รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

อุทยานแห่งชาติคลองพนม สุราษฎร์ธานี

อุทยานแห่งชาติคลองพนม

ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ อยู่ในเขตตำบลคลองสก ตำบลพนม ตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม มีเนื้อที่ ๒๕๖, ๕๐๐ ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนเรียงรายสลับซับซ้อน และมีป่าไม้ที่สมบูรณ์อุดมด้วยไม้ใหญ่นานาพรรณ เป็นป่ารกครึ้มร่มรื่น มีลำธารใหญ่น้อยจำนวนมาก ซึ่งลำธารนี้ไหลรวมกับคลองสกและคลองสกไหลไปรวมกับคลองแสง เป็นต้นกำเนิดของคลองพุมดวง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำตาปี

สถานที่น่าสนใจของอุทยานฯ ได้แก่
ค่ายเขาวงก์ น้ำตกช่องยูง เป็นน้ำตกที่เป็นชั้นลดหลั่นกันลงมา แลดูสวยงาม มีสายน้ำที่เย็นฉ่ำ ท่ามกลางป่าไม้ร่มรื่นที่สมบูรณ์

ถ้ำนอน และถ้ำน่าน เป็นถ้ำที่เกิดจากภูเขาหินปูน ภายในมีหินงอกหินย้อยที่ดูเป็นประกายพราวด้วยแร่ไมกา

ถ้ำแก้ว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๒ กิโลเมตร การจะไปถ้ำแก้วต้องเดินเท้าเลียบไปตามแนวเขาที่สูงชัน ระยะทาง ๙๑๙ เมตร โดยเริ่มจากวังมัจฉา ( วัดถ้ำวราราม) บริเวณกิโลเมตรที่ ๙๒ ใช้เวลาเดิน ๓๐ นาที ภายในถ้ำจะมีห้องต่าง ๆ หลายห้องที่มีหินงอกหินย้อยรูปร่างต่าง ๆ ตามชื่อห้องนั้น ๆ เช่น ถ้ำแก้ว ซึ่งที่มาของชื่อถ้ำนั้น เกิดจากผนังถ้ำจะมีหินที่มีลักษณะเหมือนกลีบผ้าม่าน และมีแสงระยิบระยับของเกล็ดหินมองแล้วเหมือนเกล็ดแก้ว เกล็ดแก้ว เป็นห้องที่มีแสงระยิบระยับของเกร็ดหินบริเวณหินงอกหินย้อย ห้องฤาษี มีหินลักษณะเหมือนพระฤาษี ห้องม้าน้ำ จะมีหินย้อยที่มีลักษณะเหมือนม้าน้ำจำนวนหลายร้อยตัวเรียงรายกันอยู่อย่างน่าอัศจรรย์ ห้องหม้อยา เป็นห้องที่มีหินงอกลักษณะคล้ายหม้อยา จนถึงกับมีชาวบ้านนำเอาเศษหินเศษดินในหม้อยานี้ไปใช้รักษาโรคก็มี

นอกจากนั้นอุทยานฯ ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ “ วังมัจฉา- ถ้ำแก้ว” ระยะทาง ๑ กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายบอกถึงความสัมพันธ์ของพืชและสัตว์ในป่าที่ต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และตามเส้นทางเดินยังมีจุดชมวิวที่จะเห็นความสมบูรณ์ของป่าได้อีกด้วย

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๔๐๑ เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติเขาสก ( สายสุราษฎร์ธานี- ตะกั่วป่า) แยกซ้ายเข้าตรงกิโลเมตรที่ ๙๐ เข้าไป ๕๐ เมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง สุราษฎร์ธานี

อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง

ครอบคลุมพื้นที่ ๕๔๑ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๓๘, ๑๒๕ ไร่ บริเวณอำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และกิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฏร์ธานี บริเวณอุทยานฯ มีแก่งขนาดใหญ่เรียกกันว่า “ เชี่ยวกรุง หรือ แก่งกรุง” ลักษณะเป็นหินผุดโผล่ขวางสายน้ำ แก่งกรุงถือเป็นแก่งน้ำที่น่าเล่นที่สุดในเส้นทางล่องเรือยาง สองฝั่งปกคลุมด้วยป่าดงดิบชื้น ตามทางเดินเลียบคลองยัน นอกจากจะมีมุมสวยหลายจุด ยังพบพรรณไม้น่าสนใจ และร่องรอยของสัตว์ป่า ตามผืนทรายริมน้ำ

การเดินทาง จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาตามทางหลวงหมายเลข ๔๑ ก่อนถึงอำเภอท่าฉาง เลี้ยวขวาบริเวณแยกควนรา สู่กิ่งอำเภอวิภาวดี ระยะทาง ๒๖ กิโลเมตร จากกิ่งอำเภอวิภาวดี ไปต่ออีกราว ๔ กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาเข้าศูนย์ศิลปาชีพบ้านท่านหญิง สุดถนนลาดยาง จะพบสามแยก เลี้ยวซ้ายไปตามทางลูกรัง อีกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานฯ อยู่ซ้ายมือ บริเวณบ้านคลองน้ำใส

แหล่งดูปะการัง สุราษฎร์ธานี

แหล่งดูปะการัง

อยู่บริเวณชายฝั่งของเกาะสมุย รวมทั้งที่อยู่ติดกับเกาะอื่นๆ เช่น เกาะเต้าปน เกาะส้ม เกาะมัดหลัง เกาะนาเทียน และเกาะราหิน การเช่าเรือ และอุปกรณ์ดำน้ำ

หาดริ้น สุราษฎร์ธานี

หาดริ้น

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านใต้ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยและมีชื่อเสียงของเกาะพะงัน ความยาวของหาดประมาณ ๒ กิโลเมตร สามารถเดินทางไปหาดริ้นโดยเรือหางยาวจากท้องศาลาและจากบ้านค่าย ค่าเรือประมาณคนละ ๓๐ บาท และ ๒๐ บาทตามลำดับ ส่วนทางรถยนต์จากท้องศาลา ค่าโดยสาร ๕๐ บาท นอกจากเป็นหาดที่สวยแล้วยังมีกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินิยมมาชุมนุมกันในวันพระจันทร์เต็มดวง เรียกว่า ฟูลมูน ปาร์ตี้ ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนนับพันคนมาเต้นรำกันอย่างสนุกสนานจนมีชื่อเสียงดังไปทั่วโลก

สวนผีเสื้อสมุย สุราษฎร์ธานี

สวนผีเสื้อสมุย

ตั้งอยู่บนเนินเขาติดทะเลทางทิศใต้ของเกาะสมุย บริเวณแหลมนาเทียน ห่างจากหมู่บ้านชาวประมงบ้านหัวถนน ๓ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ภูมิประเทศเป็นเนินเขาที่ค่อยๆ ลาดลงสู่ทะล มีส่วนที่เป็นสวนพฤกษศาสตร์จัดเป็นสวนหินปลูกไม้ดอกไม้ประดับ รวบรวมพันธุ์ไม้ไทย พืชสมุนไพรและไม้ป่านานาชนิด เพื่อจัดเป็นที่อยู่สำหรับผีเสื้อ และมีบริเวณที่จัดไว้สำหรับนักท่องเที่ยวได้ชมเช่น บ้านผึ้ง เป็นบ้านไม้ไทย ภายในเป็นห้องมืดจัดแสดงการเจริญเติบโตของผึ้งในรังอย่างละเอียด พิพิธภัณฑ์แมลง จัดแสดงพันธุ์แมลงทั้งพันธุ์ไทยและพันธุ์ต่างประเทศ

สวนผีเสื้อสมุยเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘. ๐๐- ๑๗. ๓๐ น. อัตราค่าเข้าชมผู้ใหญ่ ๑๒๐ บาท เด็ก ๖๐ บาท รายละเอียดติดต่อ โทร. ๐ ๗๗๔๒ ๔๐๒๐– ๒๑

ศูนย์ลิงสมุย สุราษฎร์ธานี

ศูนย์ลิงสมุย

ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าหมู่บ้านเขาพระ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ่อผุด มีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยและการแสดงการฝึกลิงเปิดแสดงทุกวันๆ ละ ๓ รอบ คือ ๑๐. ๓๐ น. ๑๔. ๐๐ น. และ ๑๖. ๐๐ น.

