาในพม่าจะต้องแจ้งให้กับศุลกากรทราบ และแสดงใบรายละเอียดสินค้าแก่ศุลกากรทุกครั้งที่จะเดินทางออกนอกประเทศ มิฉะนั้นอาจจะต้องเสียค่าปรับได้ถ้าทำใบแสดงรายละเอียดสินค้าสูญหาย

กรมศุลกากรมีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลการนำเข้า - ส่งออกสินค้า ป้องกันการลักลอบสินค้า ดูแลของต้องห้ามต้องกำกัดตามกฎหมายต่างๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่อผู้ประสงค์จะเดินทางเข้า-ออก นักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไป กรมศุลกากรจึงมีความยินดีที่จะให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางเข้า-ออกซึ่งควรทราบในเว็บไซต์นี้เป็นความรู้

สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมและขอวีซ่าได้ที่
สถานเอกอัครราชทูตสหภาพเมียนมาร์ ประจำประเทศไทย
(The Embassy of Union of Myanmar)
เลขที่ 132 ถนนสาทรเหนือ
เขตบางรัก กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 0 – 2234 – 0278, 0 – 2233 - 2237 (แผนกวีซ่า)
แฟกซ์ 0 – 2236 - 6898

สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหภาพพม่า
(Royal Thai Embassy)
No.73 , Manawhari Street , Dagon Township , Yangon , Myanmar
Tel. (951) 224647, 224550, 224507
Fax. (951) 225929

ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า - ออกนอกราชอาณาจักรมีดังนี้
ก่อนการเดินทางท่านจะต้องเตรียมเอกสารการเดินทางให้พร้อม พึงสนใจศึกษาระเบียบศุลกากร เรื่องของด่านกักกันโรค การตรวจคนเข้าเมือง ชนิดของเงินตราของประเทศที่จะเดินทาง ไปและอัตราแลกเปลี่ยนตลอดจน ชนิดและปริมาณของที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับยกเว้น ภาษีอากรเมื่อนำเข้ามา

หากมีของเกินกว่าปริมาณที่ได้รับยกเว้นภาษีอากร ให้สำแดงต่อศุลกากรเพื่อชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง ในกรณีที่ท่านสงสัยในชนิดและปริมาณของที่ได้รับยกเว้นอากรที่แจ้งไว้ในแบบสำแดงการนำเข้า ซึ่งท่านจะได้รับก่อนเดินทางเข้าถึงประเทศ โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำการ

อย่ารับฝากของใดๆจากบุคคลอื่น เนื่องจากท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถ้าเป็นของผิดกฏหมาย

พึงสังวรว่าโทษในการครอบครองเป็นเจ้าของยาเสพติดมีโทษหนักมาก ทั้งค่าปรับ การถูกจำคุก หรืออาจถึงขั้นประหารชีวิต

ข้อมูลน่ารู้ก่อนไปเมียนมาร์
ประชากร
ประชากรในประเทศพม่าประกอบด้วย ชาวพม่าประมาณ 65% ชาวไทใหญ่ 10% ชาวกะเหรี่ยง 7% ชาวยะไข่ 4% ชาวฉิ่น คะฉิ่น และมอญ 2.3% นอกนั้นจะเป็นชาวอินเดีย จีน อัสสัม และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ โดยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 49 ล้านคน กระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ โดยมีประชากรหนาแน่นที่สุดอยู่ในเมืองย่างกุ้งประมาณ 4.8 ล้านคน และเมืองมัณฑะเลย์ประมาณ 1 ล้านคน

คำแนะนำต่าง ๆ
- เวลาทำการของสถานที่ราชการ จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.30 -1 6.30 น. หยุดวันเสาร์และวันอาทิตย์ ส่วนบริษัทเอกชนจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. และหยุดวันอาทิตย์

- ไม่ควรถ่ายรูปในบริเวณสนามบิน สถานีรถไฟ และสถานที่ราชการที่มีีทำการของทหารอยู่ใกล้เคียง เมื่อจะถ่ายรูปกับชาวพม่าก็ควรขออนุญาตก่อนทุกครั้ง อีกเรื่องหนึ่งคือควรเตรียมฟิล์มไปให้พร้อม เพราะในหลาย ๆ สถานที่อาจจะไม่มีฟิล์มถ่ายรูปจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว หรือหากมีจำหน่ายก็อาจจะเป็นฟิล์มที่หมดอายุหรือตากแดดจนเสียคุณภาพไปแล้วก็ได้

