รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วัดหลง สุราษฎร์ธานี

tour-wat-long-surat-thani

วัดหลง
เป็นโบราณสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีแห่งหนึ่ง ชื่อวัดหลง บางท่านเชื่อว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า วัดหลวง ปัจจุบันเป็นวัดร้างเหลือแต่เจดีย์ ซึ่งมีสภาพเป็นซากอาคารขนาดใหญ่อยู่องค์หนึ่ง เหลือเพียงส่วนฐาน กรมศิลปากรได้ประกาศให้เป็นโบราณสถานสำหรับชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ต่อมากองโบราณคดี กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 - 2527 ใช้งบประมาณในการบูรณะรวมทั้งสิ้น 1,650,000 บาท ซึ่งการขุดแต่งนั้นได้กระทำอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะไม่เหมือนโบราณสถานอื่นๆ การขุดแต่งเจดีย์วัดหลงก็เพื่อหาหลักฐานทางสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ภายหลังการขุดแต่งบูรณะปฏิสังขรณ์ ทำให้สภาพของรูปทรงเจดีย์ชัดเจนขึ้น เผยให้เห็นฐานอาคาร ที่มีรูปแบบแผนผัง ทรงกากบาท คล้ายคลึงกับโบราณสถานที่วัดแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 14-15 และถูกสร้างทับอีกครั้ง ในราวพุทธศตวรรษที่ 18-22

เจดีย์วัดหลง มีลักษณะทรวดทรงทางสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยที่สำคัญในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าเจดีย์วัดหลงสร้างร่วมสมัยกับพระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ที่ทิ้งร้างมานานจนชำรุดเหลือแต่ซากอิฐ และฐานราก สันนิษฐานว่าโบราณสถานวัดหลงเป็นหนึ่งในจำนวนปราสาท 3 หลัง ที่พระเจ้ากรุงศรีวิชัยในศิลาจารึกหลักที่ 23 สั่งให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เมื่อปี พ.ศ.1318

tour-wat-long-surat-thani

เจดีย์วัดหลงเดิมปกคลุมด้วยดินและต้นไม้ใหญ่ ๆ หนาทึบ เมื่อกรมศิลปากรได้ขุดแต่ง และได้พิจารณารูปทรงเห็นว่าเป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมศรีวิชัย สมัยเดียวกับวัดแก้ว ลักษณะของเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบก่ออิฐไม่ถือปูน ฐานเป็นรูปกากบาท มีซุ้มทั้งสี่ทิศ มีประตูเข้าสู่ห้องกลางทางทิศตะวันออกเพียงด้านเดียวที่ห้องกลางก่ออิฐเป็น ผนังกรุทั้ง 4 ด้าน ตรงทางด้านทิศตามแนวทิศทั้งสี่ ผนังกรุด้านทิศตะวันออกกว้าง 3.50 เมตร ผนังกรุด้านทิศตะวันตกกว้าง 3.49 เมตร ผนังกรุด้านทิศเหนือ กว้าง 3.46 เมตร และผนังกรุด้านทิศใต้กว้าง 3.50 เมตร มีความลึกจากระดับพื้น ปูอิฐตอนบนถึงระดับอิฐปูพื้นล่างสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 2.59 เมตร

tour-wat-long-surat-thani

ในการขุดค้นทางวิชาการของกรมศิลปากร พบแต่เพียงเศษกระเบื้องดินเผาในห้องกลาง แต่มีไม่มาก แต่บริเวณฐานและบริเวณภายนอกใกล้กับกำแพงกั้นดิน พบศิลปโบราณวัตถุจำนวนมากได้แก่ เครื่องถ้วยสุโขทัย และเศษภาชนะดินเผาแบบพื้นบ้าน บรรดาเศษภาชนะดินเผา เหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม่ทราบชั้นดินแน่นอน ที่สำคัญได้พบพระพิมพ์ดินดิบปางสมาธิ และสถูปดินดิบ อยู่ที่พื้นตอนล่างข้างตัวอาคารศาสนสถาน ลักษณะรูปแบบศิลปะศรีวิชัย อาจเป็นวัตถุมงคล ที่เคยบรรจุ อยู่ภายในห้องมาก่อน ซึ่งต่อมาสิ่งที่บรรจุในห้องกรุได้ถูกค้นพบ และเคลื่อนย้ายออกไปหมด โบราณวัตถุทั้งหมดปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 914 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์