รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

1 คำแนะนำการเดินทาง เนปาล

ธงชาติ เนปาล

tour-instruction-nepal


ราชอาณาจักรเนปาล (Kingdom of Nepal) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียกับทิเบตในหุบเขาทางด้านใต้ของเทือกเขาหิมาลัย มีขนาดเพียง 147,181 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดในประเทศไทย และเป็นเพียง 1 ใน 15 ประเทศทั่วโลกที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีกรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองภูมิศาสตร์ของประเทศเนปาล เป็นพื้นที่ที่อยู่บนภูเขาสูงเหนือระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 60 เมตร จนถึงจุดสูงสุดของโลก คือยอดเขาเอเวอร์เรสต์ มีความสูงถึง 8,848 เมตร และยังมีภูมิอากาศที่ผันแปร แตกต่างกันไป ตั้งแต่ภูมิอากาศแบบเขตร้อน
และแบบอาร์กติก มีป่าเมืองร้อนที่อุดมไปด้วย สัตว์ป่ามากมาย แม่น้ำที่เชี่ยวกราก รวมถึงหุบเขาที่ หนาวเย็นเป็นน้ำแข็ง นอกจากนี้ประเทศเนปาล เป็นประเทศที่มีความแตกต่างกัน ทางด้านวัฒนธรรม และมีภาษาที่หลากหลายกว่า 70 ภาษา เนปาลในปัจจุบันเกิดขึ้นเมื่อปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวี นารายัณ ชาห์ ซึ่งครองรัฐเล็กๆ ในหุบเขากุรข่า (Gurkha) เกลี้ยกล่อมเผ่าต่างๆ ได้สำเร็จ และสร้างกองทัพใหญ่ยึดเมืองกาฐมาณฑุ แล้วขยายอำนาจถึงชายแดนทิเบตและอินเดีย ระหว่างปี 2353 – 2359 มีสงครามระหว่างกุรข่ากับอังกฤษในอินเดีย แต่ลงท้ายโดยดีด้วยข้อตกลงที่อังกฤษยอมรับเนปาลเป็นประเทศเอกราช และขอทหาร “กรุข่า” (Gurkhas) เป็นทหารอาสาในกองทัพอังกฤษ ซึ่งยังปฏิบัติกันจนถึงทุกวันนี้ 

tour-instruction-nepal tour-instruction-nepal

tour-visa การขอวีซ่า จากสถานเอกอัครราชทูตเนปาลประจำประเทศไทย หรืออาจไปขอวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวได้ที่สนามบินตรีภูวัน กรุงกาฐมาณฑุ (Visa upon Arrival) โดยเสียค่าธรรมเนียม 30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อครั้ง ซึ่งจะสามารถอยู่ในเนปาลได้เป็นเวลา 60 วันและเสียค่าธรรมเนียม 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหลายครั้ง (Multiple Entries) มีอายุการใช้งานของวีซ่าคือ ภายใน 150 วัน สำหรับวีซ่าปี (visa year) หากจะขอต่ออายุวีซ่าหรือสอบถามเรื่องการขอวีซ่าประเภทไปทำธุรกิจ ติดต่อที่กรมตรวจคนเข้าเมืองเนปาล โทร.(977-1) 4223590,422-2453,422-3681 หรือสอบถามได้ที่ e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และเว็บไซต์กรมฯ คือ http://www.immi.gov.np ทั้งนี้ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ได้มีความตกลงระหว่างไทย-เนปาล ไม่ต้องขอวีซ่าเข้า

tour-trip การเดินทาง ในเมืองและระหว่างเมือง สามารถเรียกใช้บริการรถแท็กซี่มิเตอร์ได้อย่างง่ายดาย เพียงสังเกตป้ายแท็กซี่และป้ายทะเบียนสีดำของรถ และยังมีรถเร็วมิเตอร์(สกู๊ตเตอร์ 3 ล้อ) ที่มีราคาถูกกว่ารถแท็กซี่อีกด้วยทั้งนี้ไม่ต้องให้ทิปในการใช้บริการ นอกจากนี้ที่เมืองทั้งสามของหุบเขากาฐมานฑุก็มีบริการรถประจำทาง ท่ารถนั้นจะอยู่ที่คอนคาพู ซึ่งเป็นท่ารถใหม่และพาคบาซาร์ซึ่งเป็นท่ารถเก่า มีบริการรถโดยสารออกเดินทางไปสู่สถานที่อื่นนอกเหนือจากภายในหุบเขาโดยสามารถขึ้นรถได้ที่ท่ารถคอนพู นอกจากนี้ก็ยังมีบริการเช่ารถจักยานเสือภูเขาหรือรถจักรยานยนต์ได้ในราคาย่อมเยา โดยในกรุงกาฐมาณฑุนั้นมีบริการรถยนต์ รถจิ๊ป รถโดยสารขนาดเล็ก และยานยนต์อื่นๆ เพื่อให้เช่าอีกด้วย