อัตราค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๑๕๐ บาท เด็ก ๘๐ บาท

วัดอัครเทวดาราฟาเอล สุราษฎร์ธานี

วัดอัครเทวดาราฟาเอล บ้านเณร สำนักฝึกธรรมซาวิโอ นิคมสมหวังจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ตัวเมืองสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ทิ่ริมแม่น้ำตาปี ห่างจากกรุงเทพประมาณ 700 กิโลเมตร ตรงกับหมู่เกาะอ่างทองในอ่าวไทย เดิมชื่อว่า บ้านดอน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้้พระราชทานชื่อเสียใหม่ว่า สุราษฎร์ธานี ในราวปี ค.ศ. 1915

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เหมือนกับชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา มีคนอาศัยตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ตามชายฝั่งที่มีพื้นที่ปลูกข้าว และมีน้ำ

ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย คือคริสต์ศตวรรษที่ 6-12 พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีชุมชนสำคัญ อาทิเช่น เมืองไชยา เมืองท่าทอง (บ้านดอน) และคีรีรัตน์ ซึ่งปัจจุบันนี้ยังพบโบราณสถานและโบราณวัตถุเกี่ยวกับสมัยนั้นอยู่ ต่อมาในสมัยอาณาจักรสยามปกครองพื้นที่นี้ ชุมชนในจังหวัดสุราษฏร์ธานีอยู่ใต้การปกครองของพระยานคร ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 สมัยปฏิรูปการปกครองมีการตั้งมณฑลไชยา ต่อมาย้ายที่ตั้งไปอยู่ที่สุราษฎร์ธานี

บ้านดอนได้เริ่มขยายตัวมากขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงตั้งชื่อจังหวัดว่า สุราษฎร์ธานีในปี ค.ศ. 1915เมื่อมีทางรถไฟผ่านอำเภอพุนพิน และมากกว่านั้นอีก เมื่อมีถนนหนทางเชื่อมชุมพรกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีทำใน้สุราษฎร์ธานีเริ่มเป็นจังหวัดเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนบน มีอุตสาหกรรมการเกษตร และมีการท่องเที่ยวมากขึ้นทุกที เมืองสุราษฎร์ธานีอยู่กึ่งกลางระหว่างระยะทางขาขึ้นไปถึงกรุงเทพฯ และล่องใต้ไปสุดแดนสยาม ด้วยเหตุนี้สุราษฎร์ธานีเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์สังฆมณฑลของภาคใต้

คริสตชนสมัยเยี่ยมเยียน
ก่อนที่ซาเลเซียนจะมาประเทศไทย ไม่มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่าเคยมีพระสงฆ์คาทอลิก ใปเยี่ยมเยียนคริสตังที่เมืองบ้านดอนเลย

คุณพ่อมารีโอ รูเซ็ดดู (Fr. Mario Ruzzeddu) พร้อมกับคุณพ่อย็อบ การ์นินี (Fr. Job carnlni) ได้รับมอบหมายจากพระคุณเจ้าปาซอตตีให้เป็นผู้ไปเยี่ยมเยียนครสตชนที่กระจัดกระจายในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงจังหวัดนราธิวาสในเดือนตุลาคม ค.ศ.1935 พระคุณเจ้าปาซอตตี ได้พาคุณพ่อมาีรโอ รูเซ็ดดู ไปเยี่ยมเมืองสำคัญในภาคใต้ตามเส้นทางรถไฟจนถึงหาดใหญ่ ปัตตานี และไปถึงเบตงโดยผ่านทางมาเลเซีย เพื่อให้คุณพ่อมารีโอรู้จักสถานที่สำคัญ ๆ และต่อไปท่านจะได้เดินทางไปเอง (ดูภาค 6 หมวดที่ 1 บทที่ 2 การเยี่ยมเยียนภาคใต้)

ในการเดินทางครั้งแรกนี้พระคุณเจ้าและคุณพ่อมารีโอได้มาถึงพุนพิน ในวันที่ 15 ตุลาคมค.ศ.1935 เวลา 13.00 น. ท่านลงเรือไปถึงบ้านดอน ในระหว่างนั้นบ้านดอนกำลังมีงานประเพณีกินเจ คุณพ่อได้เข้าพักที่บ้านพักเล็ก ๆ ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ.1935 ท่านได้เข้าพบข้าหลวงเพื่อคารวะและขออนุญาตเยียมสถานที่ในเมืองสุราษฎร์ธานี แล้วท่านก็ไปเยี่ยมโรงเรียน 2 แห่ง และท่านก็พบครอบครัวคริสตชนที่ไม่ได้ทำพิธีแต่งงานอย่างสมบูรณ์ ในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ.1935 พระคุณเจ้าได้ทำพิธีมิสซาตามปกติและได้มีการโปรดศีลสมรสให้กับคริสตชน 4 คน และได้มีการโปรดศีลล้างบาอีก 1 คนให้ด้วย เมื่อเสร็จพิธีแล้วคุณพ่อก็เดินทางต่อไปจังหวัดนครศรีธรรมราช

ในเดือนมีนาคม - เมษายน ค.ศ.1936 คุณพ่อมารีโอพร้อมกับคุณพ่อการหนีนี่ได้เดินทางไปเยี่ยมคริสตชนที่กระจัดกระจายทางภาคใต้เป็นครั้งสำคัญและใช้เวลาหลายวัน และได้แวะที่สุราษฎร์ธานีด้วย (ดูภาค 6 หมวดที่ 1 บทที่ 2 การเยี่ยมเยียนภาคใต้) ภายหลังคุณพ่อการ์นินีมักจะเดินทางมาเยี่ยมคริสตชนทางภาคใต้ในเทศกาลปัสกา มีแต่ไม่มีหลักฐานบันทึกไว้นอกจากข่าวสั้นๆ ในการบันทึกบ้านเณรบางช้าง)

ในปี ค.ศ.1937 คุณพ่อมาริโอ ได้เดินทางไปใต้ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นโอกาสให้ครอบครัวคริสตชนที่กระจัดกระจายได้ฉลองคิรสต์มาส ถึงแม้ว่าจะล่าช้า ท่านได้ออกเดินทางจากราชบุรีในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ.1937 เดินทางไปหัวหินต่อไปชุมพร ในวันที่ 24 ธันวาคม 1937 นั้นคุณพ่ออยู่ที่บ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปีนั้นคุณพ่อได้ฉลองคริสต์มาส (เราทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางครั้งนี้จากสมุดบันทึกที่ท่านได้เขียน และจากจุดหมายที่ท่านได้เขียนถึงพระคุณเจ้าปาซอตตี สำหรับลงในนิตยสารอุดมพันธ์)

ในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1937 ขณะที่คุณพ่อมารีโอ อยู่ที่นครศรีธรรมราชแล้วท่านได้เขียนจดหมายถึงพระคุณเจ้าปาซอตตี เพื่อให้ท่านสามารถลงในนิตยสารอุดมพันธ์ ท่านเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสุราษฎร์ธานีว่า ในวันที่ 24 ธันวาคม ท่านได้ถึงที่บ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายริชาร์ด ได้รับรองท่านที่บ้าน ในตอนบ่ายมีคริสตังบางคนได้มาพบท่าน ในคืนวันที่ 24 คุณพ่อได้ทำพิธีมิสซาในห้องทำงานของมิสเตอร์ริชาร์ด ขณะที่ภายนอกมีฝนตกหนักพอสมควรเป็นเวลา 3 วัน คืนนั้นเป็นขั้นแรกที่มีการฉลองคริสต์มาสตรงวันที่สุราษฎร์ธานี มีผู้ที่รับศีลมหาสนิท 18 คน ในวันที่ 25 คุณพ่อยังได้ทำมิสซาที่บ้านดอนอีกครั้งหนึ่ง และเดินทางไปเยี่ยมบ้านของคริสตังด้วย ตอนเย็นของวันนั้นก็มีการรับประทานอาหารร่วมกัน มีมิสเตอร์รัสช์ จอห์นสัน (Rush Johnson) ซึ่งเป็นอดีตนักมวย มาร่วมด้วย