- สถานที่ท่องเที่ยวในตอนกลางคืนนั้น พม่าเริ่มเปิดให้มีร้านจำพวกคาราโอเกะมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ ขอแนะนำให้นักท่องเที่ยวใช้บริการบาร์ในบริเวณโรงแรมจะสะดวกกว่ามากและปลอดภัยกว่าด้วย

- การท่องเที่ยวในประเทศพม่า ควรเตรียมเสื้อที่ใส่สบายและไม่อึดอัดจนเกินไปนัก เสื้อแบบผ้าฝ้ายน่าจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ควรเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วย ถ้าต้องการไปเที่ยวบริเวณเทือกเขาตอนเหนือในช่วงฤดูหนาว

- ประเทศพม่าเป็นประเทศเมืองพุทธเช่นเดียวกับประเทศไทย นักท่องเที่ยวควรให้ความเคารพแก่สถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นโบราณสถาน หรือวัดวาอารามอย่างเคร่งครัด

- การซื้อของจำพวกเครื่องเพชรพลอยต่าง ๆ  หรือสินค้าจำพวกวัตถุโบราณ ควรเลือกซื้อจากร้านที่มีใบรับรองจากภาครัฐ หรือร้านที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง มิฉะนั้นจะไม่สามารถนำออกนอกประเทศได้

- นักท่องเที่ยวชาวไทยอาจจะสับสนเรื่องระยะทางได้ ควรจำไว้ว่าประเทศพม่าใช้หน่วยในการวัดระยะทางเป็นไมล์ไม่ใช่กิโลเมตร ส่วนรถยนต์นั้นก็ขับชิดขวาไม่ได้ขับชิดซ้ายเหมือนประเทศอังกฤษที่เคยเป็นอาณานิคม

- ร้านขายสินค้าปลอดภาษีมีให้บริการทั้งในอาคารผู้โดยสารขาเข้าและขาออกของสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง

กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า–ออกประเทศไทย ทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศควรทราบ มีดังต่อไปนี้
1. การเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ถ้าผู้โดยสารต้องการนำของใช้ส่วนตัวติดตัวออกไประหว่าง การเดินทาง เช่น นาฬิกา สร้อยคอ แหวน กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูป วิทยุเทป คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา ฯลฯ และประสงค์จะนำกลับมาภายในประเทศโดยได้รับยกเว้นอากร ผู้โดยสารจะต้องนำของดังกล่าว พร้อมบัตรที่นั่งบนเครื่องบิน (Boarding Pass) หนังสือเดินทาง และตั๋วโดยสาร มาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนเดินทางเพื่อบันทึกรายละเอียดและรับสำเนาเอกสารไว้ สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องตรวจสีแดงในวันเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
-เป็นของเก่าใช้แล้วและมีจำนวน / ปริมาณพอสมควรแก่ฐานะ
-มีเครื่องหมาย เลขหมายให้ตรวจสอบได้ง่าย

หากผู้โดยสารมีของที่มิใช่ของใช้ส่วนตัว แต่มีลักษณะเป็นสินค้า โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรล่วงหน้าเพื่อแนะนำไปปฏิบัติพิธีการศุลกากรก่อนการเดินทาง

2. ของต้องห้ามต้องกำกัด
2.1 ของต้องห้าม หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น
-ยาเสพติดให้โทษ
-วัตถุระเบิด
-สิ่งพิมพ์หรือวัตถุลามก
-สัตว์ป่าสงวน

2.2 ของต้องกำกัด หมายถึงของบางชนิดที่มีกฎหมายควบคุมการนำเข้าและส่งออกผู้ที่ประสงค์จะนำเข้าหรือส่งออกไป ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและนำมาแสดง ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรในขณะนำเข้าและส่งออกด้วยเช่น
-พระพุทธรูป ศาสนาวัตถุ โบราณวัตถุ (กรมศิลปากร)
-สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์เลี้ยง เช่น นก ลิง แมว ฯลฯ(กรมป่าไม้หรือกรมปศุสัตว์)
-สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ (กรมปศุสัตว์)
-พันธุ์พืช เช่น ทุเรียน ลำไย ฯลฯ (กรมวิชาการเกษตร)
-อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ กระทรวงกลาโหม)
-ยาและเคมีภัณฑ์บางชนิด (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)


3. การนำเงินตราเข้า-ออกประเทศ
ผู้โดยสารสามารถนำเงินตราไทย-เงินตราต่างประเทศหรือปัจจัยการชำระเงินตราต่างประเทศเข้ามา หรือออกไปนอกราชอาณาจักรไทยได้ตามมูลค่าที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้