tour-weather ภูมิอากาศ ภูมิอากาศ ของ เนปาล มี 4 ฤดูคือ
1.ฤดูใบไม้ผลิต จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
2.ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
3.ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
4.ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศจะเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา

tour-instruction-nepal tour-instruction-nepal

ธงชาติเนปาล

tour-instruction-nepal

tour-currencyไฟฟ้า:กระแสไฟที่ใช้คือ 220 โวลท์ เป็นปลั๊กชนิด 3 ขา เวลา: ของ เนปาล จะช้ากว่าที่เมืองไทย 1 ชั่วโมง 15 นาที เวลาทำงานและประกอบกิจการ สำนักงานส่วนใหญ่จะเปิดทุกวัน ยกเว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์ - วันพฤหัสเวลาทำการคือ 10.00-17.00 น. วันศุกร์ เวลาทำการคือ 10.00-14.00 น. ร้านค้าทั่วไปจะเปิดร้านประมาณ 9.00-20.00 น. มีร้านค้าจำนวนมากที่จะปิดในช่วงวันเสาร์

tour-value-money เงินตรา:รูปีเนปาล Nrs 65.10 มีค่าราว US$ 1.00

tour-language ภาษา:(เนปาลี) ชนเผ่าต่างเชื้อชาติใช้ภาษาของตนเป็นภาษาท้องถิ่น แต่ “เนปาลี” ซึ้งเป็นภาษาธรรมชาติที่มีการประดิษฐ์ขึ้นในแบบตัวอักษรเทวนาครี ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ในเนปาล โดยมีรากฐานมาจากอินเดียทางเหนือ นอกจากนี้ผู้ที่มีการศึกษาสามารถพูดเข้าใจในภาษาอังกฤษได้ดี ภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดในประเทศเนปาล ประเทศอินเดีย ประเทศภูฏาน และบางส่วนของประเทศพม่า เป็นภาษาราชการของประเทศเนปาล ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของเนปาลพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ และชาวเนปาลอื่น ๆ หลายคนพูดเป็นภาษาที่สอง ชื่อของภาษาเนปาลในภาษาเนปาลคือ คาสกุรา (Khaskura) ชื่ออื่น ๆของภาษานี้มีมากมาย คนที่พูดภาษาอังกฤษเรียกว่า เนปาลี (Nepali) หรือ เนปาลีส (Nepalese) นอกจากนี้ คาสกุรา มีชื่ออื่น เช่น กอร์คาลี (Gorkhali) หรือ กูร์คาลี (Gurkhali) แปลว่าภาษาของชาวกุรข่า และพาร์ตาบิยา (Parbatiya) แปลว่าภาษาของภูเขาภาษาเนปาลมีวรรณกรรมขนาดเล็กในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมถึง "อัธยาตมะ รามายณะ" (Adhyatma Ramayana) ประพันธ์โดย สุนทรานันทะ พร (Sundarananda Bara) (1833) ซึ่งเป็นการรวมนิทานพื้นเมืองที่ไม่ปรากฏผู้แต่ง และรามายณะ โดย ภานุภักตะ (Bhanubhakta) นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลจากภาษาสันสกฤต รวมถึงไบเบิลด้วย

