รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

แหล่งอุตสาหกรรมในจังหวัด นครพนม

tour-industry-sources-province-nakhon-phanom

แหล่งอุตสาหกรรมในจังหวัดนครพนม
แหล่งอุตสาหกรรมได้แก่ แหล่งผลิตวัตถุอาจเป็นวัตถุดิบหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันเพื่อส่งเป็นสินค้าแหล่งอุตสาหกรรม สมัยโบราณในจังหวัดนครพนม มีทั้งแหล่งผลิตภาชนะดินเผาแหล่งเกลือ

แหล่งเตาเผาโบราณลุ่มแม่น้ำสงครามพบกระจายอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำสงครามและบริเวณระหว่างห้วยน้ำยามและน้ำอูนซึ่งเป็นสาขาสำคัญของแม่น้ำสงครามในเขตบ้านท่าพันโฮงบ้านนาทมล้านหาดแพงบ้านศรีเวินชัย บ้านดงเจ้าจันทร์ บ้านข่าวัดศรีสงครามการสร้างเตาบริเวณลุ่มน้ำด้วยวิธีนี้นั้นเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการลำเลียงสินค้าทางน้ำดังนั้นจึงพบเตาลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก

บ้านท่าพันโฮง
ที่ตั้งบ้านท่าพันโฮงตำบลนาทมอำเภอนาทมจังหวัดนครพนม
หลักฐานพบแหลั่งเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผาจำนวน2กลุ่มคือ1.กลุ่มเตาบุ่งอีซา2. กลุ่มเตาหนองอ้อ(ใกล้กับหนองน้ำชื่อหนองอ้อ )ในบริเวณริมตลิ่งของลำน้ำสงครามซึ่งแนวลำน้ำช่วงที่ผ่านบ้านท่าพันโฮงนี้วางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ กลุ่มเตาบุ่งอีซาจะตั้วอยู่ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านกรืออยู่ทางด้านทิศเหนือของเตาหนืองอ้อส่วนกลุ่มเตาหนองอ้อจัอยู่ห่างลงมาทางตอนใต้อีกประมาณ1กิโลเมตรเตาทั้ง2กลุ่มนี้มีลักษณะเด่นตรงที่เป็นเตาขุดเข้าไปในตลิ่งแล้วใช้ดินจากริมฝั่งแม่น้ำมาทำเตาตัวเตาจะอยู่ตลิ่งโดยเฉลี่ยประมาณ4-7เมตรลักษณะเป็นเตาทรงประทุนรูปกลมรีปล่องเตาน่าจะอยู่ด้านบนพื้นเตาเอียงลาดตามความลาดเทของชายตลิ่งปากเตาหันลงสู่แม่น้ำสันนิษฐานว่ามีช่องใส่ไฟและคันกันไฟลดระดับตากส่วนที่วางภาชนะเตาที่พบโดยมากสภาพหลังคายุบตัวลงก่อนแล้วเนื่องจากโครงสร้างของเตาทำด้วยดินยึดเกาะตัวกันจึงไม่คงทนและมีการสร้างเตาใหม่ขึ้นซ้อนทับเตาเก่าที่พังทลายหรือใช้งานได้ไม่ดี

กลุ่มเตาบุ่งอีซา
พบซากเตาเพียง6เตาเรียงขนานกันในแนวทิศตะวันออก–ตะวันตกจากเตาที่ยังสภาพค่อนข้างดีจะพบว่าหลังคาเตาด้านบนเป็นทรงโค้งแบบประทุนเรือ มีแนวคันกันไฟ ส่วนบริเวณที่คาดว่าเป็นช่องใส่ฟืนจะมีก้อนศิลาแลงวางตั้งอยู่ขนาดของเตาโดยเฉลี่ยจะมีความกว้างประมาณ1.50-3เมตรยาว5-6เมตรผนังเตาหนาประมาณ10-15 เซนติเมตรเตาที่พบส่วนใหญ่จะมีสภาพชำรุดมากหลังคายุบตัวลงมาเกือบทั้งหมาดบริเวณเตาจะพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งกระจายอยู่จำนวนมากภาชนะที่ผลิตจากแหล่งเตาแห่งนี้ได้แก่

ภาชนะดินเผาสีเทาไม่เคลือบ ส่วนใหญ่เป็นไหปากแตรมีการตกแต่งด้วยการขุดเป็นเส้นขนานและทำเป็นลายเส้นนูนรอบภาชนะบริเวณไหล่

ภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เป็นไหปากแตร ลักษณะนั้นเคลือบจะหยดย้อยเป็นสาย และเศษภาชนะดินเผาบางชิ้นก็มีร่องรอยชองน้ำเคลือบที่หลุดร่อนออกไป และ