ในวันที่ 17 มกราคม ศ.ศ.1939 คุณพ่อมารีโอ (หลังจากที่ได้ตระเวนเยี่ยมเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้แล้วโดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน) ก็เดินทางมาถึงบ้านดอนซึ่งทั้งนี้มีคริสตชน อยู่ประมาณ 20 คน อาทิ เช่นนางเชียงเส็ง นางกี่ เฉลียว และคุณหมอชาวญวนคนหนึ่ง คุณสงวน ป้าล้วน ชูประยูร ซึ่งทั้งสองคนอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

คุณพ่ออยู่ที่บ้านดอนเป็นเวลา 3 วัน เพื่อสอนคำสอนและทำพิธมิสซาใหแก่ชาวบ้าน สองสามครั้ง(หมายเหตุ ไม่นานมานี้มีผู้มาสัมภาษณ์ป้าล้วน ถามว่าเธอมาจากไหน ถ้ามาอยู่ที่สุราษฎร์ธานีเมื่อไหร่ เธอตอบว่า “ป้าเป็นคนสมุทรสงคราม สัตบุรุษวัดบางนกแขวก แต่งงานแล้วไปอยู่สามพราน มีคนที่ลงมาที่นี่บอกว่าหากินง่าย ลุงและป้าจึงย้ายมาอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ขายข้าวสาร น้ำปลา ฯลฯ ในตลาด..ป้ามาอยู่ที่สุราษฎร์ธานีก่อนสงครามญี่ปุ่น มีคริสตังไม่มากนัก มีครอบครัว นายจันทร์ คือ พ่อของนายสมุทร นายบุณมั่น สิริติกิจ แล้วมีครอบครัวฝรั่ง แม่เริ่ม ประชาบาล แม่มาลัย เดชศิริเจริญชัย และมีครอบครัวของนายเฉลียว ลูกของขุนประธาน เป็นคนมาจากกรุงเทพฯ จำได้ว่า พบสังฆราชปาซอตครั้งเดียว สังฆราชมาที่บ้านป้านี่แหละ หลังจากนั้นก็มีกลุ่มพ่อมารีโอ รูเซ็ดดูมาหลายครั้ง มาทำมิสซาที่บ้านดอน หากมีสัตบุรุษมากก็ไปใช้ที่โรงแรม”)

ในวันที่ 30 มกราคม ท่านได้ขึ้นรถด่วนกลับไปที่ราชบุรี ในปี ค.ศ.1941 คุณมารีโอ รูเซ็ดดู ไปอยู่ประจำที่หาดใหญ่ หาดใหญ่จึงกลายเป็นศูนย์อภิบาล 14 จังหวัดภาคใต้ รวมสุราษฎร์ธานีด้วย แต่ว่าสงครามญี่ปุ่นเริ่มขึ้นทำให้การเยี่ยมเยียนคริสตชนชะงักไปบ้าง เพราะมีอุปสรรคมากมายในการเดินทางเมื่อสงครามสงบลงแล้วและความเสียหายจากสงครามซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว ในปี ค.ศ.1947 คุณพ่อย๊อบการ์นินี (Fr.Job carnlni) และคุณพ่อนาตัล มาเน (Fr.Natale Mane) ได้รับมอบหมายให้ไปอยู่ประจำที่หาดใหญ่เพื่องานอภิบาลโดยเฉพาะ คุณพ่อทั้ง 2 ได้เอาใจใส่ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนไปเยี่ยมคริสตชนทั่ว 14จังหวัดเหมือนที่คุณพ่อมารีโอเคยทำ ท่านก็ได้มาที่สุราษฎร์ธานีด้วย อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

ในปี ค.ศ.1952 พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต (Mons.Pietro carretto) ได้จัดระบบงานอภิบาลในภาคใต้เสียใหม่ ให้สุราษฎร์ธานีอยู่ในความรับผิดชอบของวัดแม่พระฟาติมาบ้านแสงอรุณ ซึ่งเพิ่งเปิดได้ในปีนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ.1953 จนถึงปี ค.ศ.1958 คุณพ่อเตลฟีโน เกรสปี (Fr.Delflno crespl) รับผิดชอบเดินทางจากบ้านแสงอรุณไปทำมิสซาที่สุราษฎร์ธานีเป็นครั้งคราวมีวัดและมีพระสงฆ์ประจำวัดอัครเทวดาราฟาเอล ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 317 ถนนตลาดใหม่ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ ธานี

การเริมต้นในระยะนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานีกำลังขยายตัวและทางราชการได้วางแผนการตัดถนน เพื่อให้การคมนาคมในภาคสะดวก อันดับแรกมีการสร้างถนนต่อเนื่องจากชุมพรไประนอง ตะกั่วป่า พังงา ตรัง พัทลุงและหาดใหญ่ ต่อมามีการสร้างถนนจากตะกั่วป่ามาถึงสุราษฎร์ธานีและอีกหลายปีต่อมาก็มีการสร้างเชื่อมชุมพรไปทุ่งสง และพัทลุง ซึ่งทำให้สุราษฎร์ธานีมีการคมนาคมที่สะดวกขึ้นเื่รื่อย ๆ พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต มองเห็นการณ์ไกลว่าสุราษฎร์ธานีอาจจะสามารถเป็นศูนย์กลางของสังฆมณฑลใหม่ในภาคใต้ ฉะนั้น เมื่อท่านได้พัฒนานิคมเกษตรบ้านแสงอรุณและได้สร้างศูนย์สังฆมณฑลราชบุรีแล้ว ท่านก็หันความสนใจของท่านไปทางภาคใต้มากขึ้น ท่านต้องการ เปิดวัดและโรงเีรียนที่เมืองบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานีในปี ค.ศ.1958 โอกาสต่อมาถึงเมื่อท่านทราบว่า มีสุภาพสตรี ที่ชื่อว่า นางลิ้นจี่ บุราคม พร้อมที่จะถวายที่ดิน จำนวน 3 ไร่ เพื่อกิจการโรงเรียน พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต จึงรับบริจาคและท่านยังซื้อเพิ่มอีก15 ไร่ ในราคาพอสมควรจากนางลิ้นจี่ เธอจึงเป็นบุคคลหนึ่งที่มีอุปการะคุณในการผลักดันการเริ่มต้นกิจการคาทอลิกที่เมืองบ้านดอนในการบันทึกรายงานการประชุมของที่ปรึกษาสังฆมณฑลราชบุรีในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1958

เขียนไว้ว่า สังฆมณฑลราชบุรีมีที่ดิน 18 ไร่แล้วที่บ้านดอน โดยได้รับบิรจาคที่ดิน 3 ไร่ และซื้อเพิ่ม 15 ไรพระคุณเจ้าคาเร็ตโต ยังพูดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะเิ่รมลงมือทำอะไรบางอย่างที่สุราษฎร์ธานี (ดูการบันทึกมติของที่ประชุมที่ปรึกษาสังฆมณฑลราชบุรี วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1958) ต่อมาในวันที่ 13 ตุลาคม พระคุณเจ้าคาเร็ตโต รายงานให้กับที่ปรึกษาว่าในวันฉลองนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู (วันที่ 3 ตุลาคม) ได้มีการลงมือก่อสร้างบ้านพักธรรมทูตที่บ้านดอน ฤดูการบันทึกของสังฆมณฑลราชบุรี วันที่ 13 ตุ่ลาคม)การซื้อที่ดินและริเริ่มงานพระศาสนจักรที่เมือ้ใบ้านดอนนี้ได้รับผลสำเร็จ เพราะความเสียสละและความเอื้อเฟื้อของครอบครัวคุณสงวน และคุณนายล้วน ชูประยูร นอกจากนี้ยังมีอีกผู้หนึ่งควรกล่าวถึง คือคุณพ่อชาวอเมริกัน ชื่อคุณพ่อชาร์ลส์ เกเบิล เพราะท่านได้เป็นผู้ออกเงินก้อนใหญ่เพื่อการเริ่มต้นกิจการนี้แต่แรก นอกจากคุณพ่อแล้วยังมีมูลนิธิเบ็นซ์ แห่งรัฐโฮไฮโอ สหรัฐอเมริกา ที่ได้ให้กู้เงินมาสร้างวัด โดยมิไค้คิด ดอกเบี้ยในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1958 ในบ้านของคุณสงวน และคุณนายล้วน ชูประยูร พระสังฆราชเปโตร คารเร็ตโต ได้ทำสัญญาสร้างบ้านพักพระสงฆ์ และอาคารเรียนหลังแรกชั้นเดียวชั่วคราว ในที่ดินที่ได้ซื้อไว้ได้สัญญากับนายสมุทร สรติกิจ ทั้งสองอาคารนี้สร้างเสร็จทันเปิดปีการศึกษา ค.ศ.1959

คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ (Fr. Hector Frigerio )
เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ค.ศ.1959 – 1963
ต้นปี ค.ศ.1959 คุณพ่อมารีโอ รูเซ็ดดู เจ้าคณะแขวง ได้มอบหมายให้คุณพ่อเฮกเตอร์ เรเยริโอ อดีตเจ้าคณะ ผู้เชี่ยวชาญในการบุกเบิกเตรียมตัวลงมาที่สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบเปิดกิจการ คาทอลิกที่สุราษฎร์ธานี ตอนนั้นคุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ อยู่ที่โรงเรียนดอนบอสโก อุดรธานี ท่านได้ลงมาที่สุราษฎร์ธานีมาดูสภาพทั่วไปและดูการก่อสร้างในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1959 คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ ย้ายจากโรงเรียนดอนบอสโก อุดรานีพร้อมสามเณรวิเชียร สมานจิตร และคูรปรีดา แสงสว่าง มาอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ท่านให้คูรปรีดายื่นเรื่องเปิคกิจการ

โรงเรียนในการประชุมที่ปรึกษาสังฆมณฑลราชบุีรในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ 1959 พระคุณเจ้าคาเร็ตโตรายงานว่า คุณพอเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ ได้ไปประจำอยู่ที่บ้านดอน พร้อมสามเณรวิเขียร สมานจิตรแล้ว และโรงเรียนที่บ้านดอนจะมีชื่อว่า “โรงเรียนเทพมิตรศึกษา” พระคุณเจ้ายังรายงานว่าสำหรับกิจการก่อสร้างที่สุราษฎร์ธานีทางสังฆมณฑลได้ลงทุน 300,000 บาทแล้ว (ดูการรายงานประชุมที่ปรึกษาสังฆมณฑลราชบุรี)ดอนนั้นวัดอัครเทวดาราฟาแอล (วัดน้อย) อยู่ในบ้านพักพระสงฆ์ เพราะว่าบ้านพักพระสงฆ์สร้างได้มาตรฐาน แล้วในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1959 มีการเปิดโรงเรียนเทพมิตรศึกษา โดยมีคุณปรีดา แสงสว่าง เป็นครูใหญ่ และสามเณรวิเชียร สมานจิตร เป็นผู้จัดการ (ดูเรื่องโรงเรียนเทพมิตรศึกษา)

เมื่อเปิดโรงเีรยนเทพมิตรศึกษาได้ 2 ปีแล้ว พระคุณเจ้าคาเร็ตโต ได้คิดโครงการที่จะสร้างวัดอัครเทวดาราฟาแอลเป็นตึกถาวร ท่านได้มอบหมายให้วิศวกรชาวอิตาเลียนอาชิเนลลี (Acinelli) เป็นผู้ออกแบบและขอให้แบบนี้สามารถขยายได้โดยไม่เสียรูปแบบเมื่อมีความจำเป็น พระคุณเจ้าได้ตั้งงบประมาณไว้ 150,000 บาท คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ ได้ลงมือสร้างวัดอัครเทวดาราฟาแอล วางศิลาฤกษ์ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1961 สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1962

ในปี ค.ศ.1961 คุณพ่อฟรังซิสต์ ลิขิต ชวประพันธ์ ได้มาอยู่สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นผู้บริหารโรงเรียนเทพมิตรศึกษา ในปี ค.ศ.1965 คุณพ่อได้เดินทางไปร่อนพิบูลย์เพื่อเปิดโรงเรียนดรุณีศึกษาที่นั่น คุณพ่อนาตัล มาเน เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่สอง
(ค.ศ.1963 - 1968) เป็นอธิการองค์แรก
ในปี ค.ศ.1963 คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ ผู้ชำนาญในการบุกเบิก ได้ย้ายไปอยู่ที่ยะลา และเิ่ริ่มกิจการงานคาทอลิกที่นั่น คุณพ่อนาตัล มาเน มาเป็นเจ้าวัด ท่านได้ย้ายมาจากหัวหิน หลังจากที่สร้า้งวัดเสร็จที่ปราณบุรี ในปีนี้เองซิสเตอร์คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของแม่พระ ได้มาเปิดโรงเรียุนธิดาแม่พระที่เมืองบ้านดอน ข้างโรงเรียนเทพมิตรศึกษา เช่นเดียวกัน กิจการคาทอลิกที่เมืองบ้านดอนกำลังเจริญขึ้น เป็นศูนย์อภิบาล 3 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) ชุมพร และนครศรีธรรมราช

คณะซาเลเซียน จึงตั้งบ้านสุราษฎร์ธานีนี้ ให้บ้านซาเลเซียนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1964

สุราษฎร์ธานี กำลังเตรียมการเพื่อเป็นศูนย์มิสซังใหม่ในภาคใต้
คุณพ่อนาตัล มาเนและคุณพ่อลิขิต ชวประพันธ์ ขยันและร้อนรนในการเอาใจใส่สัตบุรุษที่บ้านดอนและอาณาบรเวณ ในปี คศ.1963 คุณพ่อมาเนได้เริ่มนิคมเกษตรที่สมหวัง เพื่อให้ครอบครัวคริสตังที่กระจัดกระจายและไม่มีที่ทำกินได้มารวมกันที่นั่นในปี ค.ศ.1968 ในนิคมนี้มีคริสตังประมาณ 80 คน

ที่ชุมพร คุณพ่อมาเน ได้ซื้อห้องแถว 2 ห้อง ในซอยสุจินต์ เพื่อเป็นที่สำหรับประพิธีมิสซา และพิธีต่าง ๆ พร้อมทั้งใช้เป็นบ้านพักเวลาที่คุณพ่อมาเยี่ยมคริสตังที่ชุมพร คุณพ่อนาตัล มาเน ยังเดินทางไปทำมิสซาที่เกาะสมุยปีละครั้ง ที่นั่นคริสตังอยู่ 4 คน

ในปี คศ.1965 ที่ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช คุณพ่อลิขิต ชวประพันธ์ เิ่ริ่มเปิดกิจการโรงเรียนดรุณีศึกษาขึ้น หมายความว่า สุราษฎร์ธานี เป็นศูนย์อภิบาลที่มีชีวิตชีวา เหมาะที่จะเป็นศูนย์มิสซังใหม่