1 เงินไทย ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวเดินทางไปต่างประเทศได้ คนละไม่เกิน 50,000 บาท ยกเว้นนำออกไปยังประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย เช่น พม่า สปป ลาว เขมร มาเลเซียและเวียดนาม นำออกได้คนละไม่เกิน 500,000 บาท ในกรณี การนำเข้า ผู้โดยสารสามารถนำเงินตราไทยนำเข้าได้ไม่จำกัดมูลค่า

2 เงินตราต่างประเทศหรือปัจจัยการชำระเงินตราต่างประเทศ ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวไปต่างประเทศหรือนำเข้ามาได้ไม่จำกัดมูลค่าและ ผู้เดินทางผ่านหรือผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักรชั่วระยะเวลาที่กำหนด ในตั๋วเดินทางผ่านหรือตั๋วเดินทางไปกลับก็สามารถนำเงินตราต่างประเทศ ติดตัวเข้ามาในประเทศไทยไม่จำกัดมูลค่าเช่นกัน

3 หากผู้โดยสารต้องการนำเงินตราไทยออกนอกราชอาณาจักรมูลค่าเกินกว่า ที่กฎหมายกำหนด ต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย และ นำหลักฐานการได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธต.5) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศในขณะเดินทางออกนอกประเทศ

4. การสำแดงกระเป๋าและสัมภาระในการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
1. ผู้โดยสารต้องกรอกรายการในแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร (แบบ 211) และยื่นแบบฟอร์มดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะนำกระเป๋า สัมภาระผ่านเจ้าหน้าที่ศุลกากร

2. ผู้ไม่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัดให้ยื่นแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสารแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร ในช่องเขียวซึ่งมีป้ายเขียนไว้ว่า"ไม่มีของสำแดง"

3. ผู้ที่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือไม่แน่ใจว่าของที่นำเข้ามานั้น ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่ ให้ยื่นแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสารแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่องแดง ซึ่งมีป้ายเขียนไว้ว่า "มีของต้องสำแดง"

5. การชำระอากรปากระวาง
ของทุกชนิดที่นำเข้ามาในประเทศไทยต้องชำระค่าภาษีอากรและปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับการชำระอากรปากระวางสำหรับ ของติดตัวผู้โดยสารมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
-เป็นของที่นำเข้ามาใช้เอง และมีจำนวนเห็นได้ชัดว่ามิใช่เพื่อการค้า
-ของมูลค่าไม่เกิน 80,000 บาท
-ผู้โดยสารสามารถชำระค่าภาษีอากรได้เป็นเงินสด ณ วันนำเข้า

กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งของทั้งหมด ไปปฏิบัติพิธีการศุลกากรที่งานของติดตัวผู้โดยสารฝ่ายตรวจสินค้า ขาเข้าที่ 1 ส่วนการนำเข้า โดยผู้โดยสารจะได้รับใบส่งของ (แบบ 466) ไว้เป็นหลักฐาน

6. การยกเว้นภาษีอากรขาเข้าของติดตัวผู้โดยสาร ของดังต่อไปนี้ที่ผู้โดยสารนำติดตัวเข้ามาจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
-บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือซิการ์และยาเส้น น้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม
-สุรา 1 ลิตร
-ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพและ จำนวนพอสมควรแก่ฐานะและมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท และไม่มีลักษณะเป็นการค้า เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง เครื่องประดับ รองเท้า นาฬิกา แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น ทั้งนี้ผู้โดยสารต้องมี เอกสารใบเสร็จรับเงินมาแสดงเป็นหลักฐานประกอบด้วย หากไม่มีเอกสารใบเสร็จรับเงิน เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้ หลักฐานอื่นประกอบ
-ของใช้ในบ้านเรือนเก่าใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเนื่องจาก การย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ

7. การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
ผู้โดยสารที่นำสัตว์เลี้ยงติดตัวเข้ามาพร้อมกับตนโดยไม่มีลักษณะทางการค้า หรือนำสุนัขและแมวเข้ามาในราชอาณาจักร ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพและภูมิภาค ทั้งแบบที่ไม่นำติดตัวเข้ามา (UNACCOMPANIED BAGGAGE) แต่นำเข้ามาในระวางบรรทุก (CARGO FREIGHT) และแบบนำติดตัวเข้ามา (ACCOMPANIED BAGGAGE) มีข้อแนะนำในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ดังนี้

