รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

2 วิธีการเดินทาง แผนที่ ภูมิอากาศ ชุมพร

tour channel transportation

ช่องทางและวิธีการเดินทาง จังหวัดชุมพร

รถไฟ
มีรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีทั้งรถเร็ว และรถด่วนไปจังหวัดชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) โทร. 1690 ส่วนที่สถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) มีขบวนรถดีเซลรางไปจังหวัดชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 2411 3102 www.railway.co.th

รถยนตร์
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงสี่แยกปฐมพร จากนั้นแยกซ้ายเข้าตัวเมืองชุมพร ตามทางหลวงหมายเลข 4001 อีกประมาณ 8 กิโลเมตร ระยะทางประมาณ 463 กิโลเมตร

รถประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ชุมพร ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง

สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com

รถตู้ มีคิวรถไปยังจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

1 เดินทางไปกระบี่ นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งอำเภอต่าง ๆ ในชุมพร ขึ้นรถที่ถนนเลียบทางรถไฟ โทร. 0 7757 0522, 0 1657 1148, 0 4994 7798

2 เดินทางไปชุมพร-สุราษฎร์ธานี หรือ ชุมพร-หลังสวน ขึ้นรถที่ชุมพร ไนท์ พลาซ่า

3 เดินทางไปชุมพร-ระนอง ขึ้นรถที่ถนนท่าตะเภา โทร. 0 7757 0643

รถสองแถว มีบริการรถสองแถวบริการไปแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น

1 หาดทุ่งวัวแล่น ขึ้นรถที่หลังตลาดเทศบาลชุมพร
2 หาดทรายรี ขึ้นรถที่ข้างศาลหลักเมือง
3 วิ่งรอบเมืองชุมพร เวลา 08.00-15.00 น. ขึ้นรถที่ถนนเลียบทางรถไฟ และเวลา 15.00-21.00 น.ขึ้นรถที่โรงพยาบาลชุมพร

การคมนาคมภายในจังหวัดชุมพร และจากชุมพรไปจังหวัดใกล้เคียง

รถโดยสารประจำทางสายชุมพร-สวี-หลังสวน รถจอดหน้าตลาดชุมพร ถนนท่าตะเภา ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.รถแท๊กซี่ รถจอดที่คิวรถแท๊กซี่ หลังตลาดสดเก่า ตรงข้ามสถานี บขส.ชุมพร มีบริการเดินรถไปอำเภอหลังสวน จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเดินทางจากอำเภอเมืองชุมพรไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอปะทิว 30 กิโลเมตร
อำเภอท่าแซะ 32 กิโลเมตร
อำเภอสวี 45 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งตะโก 62 กิโลเมตร
อำเภอหลังสวน 76 กิโลเมตร
อำเภอละแม 95 กิโลเมตร
อำเภอพะโต๊ะ 115 กิโลเมตร

tour map

แผนที่ จังหวัดชุมพร

tour map chumphontour map chumphon 2tour map chumphon 3


 

tour weather

ภูมิอากาศ จังหวัดชุมพร

จังหวัดชุมพร เป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู ดังนี้

ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม โดยในช่วงนี้ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - มกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ เป็นมวลอากาศที่มีความชื้นสูง ดังนั้นเมื่อปะทะแนวเทือกเขาตะนาวศรีจึงทำให้เกิดฝนตกชุกตลอดพื้นที่จังหวัด ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,200 มิลลิเมตร

ในช่วงปี 2542 – 2547 มีปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วง 1,558 – 2,349 มิลลิเมตร โดยในปี 2543 ฝนตกมากที่สุด วัดได้ 2,349 มิลลิเมตร มีจำวนวันทีฝนตก 186 วัน และมีฝนตกน้อยที่สุดในปี 2547 วัดได้ 1,558 มิลลิเมตร มีฝนตก 165 วัน
ส่วนอุณหภูมิในจังหวัดชุมพร เฉลี่ยประมาร 27.1 องศาเซลเซียส ในช่วงระหว่างปี 2542 – 2547 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.7 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุด 97 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ยต่ำสุด 48 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ย 81 เปอร์เซ็นต์ รายละเอียดแสดงดังนี้

ตารางที่ 1 ข้อมูลปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิอากาศ และความชื้นสัมพัทธ์จังหวัดชุมพร ระหว่างปี 2542 – 2547

tour weather chumphon

ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดชุมพร (ข้อมูลเดือนมกราคม 2548)

กระแสน้ำ
มวลน้ำที่เคลื่อนตัวไปมาภายในอ่าวไทยนั้น และมีผลกระทบต่อจังหวัดชุมพรจะมาจากมวลของน้ำในทะเลจีน มหาสมุทรแปซิฟิคที่ไหลขึ้น – ลง หรือหมุนเวียนไปตามอิทธิพลของมหาสมุทรในฤดูต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสน้ำผิวหน้าที่ไหลขนานกับขอบฝั่งทะเลนั้น มักจะเกิดจากการกระทำของลมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
มรสุมที่มีอิทธิพลต่อกระแสน้ำในอ่าวไทย จนทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหลได้นั้นเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่มีความรุนแรงไม่สม่ำเสมอกัน แต่ส่วนใหญ่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงกว่าระยะเวลาที่พัดนานกว่า และมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางในการพัดน้อยกว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ดังนั้น กระแสน้ำผิวหน้าภายในอ่าวไทย จึงได้รับอิทธิพบจากมรสุมทั้งสองนี้ไม่เท่ากัน และทำให้มวลของน้ำไหลเข้าเหนือไหลออกจากอ่าวไทยด้วยความเร็วไม่สม่ำเสมอกันอีก
กรมควบคุมมลพิษรายงานไว้ว่า โดยทั่วไปกระแสน้ำในบริเวณนี้จะไหลจากทิศเหนือลงมาทางตอนใต้ จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีไหลผ่านเกาะสมุย หลังจากนั้นจะไหลลงสู่ตอนกลางของอ่าวไทย แต่สำหรับในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมจะมีกระแสน้ำวนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ในช่วงชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี เกาะสมุยและหมู่เกาะอ่างทอง อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม กระแสน้ำในบริเวณนี้จะไหลขึ้นทางทิศเหนือ ซึ่งยังเป็นที่วิจารณ์กันโดยยังหาข้อสรุปไม่ได้ในปัจจุบัน เนื่องจากความแปรปรวนของลักษณะทางสมุทรศาสตร์ที่เกิดขึ้นได้ทุกปี