คุณพ่อเปรโต เยลลิชี (Pietro Jellici)
เป็นอธิการ- เจ้าอาวาส ค.ศ.1968 – 1972
ในปี ค.ศ.1968 คุณพ่อนาตัล มาเน ย้ายไปเป็นอธิการโรงเรียนแสงทอง หาดใหญ่ คุณพ่อเปโตร เยลลิชี (ที่เพิ่งจบวาระเป็นเจ้าคณะ) ได้รับมอบหมายให้มาอยู่ที่บ้านดอน เป็นอธิการและเจา้อาวาส มีคุณพ่อวีตาลี มาแทนคุณพ่อลิขิต ที่โรงเรียนและยังมีคุณพ่อเกรสปี มาช่วยงานอภิบาลรอบนอก เป็นต้น ที่นิคมเกษตรสมหวัง แต่คุณพ่อเกรส ปีนี้ ท่านได้รับมอบหมายให้หาที่ดินผืนใหญ่ เพื่อเปิดนิคมเกษตรใหม่ในอนาคต คุณพ่อเยลลิชี ได้รับมอบหมายให้เตรียมสำนักพระสังฆราชที่บ้านดอน ซึ่งท่านได้ขยายบ้านพักพระสงฆ์เก่าให้เหมาะสมโดยต่อเติมให้ยาวและต่อเติมชั้นที่ 3 เพื่อจะใช้เป็นสำนักพระสังฆราชชั่วคราว


ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.1969 มีการฉลองต้อนรับพระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต ซึ่งเดินทางมาเป็นประมุขสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีเป็นองค์แรก ในโอกาสนี้มีพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษมาร่วมฉลองและแสดงความยินดีกับพระคณะเจ้า

วัดอัครเทวดาราฟาเอล ได้เลื่อนฐานะเป็นอาสนวิหารเป็นวัดศูนย์กลางของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี

คุณพ่อสนิท ลุลิตานนท์ เป็นอธิการบ้าน
ในปี ค.ศ.1972 คุณพ่อสนิท ลุลิตานนท์ เป็นอธิการบ้านซาเลเซียน สุราษฎร์ธานี คุณพ่อเยลิชี ย้ายไปอยู่ที่ อำเภอร่อนพิบูลย์ คุณพ่อยอแซฟ วีตาลี เป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหาร ต่อมาในปี ค.ศ.1973 คุณพ่อยอแซฟ ฟอร์ลัสซินี เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสอาสนวิหาร

คุณพ่อซันนา เป็นอุปสังฆราช และ เจ้าอาวาส
ในปี ค.ศ.1974 – 1984
ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ.1974 คุณพ่ออูโก ขันนา มาประจำที่สุราษฎร์ในตำแหน่งอุปสังฆราช และเจ้าอาวาส

ในปี ค.ศ.1975 เมื่อคุณพ่อสนิท ลุลิตานนท์ ย้ายไปที่อื่น คุณพ่อสนม วีระกานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการ ในต้นปี 1975 มีพายุร้ายพัดถล่มจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เกาะสมุย ทำให้มีคนตายหลายร้อยคน พระคุณเจ้าในฐานะประธานมูลนิธิ ได้รับความช่วยเหลือจากสังฆมณฑลต่าง ๆ เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ที่เคราะห์ร้าย

วันที่ 28 กันยายน คจศ.1975 มีพิธีเสกอาสนวิหาร อัครเทวดาราฟาเอล หลังจากที่ได้ขยายปีกวัดทั้ง 2 ข้าง และต่อหน้ามุขใหม่ ในโอกาสเดียวกันนี้มีการวางศิลาฤกษ์สำนักฝึกธรรม นักบุณดอมินิก ซาวีโอซึ่งจะก่อสร้างในบริเวณวัด

คุณพ่ออูโก ซันนา ได้รับตำแหน่งเป็นอธิการในปี ค.ศ.1977 เพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่ง
ในปีต่อไป ค.ศ.1976 เมื่อมีการเปิดบ้านเณรสันติธรรมซาวีโอ คุณพ่ออูโก ซันนา ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบ้านเณร ด้วย

คุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล เป็นอธิการ คุณพ่อเลโอ เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส คุณพ่อซันนา ยังเป็นอุปสังฆราช ในปี ค.ศ.1980 นี้คุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล ได้มาเป็นอธิการบ้านและอธิการบ้านเณร คุณพ่อกุสต๊าฟ โรเซนส์ (Fr.Roosens Gustav) เป็นเหรัญญิกสังฆมณฑลและเจ้าอาวาส ค.ศ.1981 – 1989 ท่านได้ดำเนินการปรับปรุงวัดแล้วสร้างที่เก็บน้ำฝน นอกนั้นท่านก็ได้สร้างบ้านเจ้าอาวาสใหม่ทางทิศตะวันออกของสนามฟุตบอล เพราะว่าสำนักพระสังฆราชคับแคบและไม่มีที่สำหรับกิจการของเจ้าอาวาสบ้านเจ้าอาวาสใหม่นี้ยังได้เป็นสำนักงานขององค์กรบางอย่างของสังฆมณฑลด้วย

คณพ่ออูโก ซันนา เป็นอธิการ ในปี ค.ศ.1982 คุณอูโก ซันนา ได้มารับตำแหน่งอธิการบ้านและอุปสังฆราชที่สุราษฎร์ธานีเป็นวาระที่ 2 คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ เป็นอุปสังฆราชในปี ค.ศ.1984 และเป็นอธิการบ้านด้วย คุณพ่อได้เอาใจใส่เรื่องบ้านเณรของสังฆมณฑลเป็นพิเศษ นอกนั้นโดยร่วมมือกับคุณพ่อกุสต๊าฟ โรเซนต์ คุณพ่อได้ทำโครงการขยายการศึกษาของโรงเรียนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และเปิดโรงเีรยนอาชีวะดอนบอสโกด้วย คุณพ่อสมชาย กิจนิชี ทำหน้าที่เป็นอธิการในปี ค.ศ.1988 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1988 คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆราชแทนพระคุณเจ้าคาเร็ตโต คุณพ่อสมชาย กิจนิชี ได้ทำหน้าที่เป็นอธิการบ้านและโรงเีรียน ในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ 1988 อาสนวิหารราฟาเอล ได้จัดพิธีอภิเษกพระสังฆราชประพนธ์ ชัยเจริญ เป็นประมุขของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี โดยมีพระสังฆราชทุกสังฆมณฑลในประเทศไทย ให้เกียรติมาร่วมในงานบวชนี้ มีพระสงฆ์ ซิสเตอร์ และสัตบุรุษจำนวนมากจากวัดต่าง ๆ มาร่วมพิธี คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ (Fr.John visser) เป็นเหรัญญิกสังฆมณฑล - เจ้าอาวาส ในปี ค.ศ.1989 – 1992 ในปีนี้ คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ มารับตำแหน่งเจ้าวัด และเหรัญญิกสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี แทนคุณพอโรเซนส์ท่านได้ปรับปรุงสุสานของวัดบ้านดอนให้เหมาะสม ในระหว่างปี ค.ศ.1990 - 2000 ทางสังฆมณฑล ระดมกำลังบุคลากร เพื่อเตรียมฉองปี ค.ศ.2000 ในทุกระดับ คือ ระดับสังฆมณฑล ระดับโรงเรียน และระดับวัดในเขตสังฆมณฑล เพื่อปลุกจิตสำนึกของคาทอลิก ถึงความสำคัญของการไถ่กู้ การกลับใจ และการฟื้นฟูจิตใจของคาทอลิก เพื่อเตรียมตัวรับพระพรอย่างเต็มเปี่ยมในปี ปีติมหาการุญปี ค.ศ. 2000 ที่จะมาถึง คุณพ่อมารีโอ ซาลา เป็นเหรัญญิกสังฆมณฑล - อธิการบ้าน-เจ้าอาวาส ค.ศ.1992 – 1994 ในปี ค.ศ.1992 ทางสังฆมณฑล ได้อนุมิต Master plan ของบริเวณโรงเีรียนเทพมิตรศึกษา เพื่อสร้างอาคาร 6 ชั้น ที่จะทำในระยะ 10 ปีข้างหน้า คุณพ่อศักดิ์ชัย ตรัสว่าอุดม เป็นอธิการ-เจ้าอาวาส ค.ศ.1994 – 1997 ในปี ค.ศ.1994 ทางสังฆมณฑล ได้จัดงานฉลอง 25 ปีของสังฆมณฑล และเนื่องจากว่าอยู่ในทศวรรษเตรียมปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ.2000 พระคุณเจ้าประพนธ์ และทีมงานได้ตั้งโครงการให้ทุกวัดมีหนังสือพระคัมภีร์ตั้งไว้ในที่ดีเด่น นอกนั้นให้ครอบครัวคริสตังทุกครอบครัวได้หาหนังสือพระคัมภีร์มาไว้ที่บ้านและอ่านเป็นประจำ พระคุณเจ้าและทีมงานยังพยายามให้มีการตั้งกลุ่มคริสตชนแห่งการภาวนาโดยใช้พระวาจาของพระเจ้า

คุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม มารับตำแหน่งพ่อเจ้าอาวาส และเหรัญญิกสังฆมณฑล ในปี ค.ศ.1997 ในปี ค.ศ.1999 สำนักพระสังฆราชสร้างเสร็จ และทำพิธีเปิด ในวันที่ 12 กันยายน ย้อนกลับไปปี ค.ศ.1959 คนในสมัยนั้น ตอนเริ่มโรงเรียนเทพมิตรศึกษา อย่างง่ายๆ คงไม่มีใครคาดได้ว่ากิจการคาทอลิกจะมีการขยายตัวมากขนาดนี้ในระยะเวลาเพียง 40 ปี อนึ่ง คณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ ที่พระคุณเจ้าปาซอตตี ได้ตั้งคณะขึ้นมาในปี ค.ศ.1937 ได้เป็นกำลังสำคัญของวัดอัครเทวดาราฟาเอลและสังฆมณฑลใหม่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินงานโรงเรียนต่าง ๆ ของสังฆมณฑล ทั้งในสมัยของพระคุณเจ้าคาเร็ตโต และพระคุณเจ้าประพนธ์

LIST OF THE PARISH PRIESTS – SURATTHANI
ลำดับที่ รายชื่อ จาก ถึง
1 คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ 1959 1963
2 คุณพ่อนาตัล มาเน 1963 1968
3 คุณพ่อเปโตร เยลลิชี 1968 1972
4 คุณพ่อยอแซฟ วิตาลี 1972 1973
5 คุณพ่อยอแซฟ ฟอร์ลัสซินี 1973 1974
6 คุณพ่อฮูโก ซันนา 1974 1981
7 คุณพ่อกุสต๊าฟ โรเซ่นส์ 1981 1989
8 คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ 1989 1992
9 คุณพ่อมารีโอ ซาลา 1992 1994
10 คุณพ่อศักดิ์ชัย ตรัสว่าอุดม 1994 1997
11 คุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม 1997 2002

บ้านเณรของสังฆมณฑล สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ (ตามการรายงานโอกาส 25 ปี สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ)

บ้านเณรเป็นสถาบันที่จำเป็นที่สุดของสังฆมณฑล เพื่อเตรียมบุคคลากรสำหรับการประกาศพระวรสาร ดำเนินงานและการอภิบาลในสังฆมณฑล ผู้ที่พระเจ้าทรงเรียกมาเป็นพระสงฆ์ ต้องใช้เวลาหลายปีในการเรียนและศึกษากระแสเรียก จึงจะพร้อมตัดสินใจสมัครเป็นพระสงฆ์ เมื่อพระคุณเจ้าคาเร็ตโต ได้มาอยู่ประจำที่สุราษฎร์ธานี ในปี ค.ศ.1969 ท่านได้ตั้งโครงการที่จะเปิดบ้านเณรของสังฆมณฑล เมื่อทางสังขมณฑลมีความพร้อม

ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1975 โอกาสฉลองอัครเทวดาราฟาเอล พระคุณเจ้าคาเร็ตโต ได้เสกอาสนวิหารราฟาแอล ขยายปีกวัด 2 ข้าง ขยายหน้ามุขใหม่ ในโอกาสเดียวกันนี้ ท่านได้เสกศิลาฤกษ์สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอที่จะสร้างขึ้นมาในบริเวณวัด ในวัน 20 มิถุนายน ค.ศ.1976 โอกาสฉลองหิรัญสมโภชน์ของการบวชเป็นสังฆราชของพระคุณเจ้าคาเร็ตโต และวันฉลองแห่ศีลมหาสนิท ได้เสพและเปิดสำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ มอบหมายให้คณะนักบวชซาเลเซียนเป็นผู้รับผิดชอบการอบรมและให้การศึกษาแก่สามเณร คุณพ่ออูโก ซันนา เป็นอธิการคนแรกของสำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ และซิสเตอร์เทเรส สวิง ทัพศาสตร์ เป็นผู้ดูแลครัว ในปีแรกมีเณรทั้งหมด 13 คน เณรเิ่รมมีบทบาทในวัดทำให้พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ในอาสนวิหารมีความสง่างามมากขึ้น ในปี ค.ศ.1980 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคุณพ่ออธิการเป็นครั้งแรก เนื่องจากคุณพ่ออูโก ซันนา ย้ายไปอยู่ที่อื่นระยะหนึ่ง คุณพ่อเจ้าคณะซาเลเซียนจึงส่งคุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล มาเป็นอธิกา่ร เณรมีจำนวนเฉลี่ยระหว่าง 35-45 คน เป็นประจำ