7.1 เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102)

(2) หนังสือเดินทาง (PASSPORT)

(3) ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (AIR WAYBILL)ในกรณีที่ยังไม่ได้รับต้นฉบับ AWB ให้ใช้เอกสารอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
-สำเนา AIR WAYBILL ฉบับผู้โดยสาร หรือ
-สำเนา AIR WAYBILL ฉบับที่บริษัทตัวแทนสายการบินรับรอง หรือ
-สำเนา AIR WAYBILL ฉบับ SHIPPER หรือ
-HEALTH CERTIFICATE หรือ
-PEDIGREE หรือ
-ใบเสร็จค่าระวางบรรทุก หรือ
-หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงความเป็นเจ้าของ

(4) ใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร (ร.6) และ/หรือใบอนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร(ร.7) ในกรณีที่ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศด่านศุลกากรทางอากาศกองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์ ได้ออกเฉพาะใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร (ร.6) เท่านั้น กรมศุลกากรจะตรวจปล่อยและส่งมอบสัตว์มีชีวิตให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำด่าน กักกันสัตว์ระหว่างประเทศ

(5) คำร้องขอยกเว้นอากร (กรณีนำเข้าชั่วคราว)

(6) สัญญาประกันทัณฑ์บน (กรณีนำเข้าชั่วคราว)

7.2 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) ผู้โดยสารหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องยื่นต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102) และเอกสารประกอบตามข้อ 11.1 พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุดต่อฝ่ายตรวจสินค้าขาเข้าของสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานที่นำเข้า

(2) กรณีการนำเข้าชั่วคราว กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเอกสารเสนอขอยกเว้นอากร ตรวจสอบการคำนวณราคาของ และค่าภาษีอากรเพื่อวางประกันและทำสัญญาประกันทัณฑ์บนไว้หากถูกต้อง จะออกเลขที่ยกเว้นอากรและสั่งการตรวจ หลังจากนั้นจะมอบเอกสารทั้งหมดคืนให้ผู้นำเข้า

(3) กรณีการนำเข้าถาวร กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเอกสาร การคำนวณราคาของ หากถูกต้องจะออกเลขที่ใบขนสินค้า และมอบเอกสารทั้งหมดคืนให้ผู้นำเข้าเพื่อนำไปชำระภาษีอากรที่ฝ่ายบัญชีและอากร

(4) ผู้นำของเข้านำใบขนสินค้าฯ พร้อมเอกสารและหลักฐานการชำระอากร หลักฐานการชำระประกันค่าภาษี (แล้วแต่กรณี) ไปแสดงที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อขอรับของออกจากอารักขาศุลกากร

(5) กรณีการนำเข้าชั่วคราว เมื่อกรมศุลกากรทำการการตรวจปล่อยเรียบร้อยแล้วจะมอบสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า พิเศษและสำเนาสัญญาประกันทัณฑ์บนแก่ผู้โดยสารหรือตัวแทน เพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานประกอบการส่งออก

7.3 ข้อควรทราบในการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิตชั่วคราว ผู้โดยสารหรือตัวแทนต้องทำสัญญาประกันและทัณฑ์บนกับกรมศุลกากรว่าจะส่งออกไปภายใน 6 เดือนนับแต่วันนำของเข้าตามแบบที่กำหนดโดยให้ระบุด่านศุลกากร ที่จะส่งกลับออกไปและใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือบุคคลที่เชื่อถือได้

(2) การไม่นำสัตว์ที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราวกลับออกไป ผู้นำของเข้าต้องชดใช้เงินตามสัญญาประกันที่ให้ไว้ และอาจถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากร และ/หรือ หลีกเลี่ยงข้อกำกัดของกฎหมายอันมีโทษปรับ หรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับตามกฎหมายศุลกากรอีกด้วย

8. การลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผู้โดยสารที่นำของต้องชำระค่าภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัดเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่สำแดงหรือสำแดงไม่ถูกต้อง จะได้รับโทษตามกฎหมายศุลกากร ดังนี้

1 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาขณะอยู่ในช่องเขียว (Green Channel) จะถูกปรับ 1 เท่าของราคาของบวกค่าภาษีอากรกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย (ถ้ามี) และผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน

2 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาภายหลังผ่านพ้นช่องเขียว (Green Channel) และขณะที่ นำของผ่านออกไปนั้นมิได้เข้ามาในลักษณะซุกซ่อนเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจพบผู้ต้องหาจะถูกปรับ 2 เท่าของของราคาของบวกค่าภาษีอากรกับอีก 1เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีสรรพสามิตภาษีเพื่อมหาดไทย(ถ้ามี)แล ะผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดินในกรณีที่นำเข้ามาในลักษณะซุกซ่อนให้ปรับ 4 เท่าของของราคาของบวกค่าภาษีอากรและผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน

3 ในกรณีของที่ลักลอบนำเข้ามาเป็นของที่ไม่ต้องชำระอากรศุลกากร ไม่ว่าจะตรวจพบในช่องเขียว (Green Channel) หรือผ่านพ้นช่องเขียวไปแล้วก็ตาม ถือเป็นของซึ่งมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน

9. ของต้องห้าม
หมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะ มีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า-ส่งออก มีดังนี้

1 วัตถุลามก การนำเข้าและส่งออกวัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆ

2 สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ

3 ยาเสพติดให้โทษ

4 เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลง เหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม

5 สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

6 สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า

10. ของต้องกำกัด
หมายถึงสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ กระทรวงพาณิชย์ จัดระเบียบเพื่อควบคุมการนำเข้าหรือส่งออก มีดังนี้

1 เงินตราไทยและเงินตราต่างประเทศ
2 พันธุ์ยางและยางธรรมชาติ
3 ยาสูบ รวมถึงต้นยาสูบและใบยาเส้น
4 สัตว์และซากสัตว์
5 เครื่องวิทยุคมนาคม และส่วนแห่งเครื่องวิทยุคมนาคม
6 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
7 วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
8 ยา เชื้อโรค และพิษจากสัตว์
9 สุรา
10 สินค้าประเภทอาหารที่มีความหวานเจือปน
11 เครื่องชั่ง ตวง วัด


กรมศุลกากรมีหน้าที่ป้องกันการนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านสินค้าต้องห้าม ส่วนสินค้าต้องกำกัด กรมศุลกากรมีหน้าที่ต้องตรวจสอบว่า การนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านแดนได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ครบถ้วนหรือไม่ สำหรับบัญชีรายชื่อสินค้าต้องห้ามต้องกำกัด สามารถตรวจสอบได้จาก กระทรวงพาณิชย์

เครื่องแต่งกาย
ศาสนสถานในพม่าทุกแห่ง ห้ามสวมกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้นเข้าไป สุภาพสตรีสวมกางเกงขายาวได้ บางแห่งจะมีบริการเช่าผ้าถุงหรือโสร่ง สวมทับกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น รวมทั้งยังต้องถอดหมวก ถอดแว่นดำก่อนที่จะเข้าไปด้วย

รองเท้า
ทุกคนต้องถอดรองเท้าทุกชนิดก่อนเข้าเขตศาสนสถาน ตั้งแต่รั้วด้านนอก ถุงเท้า ถุงน่องก็ห้ามใส่เข้าไป ต้องเดินเท้าเปล่า และเป็นธรรมเนียมที่เคร่งครัดมากแต่สมัยโบราณ หากฝ่าฝืนชาวพม่าจะเข้ามาตักเตือนด้วยความไม่พอใจครับ

การถ่ายรูป วีดีโอ
บางแห่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียม บางแห่งห้ามถ่าย เช่น พิพิธภัณฑ์ย่างกุ้ง ต้องฝากกล้องเอาไว้กับเจ้าหน้าที่ก่อนจะเข้าไป

ศาสนสถาน
บางแห่งอาจห้ามสุภาพสตรีเข้าไปในเขตหวงห้าม เช่น ห้ามขึ้นไปปิดทองที่องค์พระมหามุนี มัณฑะเลย์ หรือที่องค์พระธาตุอินทร์แขวน(ไจก์ทิโย) หรือที่เขตห้ามเข้าองค์พระมหาเจดีย์ชเวดากองและองค์พระเจดีย์ชเวซิกอง

เงินสด
โดยทั่วไปจะไม่รับเงินบาทไทย ให้แลกกับไกด์ท้องถิ่นหรือบริษัททัวร์ได้ และถ้าแลกกับธนาคารจะได้อัตราทางการ แพงกว่าที่แลกกับบริษัททัวร์ หรือร้านค้าใหญ่มากหลายเท่าตัว ข้อควรระวัง อย่าแลกเงินกับชาวบ้านที่เข้ามาขอแลก เพราะอาจจะได้รับเงินปลอม เงินที่ยกเลิกไปแล้ว และถูกตำรวจจับอีก