คลื่น
คลื่นในบริเวณชายฝั่งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ได้รับอิทธิพลหลักจากกระแสลม โดยพบว่า ช่วงเวลาที่มีคลื่นแรงที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีกำลังแรงในช่วงนี้ ประกอบกับเป็นช่วงที่มีฝนตกหนัก ส่งผลให้เป็นอุปสรรคในการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลช่วงเวลาที่มีคลื่นแรง รองลงมาได้แก่ ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออก ซึ่งมีความแรงลมน้อยกว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้คลื่นมีความแรงไม่มากนัก อีกทั้งช่วงนี้เป็นช่วงฤดูแล้ง ทำให้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเล
ในช่วงรอยต่อระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนลมมรสุม อาจจะส่งผลให้กระแสลมมีความรุนแรง อีกทั้งมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามา เนื่องจากจังหวัดชุมพรมีลักษณะเป็นแหลมแคบ ๆ ทำให้ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนลมมรสุมในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงนี้จึงอาจจะมีคลื่นแรงขึ้นเล็กน้อย
ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน เป็นช่วงที่ภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้กระแสลมพัดออกจากฝั่ง ช่วงเวลานี้จัดเป็นช่วงเวลาที่มีคลื่นไม่แรงมากนักโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่ง และกลุ่มเกาะใกล้ชายฝั่ง เนื่องจากจุดกำเนิดคลื่นอยู่ใกล้ฝั่ง อย่างไรก็ตามความแรงของคลื่นจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อออกจากฝั่งมากขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วช่วงนี้จัดเป็นช่วงเวลาที่คลื่นไม่แรงมากนัก ยกเว้นบางช่วงเวลาที่อาจจะมีกระแสแปรปรวน
อนึ่ง แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีคลื่นไม่แรงมากนัก แต่ก็อาจจะได้รับอิทธิพลจากฝน ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อยู่บ้างเป็นบางครั้ง

การขึ้นลงของน้ำทะเล
การแปรผันของระดับน้ำทะเลจังหวัดชุมพร ย่อมเกี่ยวข้องกับลักษณะอุตุนิยมกล่าวคือ การเปลี่ยนทิศทางของลม หรือความกดอากาศของบริเวณฝั่งนั้นต่ำลง ก็จะทำให้ระดับน้ำขึ้นและลงเต็มที่ของฝั่งนั้นมีค่าสูงขึ้น ส่วนฝั่งที่มีลมพัดออกหรือฝั่งที่มีความกดอากาศสูง ย่อมทำให้ระดับน้ำของฝั่งนั้นมีค่าต่ำ นอกจากนั้นยังมีอาการผันแปรของน้ำตาม ลักษณะภูมิศาสตร์คือ ตำบลที่เป็นทะเลเปิด ย่อมจะมีการผันแปรของน้ำตามฤดูกาลดังกล่าวนั้นน้อย ตำบลที่อยู่ใกล้ปากน้ำจะมีการผันแปรของระดับน้ำตามฤดูกาล ซึ่งขึ้นอยู่กับอิทธิพลของน้ำในแม่น้ำ อันอาจทำให้ระดับน้ำขึ้นลงเต็มที่มากกว่าหรือน้อยกว่าธรรมดาก็ได้
ลักษณะน้ำขึ้นน้ำลงของจังหวัดชุมพร มีลักษณะเป็นน้ำเดี่ยวหรือน้ำช่วงหนึ่งวัน คือ มีการขึ้นลงวันละ 1 ครั้ง โดยมีระดับความแตกต่างเฉลี่ยระหว่างน้ำขึ้นน้ำลงขนาด 1.2 เมตรในช่วงน้ำขึ้นน้ำลงฉับพลัน ช่วงเวลาที่มีความแตกต่างระหว่างน้ำขึ้นน้ำลงมากที่สุด อยู่ในช่วงเดือนธันวาคม โดยมีระดับน้ำขึ้นสูงสุดกับระดับน้ำลงต่ำสุดต่างกันถึง 3.0 เมตร

กำลังลม
ค่าเฉลี่ยความเร็วลม (น็อต) ในรอบ 30 ปี ระหว่าง พ.ศ.2513-2543 ของจังหวัดชุมพร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมอยู่ในช่วง 1.8 – 3.5 น็อต โดยลมมีความเร็วเฉลี่ยสูงสุดในเดือนธันวาคม รองลงมาคือ เดือนสิงหาคม และความเร็วลมเฉลี่ยต่ำสุดพบในเดือนตุลาคม โดยที่ทิศทางลมนั้นมาจาก 3 ทิศทาง ด้วยกันคือ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายนลมพัดมาจากทิศตะวันออก (E) ส่วนเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ลมจะพัดมาจากทิศตะวันตก (W) และเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ลมจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (NE)

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 398 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์