ในปี ค.ศ.1982 คุณพ่อซันนา กลับมาเป็นอธิการอีกต่อมาในปี ค.ศ 1984 มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคุณพ่ออูโก ชันนา ย้ายไปเป็นอธิการที่บ้านซาเลเซียนสามพราน ดังนั้น คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ จึงมารับหน้าที่แทน โดยมีคุณพ่อศักดิ์ชัย ตรัสว่าอุดม มาช่วยบริหารงานบ้านเณร ช่วยคุณพ่ออธิการอีกแรงหนึ่งและในวันเสาร์ที่ 27 กันยายน ค.ศ.1987 โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี ของพระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต และฉลองอาสนวิหารดาฟาเอล ก็มีพิธีเสกบ้านเณรที่ได้ขยายต่อเติมและปรับปรุงใหม่ พระสมณฑูตอัลแบร์โต ตรีการีโก ทำพิธีเสก เณรมีบทบาทมากขึ้นในวัด ในโรงเรียน และในการสอนคำสอนตามวัดต่าง ๆเฉพาะอย่างยิ่งในภาคฤดูร้อน วันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1988 คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ ได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช สืบตำแหน่งแทน พระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต ดังนั้นคุณพ่อตอมินิก อากุส จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอธิการแทน ปี ค.ศ.1993 คุณพ่อสุขสันต์ ชาวปากน้ำ ซึ่งเป็นเลขานุการของพระสังฆราช เข้ารับตำแหน่งอธิการแทนคุณพ่ออากุส เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ.1994 สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ ต้องสูณเสยปูชนียบุคคลที่สำคัญ นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง แก่คณะผู้ใหญ่ และบรรดาเณร ของสังฆมณฑลฯนั่นก็คือ พระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ อีกหนึ่งปีต่อมา คุณพ่อยุทธการ ยนปลัดยศ ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์จากพระสังฆราช ไมเกิ้ล ประพนธ์ ชัยเจริญ ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ.1995 ที่วัดแม่พระฟาติมา บ้านแสงอรุณ และเป็นผลผลิตแรกของสำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ นับตั้งแต่เปิดบ้านเณรมา และในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ.1996 คุณพ่อนทีธี รานุวรรัตน์ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์จากพระสังฆราชไมเกึ้ล ประพนธ ชัยเจิรญ ณ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์พนม ซึ่งนับเป็นพระสงฆ์องค์ที่สองของสำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ ปีเดียวกันนี้เอง บ้านเณรก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม มาดำรงตำแหน่งอธิการแทน คุณพ่อสุขสันต์ ชาวปากน้ำ คุณพ่อยุทธการ ยนปลัคยศ เป็นรองอธิการครั้งถึงปี ค.ศ.1998 ประวตศาสตร์หน้าใหม่ ของสำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งเมื่อ คณพ่อยุทธการ ยนปลัดยศ ซึ่งเป็นพระสงฆ์องค์แรกของบ้านเณร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการของสำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ แทนคุณพ่อสุพจน์ รี้วงาม ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ดำเนินมาจนกระทั่งวันนี้ สำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ ได้รับการพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเ่รื่อยมาตลอดทั้งในด้านอาคารสถานที่ การอบรม และบุคคลากร ที่ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาทำหน้าที่ เพื่อช่วยให้สถาบันแห่งนี้ ได้เป็นแหล่งเพาะเมล็ดพันธ์แห่งกระแสเีรียก และผลิตบุคคลากรสงฆ์ที่มีคุณค่า และคุณภาพ ให้พระศาสนจักร และตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เด็ก ๆ และเยาวชน ทั้งหมด 200 ชีวิตได้ที่ผ่านเข้ามา ณ สถาบันแห่งนี้ แม้ว่าผู้ได้รับเรียกมีมาก แต่ผู้ที่ได้รับเลือกสรรจะมีน้อยก็ตาม นั่นหาใช่สิ่งสำคัญไม่ที่สำคัญคือ สิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นได้รับการปลูกฝัง อบรม และขัดเกลาจากบ้านเณรจนทำให้พวกเขาได้กลายเป็น คนที่มีคุณค่าของสังคม เป็นคิรสต์ชนที่ดี มีความหมายต่อพระศาสนจักร อันเป็นพลังสำคัญของสังคมและพระศาสนจักร จวบจนปัจจุบันในขวบปีที่ 25 สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ มีคุณพ่อยุทธการ ยนปลัดยศ เป็นอธิการ มีจำนวนสามเณร ทั้งสามเณรเล็ก และสามเณรใหญ่ ของสังฆมณฑล จำนวน 36 คน จากวันนั้น...ที่ผ่านมา 25 ปี คือ... 25 ปี แห่งการสรรเสริญ และขอบพระคุณพระเป็นเจ้าที่ทรงเมตตาประทานพระพรนานับปการแก่สถาบันแห่งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คือ... 25 ปี แห่งความกตัญญูรู้คุณ จากดวงใจทุกดวงที่ได้เคยสัมผัสบ้านเณรหลังนี้ ต่อคณะผู้ใหญ่ และผู้มีอุปการะคุณทุก ๆ ท่าน ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน คือ... 25 ปี แห่งความภาคภูมิใจ ของพระศาสนาจักรในประเทศไทย ที่ได้เห็นความก้าวหน้า และมั่นคงของสถาบันนี้ ในการผลิตบุคลากรสงฆ์ให้มีคุณภาพ คือ... 25 ปี แห่งอัศจรรย์ความรักของพระเป็นเจ้า ที่เฝ้าปกปักดูแลทำนุบำรุง สำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ ให้ยืนอยู่ ณ ที่นี้ในวันนี้ คือ... 25 ปีแห่งพลังชีวิตที่จะต้องก้าวเดินต่อไปด้วยกัน ในการยืนหยัคความดีต่าง ๆ เฉกเช่น 25 ปีที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาความดีต่าง ๆ นั้นสืบไป และด้วยมโนสำนึก... แห่งความกตัญญู ต่อผู้ได้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้คือ พระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต ผู้ซึ่งบากบั่นพากเพียร สร้างสรรค์ ผลงานชิ้นโบแดง จากสถานฝึกอบรมเล็ก ๆ บัดนี้ได้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นสถาบันที่ผลิตบุคคลากรสงฆ์ให้แก่พระศาสนาจักร และได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมและพัฒนา จึงเปรียบดังการปลูกต้นไม้... ที่ได้รับการดูแล รดน้ำ พรวนดิน จนหมู่ไม้เจริญเติบโต ผลิดอกออกผล เป็นที่น่าชื่นชม แม้เวลาจะผ่านพ้นไป... แต่ผลงานที่ฝากไว้.. ยังมิได้สิ้นสุดลง ด้วยรากฐานที่หยั่งรากลึกนี้... สำนึกฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ ถือเป็นภารกิจอันสำคัญที่จะสานต่อเจตนารมย์ และปณิธานที่ได้ตั้งไว้นี้สืบไป.. ในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ.2001 ในโอกาสฉลอง 25 ปี ของบ้านเณรสำนักฝึกธรรมซาวีโอ ได้มีการบวชพระสงฆ์อีก 2 องค์ คือ คุณพ่ออรรคเดช ทับปิง และคุณพ่อทรงราชย์ ศรีระหงส์ ในปี คศ.2003 ได้มีการบวชพระสงฆ์อีกองค์หนึ่งคือคุณพ่อสุวัฒน์ เหลืองสอาด ที่อาสนวิหารอัครเทวดาราฟาเอล ในปี ค.ศ.2004 คุณพ่อแพทริก มัชโชนี (Maccioni patrick) พระสงฆ์ซาเลเซียน ได้มาบริหารสำนักฝึกธรรมซาวีโอ อีกครั้งหนึ่ง แต่น่าเสียดายว่าในปลายปีการศึกษา ทางสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีได้ตัดสินใจที่จะปิดบ้านเณรชั่วคราว เพื่อปรับปรุงสถานการณ์เสียใหม่ นิคมเกษตรสมหวังและท่าทอง นิคมสมหวังเป็นนิคมเกษตรขนาดเล็กที่เกิดจากความร้อนรน ด้านงานอภิบาล และประสบการณ์ของคุณพ่อนาตัล มาเน เมื่อคุณพ่อนาตัล มาเนอยู่ที่หาดใหญ่ระหว่างปี ค.ศ.1947-1954 และเดินทางไปเยี่ยม คริสตชนที่กระจัดกระจายใน 14 จังหวัดภาคใต้ ท่านได้เห็นที่ดินที่เหมาะแก่การเกษตรหลายแห่งทีว่างเปล่า ในปี ค.ศ.1949 ขณะที่คุณพ่ออยู่ที่หาดใหญ่ คุณพ่อได้ไปพูดที่วัดบางนกแขวก และที่วัดเพลงเกี่ยวกับที่ดินที่ว่างทางภาคใต้ใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ตามเสันทางที่กำลังเปิดใหม (สายเพชรเกษม) ระหว่างหัวหินถึงชุมพร มีบางครอบครัวได้ไปจับจองอยู่แล้ว ที่ทุ่งประดู่ ใกล้ทับสะแกหลังจากที่คุณพ่อพูด ที่วัดทั้งสองแห่งนี้แล้ว ก็มีหลายครอบครัวสนใจ และบ้านแสงอรุณก็เกิดขึ้น เมื่อคุณพ่อได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสที่บ้านดอน ท่านก็เป็นห่วงถึงครอบครัวคริสตัง ที่กระจัดกระจายและห่างจากวัด ในปี ค.ศ.1964 ท่านเชิญชวนครอบครัวเหล่านั้นมารวมกัน ที่คลองสมหวัง ตำบลวัตประดู่ ท่านได้ขออนุญาตพระคุณเจ้าคาเร็ตโต และอาศัยความช่วยเหลือของท่าน และผู้ใจบุญอีกหลายท่าน คุณพ่อก็สามารถช่วยเหลือหลายครอบครัว ให้มาอยู่รวมกันที่นิคมสมหวัง จุดประสงค์เพื่อให้พวกเขาอยู่รวมกันจะได้มีวัดของเขาเอง เพื่อจะได้มีโอกาสร่วมพิธีมิสซาและรับศีลบ่อย ๆ และลูก ๆ จะได้เีรียนในโรงเรียนคาทอลิกและเรียนคำสอน เนื่องจากว่าในสมัยนั้นระยะทาง 10 กิโลเมตรเพื่อไปตลาดยังไม่สะดวก ไม่มีถนนหนทาง คุณพ่อได้สนับสนุนให้มีการเปิดร้านสหกรณ์ ในบ้านของ นายเซ่ กิจเจริญ ทุกครอบครัวมีฟ้ทธิ์ซื้อของในราคาถูก แต่ส่วนมากคุณพ่อต้องการให้สัตบุรุษไปร่วมพิธีที่วัดบ้านดอนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เมื่อไปวัดที่บ้านดอนชาวบ้านจะต้องข้ามคลองฉิมหวัง ไปขึ้นรถประจำทางที่สะพานท่ากูบ หรือนั่งเรือประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงสะพานมะขามเตี้ย ต่อมา นายเซ่ กิจเจิรญ สร้างบ้านที่ปากคลองใหม่เทพรักษ์เสร็จแล้ว มีพระสงฆ์มาถวายมิสซาที่บ้านนั้นทุกวันอาทิตย์ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1967 พระสมณฑูตอันเยโล เปโดรนี ไปเยี่ยมสัตบุรุษบ้านสมหวัง พร้อมกับพระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต โอกาสนั้น ฯพณฯ ท่าน ได้ตั้งชื่อสถานที่ถวายมิสซานั้นว่า “บ้านเทพรักษ์”(อัครเทวดามีคาเอล) และได้ถวายูรปปั้น “เทวดารักษา”่ หนึ่งูรป นามของ ฯพณฯท่าน “อันเยโล” แปลว่า “เทวดา” คลองเทพรักษ์ ชาวสมหวัง หลังจากที่ได้ถากถางป่าเรียบร้อยแล้ว โดยมีนายชู แก้วมหา ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้น่า ได้ร่วมมือร่วมแรงกันขุดคลองเชื่อมหนองขุนทะเลกับคลองฉิมหวัง ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร คุณพ่อเจ้าวัดได้ช่วยเหลือปัจจัยส่วนหนึ่ง และอาหารตลอดเวลาที่มีการขุดคลอง จนกระทั่งงานสำเร็จ เมื่อได้น้ำจากคลองใหม่เทพรักษ์แล้ว ชาวสมหวังจึงได้เลิกที่ขุดร่อง ในแปลงของตน พวกเขามีน้ำพอใช้ตลอดปี ในปี ค.ศ.1968 มีคริสตังอยู่ที่สมหวังประมาณ 80 คน พอดีคุณพ่อมาเน ย้ายไปอยู่หาดใหญ่และคุณพ่อเกรสปีมาอยู่สุราษฎร์ธานี ท่านคิดว่าบางทีนิคมสมหวังอาจจะเป็นที่เหมาะสมที่จะทำเป็นนิคมเกษตรใหญ่ แต่พระคุณเจ้าคาเร็ตโตแนะนำท่านว่าทางสังฆมณฑลต้องการที่ดินผืนใหญ่กว่านี้และที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ ถนนเทพรักษ์ ในปี ค.ศ.1977 กรมทางหลวงได้เปิดทางสายท่ากูบ - บ้านดอนเกลี้ยง ทางใหม่นี้อยู่ห่างจากคลองเทพรักษ์ 2 กิโลเมตร ชาวสมหวังภายใต้การนำของ นายถวิล เดชจินดา ผู้ใหญ่บ้านได้ช่วยกันสร้างถนนเพื่อเชื่อมทางสายใหม่กับคลองเทพรักษ์ ยาว 2 กิโลเมตร และกว้าง 4 เมตร แล้วสร้างถนนเชื่อมคลองเทพรักษ์กับคลองฉิมหวัง ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถนนสายที่สองนี้ ผ่านที่ดินแปลงที่มี 11วัดอัครเทวดามีคาเอลจในปี ค.ศ.1980 พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต ประธานมูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี ได้ออกทุนสร้างสะพานชั่วคราวข้ามคลองเทพรักษ์ และบริจาคเงินหมื่นบาทช่วยสร้างสะพานข้ามคลองฉิมหวังตั้งแต่นั้นมาพระสงฆ์ที่ไปถวายมิสซาที่สมหวัง นั่งรถยนต์ตลอดทาง คือ จากวัดบ้านดอนไปถึงสมหวัง โดยไม่ต้องนั่งเรืออีกดังที่เคยทำตลอดมา วัดอัครเทวดามีคาแอล ในปี ค.ศ.1978 - 1980 คุณพ่อเลโอ โอโชวา ได้ย้ายสถานที่ถวายมิสซาจากบ้าน นายเซ่ กิจเจิรญ มาที่บ้านนายไพโรจน์ แซ่โล้ว เพราะสะดวกกว่าเป็นเวลาหลายปีแล้วที่สัตบุรุษบ้านสมหวังปรารถนาที่จะมีวัดสวยงาม สมกับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ความปรารถนานั้นได้กลายเป็นความจริง ในปี ค.ศ.1980 คุณพ่อมาเน กลับมาอยู่ที่สุราษฎร์ธานี และดำเนินการสร้างวัด เพราะพระพรของพระเจ้า เงินก้อนใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณการก่อสร้างได้มีผู้ใจบุญจัดหาให้ คือ บราเดอร์ อัลโด โรมีเตลลี ผู้จัดวัดพระหฤทัยที่กรุงโรม พระคุณเจ้าจึงได้อนุมัติให้ลงมือสร้างวัดทันที นอกจากนั้นยังมีสัตบุรุษใจศรัทธาจากวัดหลายแห่งในประเทศไทย ได้บริจาคเงินสมทบทุนด้วยใจกว้างขวาง จึงมีทุนสำหรับสร้างสร้างวัด โรงพละ ห้องคำสอน และสนามบาสเก็ตบอลด้วย และได้ทำพิธีเปิดใน วันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1981