เครื่องประดับ
ของมีค่าต่างๆควรติดตัวไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพราะจะเกิดความยุ่งยาก ในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเวลาเข้าเมือง และต้องแสดงว่าอยู่ครบเวลาจะเดินทางกลับจากพม่า หากอยู่ไม่ครบต้องเสียภาษีทันที เพราะศุลกากรพม่าจะถือว่านำไปขายต่อให้กับคนพม่านอกจากนี้ยังเป็นภาระในการดูแลรักษา ล่อตาล่อใจมิจฉาชีพอีกด้วย

ยารักษาโรค
ควรนำไปให้พร้อมและเพียงพอตามระยะเวลาเดินทาง เพราะในพม่า การแพทย์ สุขอนามัย และยารักษาโรค ยังขาดแคลนและไม่ทันสมัยในกรุงย่างกุ้งมีสถานพยาบาลที่ทันสมัยไม่กี่แห่ง และเหมาะเพียงการรักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น ผู้เดินทางไปพม่าควรเตรียมยา เช่น ยาแก้ไข้หวัด ยาแก้ท้องเสีย และยาประจำตัวไปด้วย และควรเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด

วัตถุโบราณ (Antique)
บางประเภทเป็นสิ่งต้องห้ามจำหน่ายและนำออกนอกประเทศ ควรตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อ และถ้าซื้อต้องมีใบเสร็จและใบอนุญาตนำออกอย่างถูกต้องจากทางร้านค้า รวมทั้งสินค้าอัญมณีบางชนิดด้วย หากไม่แน่ใจ ไม่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญควรงดเว้นการซื้อ

ระบบการจราจร
ในพม่ากำหนดให้ขับรถชิดเลนขวาตรงข้ามกับไทย เพราะฉะนั้นเวลาข้ามถนนต้องดูให้ดีและรอบคอบ

หญิงบริการ
พม่าเป็นประเทศสังคมนิยมปกครองโดยรัฐบาลทหาร ทั้งยังมั่งคั่งไปด้วยศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของชาวบ้านผู้รักสงบและสันโดษ จึงเป็นการไม่เหมาะที่จะถามหาหญิงบริการ เพราะกฎหมายพม่ารุนแรงจับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

ข้อแนะนำพิเศษ:
ทางการพม่าได้กำหนดไว้ว่าห้ามชาวต่างชาติเดินทางไปยังบางเมืองหรือบางพื้นที่ หากนักท่องเที่ยวประสงค์ที่จะเดินทางไปเมืองที่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวของพม่า ควรเช็คข้อมูลให้ดีก่อน

ภายในกรุงย่างกุ้ง มีทั้งรถประจำทางและรถแท็กซี่ไว้คอยบริการ อย่างไรก็ตามคนขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ และราคาจะขึ้นอยู่กับการต่อรองกับคนขับรถเนื่องจากรถแท็กซี่ไม่มีมิเตอร์

ความเป็นอยู่ในพม่า มีความสะดวกเฉพาะอยู่ในกรุงย่างกุ้งและเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้นในกรุงย่างกุ้งมีโรงแรมชั้นดีได้มาตรฐานหลายแห่ง สำหรับผู้ที่จะไปอยู่เพื่อทำงานหรือประกอบธุรกิจมีที่พักให้เลือกทั้งบ้านเช่า หรือ Serviced apartment การอยู่อพาร์ทเมนท์มีข้อดีในแง่ที่ผู้เช่าไม่ต้องกังวลปัญหาไฟฟ้าและน้ำประปา แต่ค่าเช่าค่อนข้างสูง ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคในกรุงย่างกุ้งหาซื้อได้ทั่วไป โดยมีสินค้าที่นำเข้าจากไทยหลายอย่างและในกรุงย่างกุ้งมีร้านอาหารไทยหลายร้าน

การเตรียมของใช้ส่วนตัว
1. ประเภทเครื่องนุ่มห่ม ก้อ เช่นเสื้อ กางเกง ชุดชั้นใน เสื้อกันหนาว เสื้อกันฝน(เฉพาะฤดู) ผ้าเช็ดตัว หมวกถ้าหนาวมากก้อหมวกไอ้โม่ง ถุงเท้า รองเท้าเดินป่า รองเท้าแตะ โดยเฉพาะเสื้อกางเกงและชุดชั้นใน