ศาสนา ฮินดู 90% พุทธ 8% อิสลาม 2% แต่เชื่อว่า จำนวนชาวพุทธน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 25% ฮินดูและพุทธ มีส่วน เกี่ยวข้องคล้ายกัน ทำให้ยากแก่การจำแนกให้ชัดเจน

tour-tourist-attractions สถานที่ท่องเที่ยว
หุบเขากาฐมาณฑุ
กรุงกาฐมาณฑุ
ธาเมล
ติปาถ
เฮ้าส์
วัดมัจเฉนทรนาถ
วัดสเวตา
วัดอากาศ ไภราพ
พระราชวังหนุมานโธ
สันตะปุร์
หนุมานโธกา
จัตุรัสกาฐมาณฑุ ดูบาร์
พิพิธภัณฑ์ตริภูวัน
วัดกุมารี หรือกุมารี ฆระ
วัดตะเลชุ
อโศกวินายัก
ขัยคิ เทวัล
ตุนทิเขล
วัดจันทร์ วินายัก
สิงหะ ดูร์บาร์
หอสมุดไกเชอร์
สวนน้ำพาลาซุ
สถูปสวะยัมภูนาถ หรือวัดลิง
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ
วัดปศุปฏินาถ

tour-instruction-nepal tour-instruction-nepal

tour-instruction-nepal tour-instruction-nepal

tour-festival เทศกาลต่างๆในเนปาล
นววรรษา
จัดขึ้นราวเดือนเมษายน เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวเนปาล มักตรงกับสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน ซึ่งเป็นวันแรกของงานไพสัข ปูรณิมาวันนี้ถือเป็นวันหยุดแห่งชาติ ผู้คนจะทำพิธีฉลองกันอย่างเอิกเกริกและการแสดงที่ยิ่งใหญ่ ในเทศกาลยังมีการทำพิธีพิสเกต ยาตรา ในเมืองภักตะปุร์อีกด้วย

ไพสัข ปูรณิมา หรือวันวิสาขบูชา
จัดขึ้นราวเดือนเมษายน ในฐานะที่ประเทศเนปาลเป็นสถานที่ประสูติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้คนต่างฉลองพิธีนี้ด้วยการแสดงความเคารพต่อพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้าตามสถานที่ต่างๆเช่น สวะยัมภูนาถ โพธินาถ และลุมพินี

มัจเฉนทรนาถแดง ราถ ยาตรา
จัดขึ้นราวเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน เป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเขตปะฏัน โดยจะมีการทำรถลากแห่งเทพที่รู้จักกันในชื่อว่า พุงเตียว หรือ มัจเฉนทรนาถแดงขึ้นที่ผลุฉอกวี แล้วจึงทำการลากรถคันนี้ผ่านเมืองปะฏันจนถึงลากานเขล สำหรับพิธีปิดอันยิ่งใหญ่ของเทศกาลนี้เรียกว่า “โภโต เทขวน” หรือการแสดงเสื้อกั๊ก โดยเทศกาลรถลากที่คล้ายกันนี้คือเทศกาลมัจเฉนทรนาถขาว จัดขึ้นที่กรุงกาฐมาณฑุ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

ทุมชี
เทศกาลนี้มีการฉลองกันตามถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวเชอร์ปาในเดือนกรกฎาคม โดยชาวเชอร์ปาที่อยู่ในเขตกาฐมาณฑุและที่เหลัมพูนั้นจะเข้าร่วมฉลองการเต้นรำในวันนี้ด้วย

คยะ ยาตรา หรือเทศกาลวัว
จัดขึ้นราวเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม เป็นงานเฉลิมฉลองที่กินเวลาถึง 8 วัน โดยจุดเด่นของงานนี้คือการเต้นรำ การร้องเพลง การเล่นตลก และการละเล่นใดๆก็ตามที่สร้างความเบิกบานใจและเสียงหัวเราะได้

วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ คยาแนนทรา พีร์ พิกรม ชาห์ เทพ ในวันที่ 7 กรกฎาคม โดยมีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศ

กฤษณะสตามิ
จัดราวเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม เป็นวันประสูติของพระกฤษฎา ในวันนี้จะมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองที่วัดกฤษณะในเมืองปะฏันและที่ฉางคุ นารายัณ

อินทรา ยาตรา
จัดราวเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน เป็นงานเทศกาลของพระอินทร์ จะมีการจัดพิธีที่หุบเขากาฐมาณฑุเป็นเวลานาน 8 วัน โดยมีการนำรถลากแห่งกุมารี ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งการดำรงชีวิต เดินขบวนผ่านถนนสำคัญในกรุงกาฐมาณฑุ มีจุดเด่นที่เสียงกหลองอันกึกก้องและลีลาการตบเท้าของนักเต้นระบำหน้ากากในตอนเย็นของทุกๆวัน