ภาชนะดินเผาเนื้อดินภาชนะจากกลุ่มเตานี้เนื้อดินค่อนข้างจะแกร่ง (Earthenware)ตกแต่งด้วยลายลูกคลื่นหรือเส้นขนานรอบไหบ่รูปทรงส่วนใหญ่เป็นภาชนะประเภทไหที่มีขนาดไม่ใหญ่นักยังพบเศษภาชนะดินเผาหลายชิ้นด้วยกันที่มีการตกแต่งด้วยการใช้น้ำเคลือบสีเขียวต่ำมาพบลวดลายบนภาชนะดินเผาประเภทนี้

กลุ่มเตาหนองอ้อ
เตามีลักษณะเดียวกับกลุ่มเตาบุ่งอีซาตาจะสร้างต่ำจากผิวดินด้านบนของตลิ่งลงมาประมาณ1-4เมตรางตัวขนานกันในแนวทิศตะวันออก–ตะวันตกขนาดเตากว้างประมาณ8-11เซนติเมตร มีครามน้ำเคลือบสีขาวอมเทาติดอยู่พบกี๋ลักษณะเป็นก้อนดินเผารูปลิ่มจำนวนหลายชิ้นภาชนะที่ผลิตจากกลุ่มเตานี้ ภาชนะดินเผาเนื้อดินสีแดง อาจจะเป็นทรงไหประเภทที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักมักจะตาแต่งด้วยลายเส้นนูนและลายขูดขีดเป็นลูกคลื่นซี่หวี ภาชนะเนื้อแกร่งใหญ่เป็นภาชนะประเภทไหปากแตรภาชนะเคลือบสีน้ำตาล มีส่วนผามของแร่เหล็ก ปะปนอยู่ค่อนข้างมาก น้ำเคลือบสีน้ำตาลทอง น้ำตาลเข้มรูปทรงไห

กลุ่มเตาบ้านานทม
ที่ตั้งบ้านนาทมอำเอนาทมจังหวีดนครพนม
หลักฐานพบทั้งริมฝั่งแม่น้ำสงครามและบริเวณที่อยู่เนอจากฝั่งแม่น้ำขึ้นไปประมาณ300เมตรลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่มีร่องรอยล่องเตาค่อนข้างสมบูรณ์2เตา

กลุ่มเตาบ้านหาดแพง
ที่ตั้งบ้านหาดแพงตำบลหาดแพงอำเภอศรีสงครามจังหวัดนครพนม
หลักฐานกลุ่มเตาบ้านหาดแพงอยู่ห่างจากกลุ่มเตาที่กล่าวมาทั้งหมดค่อนข้างมาก กลุ่มเตาที่พบอยู่ริมแม่น้ำสงครามในบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านที่เรียกว่าขุมข้าวพบเพียง2เตา

แหล่งเตาทั้งหมาดผลิตภาชนะทั้งประเภทเนื้อดินและเนื้อแกร่งซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กันในด้านรูปทรงภาชนะสีน้ำเคลือบละแม้กระทั่งลักษณะของเนื้อดินรูปแบบภาชนะที่พบมากก็คือภาชนะทรงไหที่มีขอบปากผายออกมากๆหรือที่เรียกว่าไหปากแตรปละไหน้ำหล่อส่วนรูปทรงอื่นๆที่พบนอกจากนี้เช่นถ้วยชามและครกเป็นต้นภาชนะเหล่านี้น่าจะเป็นสินค้าที่นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันแต่ก็ปรากฏว่ายังมีภาชนะอีกกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะเป็นไหเคลือบสีน้ำตาลจะใช้สำหรับบรรจุกกระดูกคนตายที่เผาแล้วด้วยโดยจะนำไปฝังไว้ตามบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งชุมชนในที่ต่าง ๆ หรือตามเนินดินต่าง ๆในย่านใกล้เคียงกับวัด

วัดศรีสงคราม
ที่ตั้งวัดศรีสงครามตำบลท่าบ่อสงครามอำเภอศรีสงครามจังกวัดนครพนม
หลักฐานเป็นเนินดินขนาดใหญ่ติดกับแม่น้ำสงครามพบเศษภาชนะดินเผาลักษณะเหมือนกับที่พบบริเวณแหล่งเตาคือมีทั้งแบบเนื้อดินและเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลภาบ่นะสีเทาเนื้อแกร่งและชนิดที่เคลือบนั้นมีเนื้อดินค่อนข้างหยาบเนื้อดินปั้นสีเทาหรือคล้ำน่าจะเป็นภาบ่นะประเภทชามไหปากแตรถ้วยและไหซึ่งไหบางชิ้นมีกรประดับด้วยหูหลอกเล็ก ๆ ส่วนลวดลายการตกแต่งที่พบได้แก่การใช้ซี่หวีขูดขีดเป็นรูปลายคลื่น ปละเส้นขนานรอบส่วนไหบ่