นอกจากจะเตรียมไว้ครบจำนวนวันแล้ว ให้เตรียมเผื่อไว้สัก 1-2 ชุด (เผื่อเพื่อนที่มันมักง่ายไม่ค่อยจะพกพาไป คอยหายืมเอากับเพื่อนๆที่นิสัยดีดีอย่างพวกเรา ส่วนใหญ่ใครให้ไปก้อมักจะไม่ได้คืนด้วยนะ มักจะทำเป็นหวังดีเอากลับไปซักให้หรือไม่ก้อทำเป็นซึมๆใส่กลับไปเลย) เครื่องนุ่มห่มแต่ละชิ้นควรกระชับตัว ไม่รุ่มร่าม เพื่อความคล่องตัวในการเดินทางท่องเที่ยว

2. พวกเครื่องนอน เช่นเต็นท์ (กรณีไม่ได้พักบ้านหรือโรงแรม ก็จะได้บรรยากาศชีวิตกลางแจ้ง แต่อุทยานฯ ส่วนใหญ่จะมีไว้บริการให้เช่า) หมอน ผ้าห่ม หรือถุงนอน ผ้าสำหรับปูนอน หรือแผ่นยางปูนอน กรณีที่นำรถยนต์ไปอยู่แล้วควรเตรียมไปเผื่อให้เพียงพอ ของเหล่านี้ไม่หนักรถ หากเตรียมไปไม่พอจะเกิดปัญหาและเที่ยวไม่สนุก

3. ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำคัญนะ ยาใส่แผลสด แนะนำให้ใช้เบตาดีน จะไม่แสบเมื่อใส่แผลสด ยาปวดลดไข้ จำพวกพาราเซตตามอล ยาแก้แพ้ จำพวกคอลเฟนนิรามีน ยาแก้ท้องเสีย Lexinor ยาธาตุ ยาลดกรด ยาทาแก้-ลดพิษหรือผดผื่นคัน ยานวดแก้เมื่อย หรือกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้ออักเสบ ยาหม่อง แอมโมเนีย สำลี ผ้าพันแผล พลาสเตอร์ปิดแผล สำลีพันก้าน และยาประจำตัว

ชุดยาต่าง ๆ ควรมีกล่องใส่เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ โดยจัดลงในกล่องอุปกรณ์เบ็ดตกปลาก็ได้ เพราะมีช่องแบ่งไว้ซึ่งจะอยู่เป็นระเบียบ และง่ายต่อการตรวจว่าสิ่งไหนขาดหาย ถ้าจะให้ดี ควรจะหาเพื่อนเป็นพยาบาลแล้วซะเลย

4. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ขันน้ำ ถังน้ำ แก้วน้ำ กระติกน้ำ ไฟแช็ก เทียนไข ดินสอ เข็มเย็บผ้า เข็มกลัดซ่อนปลาย ถุงพลาสติก เชือก มีดอเนกประสงค์ ช้อน จาน ชาม หม้อ เตาแก๊ส(กรณีประกอบอาหารเอง) ที่เปิดกระป๋อง ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย(ควรตรวจสอบขนาดที่ใช้ให้ตรงกับไฟฉายที่นำไปด้วย) กระดาษชำระ ยากันยุงแบบทาและตะเกียง ฯลฯ

การเตรียมตัวท่องเที่ยวโดยรถยนต์โดยส่วนใหญ่สามารถนำข้าวของติดไปได้เยอะ แต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่าน้ำหนักรวมของรถมีผลกับค่าใช้จ่ายน้ำมันในการเดินทางด้วยนะครับ น้ำหนักน้อยกินน้ำมันน้อย น้ำหนักมากินน้ำมันมาก

สิ่งของบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้หรือต้องเผื่อ ก็ควรเก็บไว้ที่บ้าน และในการนำสัมภาระไปหลายๆรายการนั้น ขอแนะนำให้จัดทำบัญชีรายการสิ่งของเพื่อการสะดวก ในการตรวจสอบว่าของครบหรือไม่ทั้งขาไปและขากลับ

การเตรียมยานพาหนะสำหรับเดินทาง
รถยนต์ใช้สำหรับเดินทางนั้นจำเป็นต้องตรวจสอบให้เป็นพิเศษ นอกเหนือจากการตรวจสอบ ประจำวัน เพราะถ้ารถยนต์ของคุณเกิดเสีย หรือมีปัญหาระหว่างทางแล้ว การเดินทางครั้งนั้นจะหมดสนุกอย่างน่าเสียดาย การตรวจและเตรียมยานพาหนะ ทำตามนี้ละกัน ช่วยได้ไม่มากก็น้อย

1. ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่อง ให้อยู่ในระดับขีดสูงสุด เปลี่ยนน้ำมันเครื่องถ้าหมดอายุการใช้งาน หรือจำนวนระยะการเดินทาง ถ้าเกินจากระยะเปลี่ยนน้ำมันมาก ๆ ให้เปลี่ยนก่อนอย่าเสียดาย

2. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค น้ำมันคลัส น้ำมันสำหรับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ น้ำหล่อเย็นทั้งหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ และน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ ถ้ามีระดับลงลงจากระดับปกติ ให้เติมถึงขีดสูงสุด

3. ตรวจดูสภาพยางทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่ ถ้ามีบาดแผลใหญ่ ๆ หรือหมดอายุให้เปลี่ยน ตรวจระดับแรงลมยาง ให้อยู่ในค่ากำหนดของขนาดยางที่ใช้ (สังเกตที่ขอบประตูด้านคนขับจำมีคำชี้แจงติดอยู่)

4. ตรวจดูไฟทุกดวงว่าทำงานหรือไม่ ที่ปัดน้ำฝน ยางที่ปัดน้ำฝนควรเปลี่ยนเมื่อปาดน้ำฝน ในกระจกไม่หมด

5. ตรวจดูมาตรวัดต่าง ๆ เข็มไมล์และไฟเตือนทุกดวงบนหน้าปัด ว่าแสดงอยู่ที่ การใช้งานปกติ

6. ดูอุปกรณ์แม่แรง และเครื่องมือประจำรถให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะแม่แรงต้องดูให้ดี ว่าสามารถรับน้ำหนักรถของคุณได้แน่ ถ้ายังไม่เคยใช้ทดลองซะเลย จะได้ไม่ฉุกละหุกจนทำอะไรไม่ถูก

7. ควรมีสายไฟสำหรับพ่วงแบตเตอรี่ สลิงค์ลากรถ และสปอตไลท์ติดรถยนต์

8. ตรวจสอบรอยรั่วซึมใต้ท้องรถยนต์ สังเกตุได้จาก เวลาที่เราจอดนาน มีอะไรหยดลงมาจากตัวรถมั๊ย อาจจะเป็นน้ำมันหรือน้ำจากแอร์ ถ้าไม่แน่ใจหรือว่าแน่ใจแล้ว ให้แก้ไขหรือถ้าไม่ไหว ยากไปก็ส่งซ่อมทันที อย่ามองข้ามความปลอดภัย

9. ตรวจดูน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็ม และควรจะเติมให้เต็มในกรณีที่เข้าเส้นทางที่ไม่รู้จัก หรือเส้นทางที่เปลี่ยว หากมีถังน้ำมันสำรองก็ควรเติมให้เต็มเช่นกัน ถ้าให้ดี ตรวจสอบด้วยว่า ช่วงหลักกิโลเมตรไหน มีปั๊ม ไม่มีปั๊ม โดยดูจากในแผนที่หรือสอบถามผู้ที่เคยใช้เส้นทาง

10. ศึกษาแผนที่การเดินทางของคุณ จะได้ไม่เสียเวลาไปผิดเส้นทางและเพื่อจะกำหนดเวลาสถานที่แวะพักทั้งรถและคน ในกรณีที่เดินทางไกลมากๆ ส่วนใหญ่จะแวะปั๊มน้ำมัน เพราะมีบริการที่เราต้องการอย่างครบถ้วน (ปัจจุบันมีทราบมาว่ามีร้านทำผม

ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว
พม่ามีศูนย์ที่ให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอยู่หลายที่ด้วยกัน ดังนี้

สำนักงานใหญ่ Tourist Information
77 - 91 Sule Pagoda Rd; Yangon
โทร. 95 – 1 – 252859

สาขาย่อยพุกาม
โทร. 95 – 0 – 6270217

สาขาย่อยมัณฑะเลย์
โทร. 95 – 2 – 22540

สาขาย่อยตองยี
โทร. 95 – 081 - 21611, 95 - 081 – 21302

ตลอดจนศูนย์ฯ ที่ให้บริการตามช่องทางเข้าประเทศต่าง ๆ ได้แก่ เมืองเกาะสอง (Kauthaung) เมืองท่าขี้เหล็ก (Tachilek) เมืองมูเซ (Muse) และภายในสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง

แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา เมียนมาร์ หน้า 39 – 40 . หน้า 67 – 69

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1108 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์