ท่าทอง “บ้านพระหฤทัย” กลางเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1968 ชาวท่าทองกลุ่มหนึ่งได้ขอร้องคุณพ่อนาตัล มาเน ให้ไปสอนคำสอนแก่คริสเตียน ที่ท่าทองบ้าง ตั้งแต่นั้นมา คุณพ่อกับบราเดอร์สนั่น วาทนเสรี และซิสเตอร์คณะผู้รับใช้ฯได้ไปที่ท่าทองทุกเย็นวันเสาร์ คุณพ่อสอนคำสอนให้แก่ผู้ใหญ่ ซิสเตอร์สอนคำสอนและฝึกขับร้องแก่เด็กส่วนบราเดอร์สนั่น พอตกค่ำก็ฉายหนังและภาพนิ่งที่กลางตลาด

ในปี ค.ศ.1972 คุณพ่อเซซาร์ คัสเตลลิโน จากกรุงโรม ส่งเงินมาหมื่นบาทเพื่อสร้าง บ้านพระหฤทัย พระสังฆราช เปโตร คาเร็ตโต ออกทุนสร้างบ้าน 2 ชั้น ให้ครอบครัวคริสตังครอบครัวหนึ่งอยู่ด้านล่างโล่ง ใช้เป็นที่ชุมนุมเมื่อคุณพ่อหรือซิสเตอร์มาสอนคำสอน

ในปี ค.ศ.1982 มีการปรับปรุงบ้าน 2 ชั้น และบริเวณให้สวยงามขึ้น และได้กลายเป็นที่พักของซิสเตอร์คณะอัสสัมชัญ ชาวฟิลิปินส์ระยะหนึ่ง ขณะที่เขาช่วยงานสังคมพัฒนาของสังฆมณฑล

วัดถ้ำสิงขร สุราษฎร์ธานี

วัดถ้ำสิงขร

เป็นวัดที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีถ้ำขนาดใหญ่ หน้าถ้ำมีเจดีย์สร้างเลียนแบบสมัยศรีวิชัย ประดับด้วยถ้วยชามโบราณ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปนั่งห้อยขาขนาดใหญ่ รูปปูนปั้นเทวดา ยักษ์ สัตว์ในเทพนิยาย ส่วนฝาผนัง เพดานถ้ำประดับด้วยถ้วยชามโบราณลวดลายโบราณ

วัดคุณาราม สุราษฎร์ธานี

วัดคุณาราม ( วัดเขาโป๊ะ)

บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๓ ใกล้น้ำตกหน้าเมือง มีพระซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อแดง หรือ หลวงพ่อแดง ปิยะสีโล ( ท่านพระครูสมถกิตติคุณ) มรณภาพไปแล้วแต่ศพไม่เน่าเปื่อย บรรจุในโลงแก้ว ในท่านั่งวิปัสสนากรรมฐาน

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 774 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์