บ้านศรีเวินชัย
ที่ตั้งตำบลสามผงอำเภอศรีสงครามจังหวัดนครพนม
หลักฐานบ้านศรีเวินชัยเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่อยู่ติดแม่น้ำสงคราม เศษภาชนะดินเผาที่พบส่วนใหญ่มีเนื้อแกร่งสีเทาไม่เคลือบเนื้อละเอียดแต่ที่ด้านในของเศษภาชนะดินเผาบางชิ้นก็มีสีน้ำตาลแดงๆรูปทรงที่พบเช่นถ้วยขนาดใหญ่และไหปากแตร ลวดลายที่พบมักเป็นลายขูดขีดซี่หวีเป็นลูกคลื่นหรือเส้นขนาน

สำนักสงฆ์ดงเจ้าจันทร์
ที่ตั้งตำบลบ้านข่าอำเภอศรีสงครามจังหวัดนครพนม
หลักฐานสำนักสงฆ์แห่งนี้ตั้งอยู่บนตลิ่งไม่ห่างจากฝั่งแม่น้ำสงครามมากนักได้ขุดพบภาชนะที่สมบูรณ์เป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาในลุ่มแม่น้ำสงครามรูปทรงส่วนใหญ่เป็นไหปากแตรชนิดที่เคลือบและไม่เคลือบที่สำคัญคือภาชนะเนื้อแกร่งลวดลายพิเศษแตกต่างสัญลักษณ์บางอย่าง นอกจากนี้ยังพบภาบ่นะอีกกลุ่มหนึ่งที่มีตกแต่งด้วยลวดลายพิเศษแตกต่างไปจากภาชนะดินเผาที่พบจากแหล่งเตาป่งอื่นๆภาชนะกลุ่มนี้เป็นภาชนะเนื้อดินที่มีความแกร่งจนเกือบขั้น ลวดลายที่ตกแต่งบนภาชนะเหล่านี้ได้แก่ ลายกดประทับที่พบที่แหล่งเตาบ้านบางปูนจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย

อายุ แหล่งเตาในลุ่มแม่น้ำสงครามมีรูปลิตภัณธที่แสดงถึงความเกี่ยวพันกับชุมชนโบราณแห่งอื่นก็ทั้งภาคเหนือของประเทศไทยในลักษณะของเตาขุดเข้าไปในตลิ่งซึ่งเป็นเทคนิคของเตาเผารุ่นแรกๆทางล้านนาและศรีสัชนาลัย และอุปกรณ์การผลิตเช่น กี๋ก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับกกลุ่มเตาที่เวียงจันทน์การติดต่อและอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปมาหาสู่กันได้ก่อให้เกิดการสังสรรค์ทางวัฒนธรรมขึ้น การถ่ายทอดเทคนิควิธีการทำภาชนะดินเผาในลุ่มน้ำสงครามส่วนหนึ่งก็คงได้รับมาจากาการติดต่อกับสังคมภายนอกเหล่านี้ด้วย จากหลักฐานทั้งหมดข้างต้นจึงน่าจะกิหมดอายุของแหล่งเตาลุ่มน้ำสงครามได้ว่าน่าจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรรษที่20 ลงมาและอาจจะถึงพุทธศตวรรษที่23

แหล่งเกลือโบราณลุ่มแม่น้ำสงคราม
นครพนมเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ดินเค็มชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำสงครามบางส่วนได้ยึดอาชีพการทำเกลือมาแต่ดั้งเดิมแล้วการทำเกลือในสมัยโบราณที่ระดับเทคโนโลยียังไม่สูงนักจะไม่สามารถนำน้ำเค็มที่ยู่ลึกมากมาทำได้ลักษณะของความเค็มนั้นแม้ในพื้นที่เดียวกันไม่สม่ำเสมอกันบริเวณแหล่งโบราณคดีเหล่านี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีดินเค็มมากประกอบกับชั้นน้ำใต้ดินเค็มอยู่ตื้นใกล้ผิวดินแหล่งเกลือโบราณเหล่านี้จึงน่าจะใช้วิธีทำเกลือจากน้ำเกลือโดยตรงทำให้ไม่มีแนวดินที่มีการเผ่าไหม้มากนักแหล่งเกลือโบราณดังกล่าวได้แก่

สำนักสงฆ์โพนช้างขาวสันติธรรม
ที่ตั้งบ้านท่าเรือตำบลท่าเรื่อทำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนม
สภาพภูมิศาสตร์เนินดินใหญ่สูง8-9เมตรอยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา
หลักฐานบนเนินดินพบโครงกระดูกมนุษย์2โครงร่วมกับภาชนะดินเผา1ใบชิ้นส่วนหินดุกระดูกสัตว์เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบลายกดประทับ

โพนส้มโฮง
ที่ตั้งบ้านท่าเรื่อตำบลท่าเรืออำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนม
สภาพภูมิศาสตร์เนินดินร้างสูงประมาณ5-6เมตรห่างจากวัดโพนสวรรค์มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ300
หลักฐานบนเนินมีเศษภาชนะดินเผาทับถมกันอย่างหนาแน่นตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ

โพนแต้
ที่ตั้งบ้านท่าเรือตำบลท่าเรืออำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนม
สภาพภูมิศาสตร์เนินดินร้างสูงประมาณ4-5เมตรอยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา
หลักฐานบริเวณนี้พบเศษภาชนะดินเผาน้อยมาก ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยเชือกทางพบชิ้นส่วนหินดุ1ชิ้น

โพนกอก
ที่ตั้งบ้านท่าเรือตำบลท่าเรืออำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนม
สภาพภูมิศาสตร์ลักษณะเป็นเนินดินขนาดเล็กสูงประมาณ2-3เมตรอยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา
หลักฐานพบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบพบชิ้นส่วนหินตุ1ชิ้น

โพนตุ่น
ที่ตั้งบ้านบะหว้าตำบลท่าเรืออำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนม
สภาพภูมิศาสตร์ลักษณะเป็นเนินดินร้างสูงประมาณ6-7เมตรอยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา
หลักฐานพบเศษภาชนะดินเผาเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ

โพนจุลณี
ที่ตั้งบ้านบะหว้าตำบลท่าเรืออำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนม
สภาพภูมิศาสตร์ลักษณะเป็นเนินดินร้างสูงประมาณ5-6เมตรอยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา
หลักฐานพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งแบบเตาลุ่มน้ำสงคราม1ชิ้น

วัดโพธิ์เครือ
ที่ตั้งบ้านเสียวตำบลท่าเรืออำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนม
สภาพภูมิศาสตร์เป็นเนินดินขนาดใหญ่ยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา
หลักฐานพบเศษภาชนะดินเผาทับถมกันอย่างหนาแน่นบริเวณใกล้ประตูวัดตกแต่งด้วยลายเชือกทาบและแบบเรียบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งแบบเตาลุ่มน้ำสงคราม1ชิ้นชิ้นส่วนหินตุกระดูกสัตว์

สรุปการทำเกลือที่นี่น่าจะทำตามฤดูกาลโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งส่วนในฤดูฝนน้ำจากแม่น้ำสงครามจะบ่าเข้ามาเกิดน้ำท่วมทุกปีบริเวณนี้จึงไม่เหมาะต่อการทำกิจกรรมตลอดปีจึงมาตั้งหลักแหล่งชั่วคราวในบริเวณนี้สำนักสงฆ์โพนช้างขาวสันติธรรมได้พบโครงกระดูกมนุษย์เป็นหลักฐานของการเข้ามาพักอาศัยในช่วงระยะหนึ่งเศษภาชนะดินเผาที่พบทั่วไปอาจกล่าวได้ว่ามีรูปแบบเป็นชามก้นกลมใช้บรรจุเกลือส่วนภาชนะต้มเกลือ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเช่นใดแหล่งผลิตน่าจะอยู่บริเวณแหล่งเกลือนี้เองเศษกระดูกสัตว์ที่พบคงเป็นสัตว์ที่นำมาเป็นอาหาร

ทัวร์แนะนำ

  1. เหมากรุ๊ป Team Building
  2. เหมากรุ๊ป CSR
  3. เหมากรุ๊ป Team Building และ CSR
  4. เหมากรุ๊ปทัวร์ในประเทศ
  5. เหมากรุ๊ปทัวร์เอเชีย

ศูนย์รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน สำหรับในประเทศและโซนเอเชีย

นิววิวทัวร์ รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

เชื่อถือได้

เราเป็นบริษัทที่ทำด้านการท่องเที่ยวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีลูกค้าต่างๆมากมาย ซึ่งเชื่อมั่นในคุณภาพของการดำเนินงานของเรา

ราคาคุ้มค่า

ทุกแพ็คเก็จทัวร์มีรายละเอียดและแผนงาน ที่ทำให้คุ้มค่ากับทุกบาทที่ลูกค้าเลือกเรา

บริการต่อเนื่อง

 เมื่อมีโปรโมชั่นใหม่ๆ หรือ ทัวร์น่าเทียว เราจะแจ้งให้ทราบตามส่วนติดต่อที่ระบุไว้ให้กับเรา 

ข้อมูลเพิ่มเติม

เราทีทีมงานที่พร้อมให้ข้อมูลกับลูกค้าทุกท่าน เพียงแค่โทรหาเรา

นิววิวทัวร์พาเที่ยว

กับผลงานการจัดทัวร์บางส่วนของความมุ่งมั่นในการให้บริการจากเราและการอุปการะคุณที่ดีของลูกค้าที่ผ่านมาโดยตลอด

คำยืนยันลูกค้า

คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์