วันรัฐธรรมนูญ
หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยแห่งราชอาณาจักรเนปาลขึ้นเมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2533 จึงถือเอาวันนี้เป็นวันรัฐธรรมนุญเนปาล

วิภาหะ ปัญจมี
จัดราวเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนธันวาคมเป็นเทศกาลอันมีชื่อเสียงของชนักปุร์ (ทางด้านตะวันออกเขตเตไร) พิธีเฉลิมฉลองจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงการแต่งงานของพระรามและนางสีดา ซึ่งเป็นเทพเจ้าฮินดูที่ผู้คนให้ความเคารพมากที่สุดคู่หนึ่ง เทศกาลนี้ดึงดูดนักแสวงบุญนับพันคนจากอินเดียให้มาวัดที่ชนักกี เมืองชนักปุร์

โลสาร์เทศกาลของชาวเชอร์ปา
ที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ มีการร้องเพลงพื้นบ้านและการเต้นรำ สามารถชมการเต้ารำนี้ได้ที่ขุมพู เหลัมพู และเมืองทางตอนเหนืออื่นๆของประเทศเนปาลและที่โพธินาถ กรุงกาฐมาณฑุอีกด้วย

ปฤถวีชยันติ
เทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ ปฤถวี นารายัณ ชาห์มหาราช กษัตริย์ผู้ก่อตั้งประเทศเนปาลยุคใหม่ มีการเฉลิมฉลองด้วยพิธีที่มีสีสันหน้าประตูสิงหะ ดูบาร์ในกรุงกาฐมาณฑุในวันที่ 10พฤษจิกายน หรือโปอุชที่ 27

วันประชาธิปไตยแห่งชาติ
มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ราสตริยา ประชาตันตระ ทิวา หรือ วันประชาธิปไตยแห่งชาติเพื่อรำลึกถึงการปฏิวัติของประชาชนในปีพ.ศ. 2493-2494 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ของปี

มหา ศิวะราตรี
จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เทศกาลศิวะราตรีหรือค่ำคืนแห่งพระศิวะนั้นมีขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม เป็นเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลองเพื่อแสดงความเคารพต่อพระศิวะที่วัดปศุปฏินาถ โดยมีการจัดพิธีทางด้านศาสนาผู้คนมากมายจากทั่วทั้งเนปาลและอินเดียมารวมตัวกันที่วัดเพื่อทำการกราบไหว้พระศิวะ

คนเนปาลส่วนใหญ่จิตใจดี และใจเย็นเช่นเดียวกับคนไทย ชาวเนปาลถือว่าการใช้เท้าเป็นเรื่องไม่สุภาพเช่นเดียวกับการใช้มือซ้าย การให้และรับของจากผู้อื่นจึงใช้มือขวา อย่างไรก็ดี ภาษากายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างคนไทยกับคนเนปาล ซึ่งสร้างความสับสนงุนงงให้แก่ผู้เพิ่งไปถึงใหม่ ๆ คือ " การส่ายหน้า " สำหรับคนไทย การส่ายหน้าหมายถึงการปฏิเสธ แต่สำหรับคนเนปาลการส่ายหน้าคล้ายการโคลงศีรษะเพียงรอบเดียว คือสัญญาณการตอบรับ การผูกมิตรกับชาวเนปาลนั้นไม่ยาก การพนมมือพร้อมกับกล่าวคำว่า " นมัสเต " มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า " สวัสดี " ของไทย

tour-instruction-nepal tour-instruction-nepal

tour-telephone-number หมายเลขโทรศัพท์ ของตำรวจท่องเที่ยว ณ จุดสำคัญ ที่ควรทราบ
Police Headquarter, Naxal
4412 780, 4411 549

Bhrikuti Mandap
4247 041, 4247 037

Thamel
4429 750

Basantapur
4268 969

TIA Tourist Information Center
4470 537ฃ

สำนักงาน บริษัท การบินไทยฯ เนปาล ที่ Durbar Marg
โทร. 4224 917

สำนักงานสายการบิน Royal Nepal Airlines ที่ New Road
โทร. 4220 757

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 718 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์