รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

หมู่บ้านพุมเรียง สุราษฎร์ธานี

tour-phum-riang-village-surat-thani

พุมเรียง
ชุมชนเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ ตั้งอยู่ริมคลองพุมเรียงซึ่งไหลลงทะเลที่แหลมโพธิ์ แหล่งจอดเรือสินค้า ในเส้นทางการค้าข้ามสมุทรตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือสินค้าจากจีนไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง หรือเป็นที่รู้จักกันในนามเส้นทางสายแพรไหมทางทะเล จากการสำรวจทางโบราณคดีเมื่อครั้ง พ.ศ.2524 พบซากเรือบริเวณแหลมโพธิ์ เป็นสิ่งยืนยันถึงการเป็นที่จอดเรือของชาติต่าง ๆ และจากการขุดหลุมสำรวจเพื่อสุ่มตัวอย่าง พบหลักฐานที่ชี้ว่าแหลมโพธิ์เป็นเมืองท่าทางพาณิชย์นาวีที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 และและคงสืบเนื่องถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วย

อารยธรรมศรีวิชัยซึ่งเป็นวัฒนธรรมด้านศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ครอบคลุมอยู่หัวเมืองในแถบทะเลใต้ทั้งหมด ตั้งแต่อ่าวไทย จรดแหลมมลายู และอินโดนีเซีย และไม่ปรากฏว่าอิทธิพลของศรีวิชัยแผ่ขยายด้วยการสงคราม ครั้นเมื่อเรามีหลักฐานของความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรศรีวิชัยในบริเวณเมืองโบราณไชยา ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินมาก จึงเป็นไปได้ว่าอารยธรรมศรีวิชัยและความเจริญที่ไชยา แผ่ขยายไปจากเมืองพุมเรียงที่อยู่ต้นทาง และใกล้เส้นทางเดินเรือทะเล ซึ่งน่าจะเป็นการชี้ว่าพุมเรียงเกิดขึ้นก่อนเมืองไชยาที่บ้านเวียงเสียด้วยซ้ำ

ชื่อเมืองพุมเรียง อาจจะมาจากชื่อของต้นโพธิ์ ซึ่งจากคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่าแต่ก่อนพื้นที่แถบนี้ ไปจนจรดริมทะเลทั้งสองด้านฝั่งคลอง เต็มไปด้วยต้นโพธิ์ที่ขึ้นอยู่เรียงราย จึงเรียกชื่อบ้านว่าบ้านโพธิ์เรียง ต่อมาจึงเพี้ยนไปเป็นบ้านพุมเรียง เหมือนที่เรียกแหลมใหญ่ชายทะเลนั้นว่าแหลมโพธิ์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2328 เกิดศึกพระเจ้าปะดุง แห่งพม่ายกทัพมารุกรานหัวเมืองปักษ์ใต้ ตีได้เมืองระนอง เมืองตระ ( กระบุรี) เมืองชุมพรได้โดยง่าย แล้วเผาเมืองชุมพรเสียก่อนที่จะยกลงมาตีเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชต่อไป ปรากฏว่าเมืองไชยาถูกพม่าเผาเสียในคราวนั้นด้วย หลังจากเมืองไชยาถูกพม่าทำลายเผาเมืองเสียหายมากเกินกว่าจะบูรณะได้ในเวลาอันสั้น จึงได้ย้ายเมืองจากบ้านเวียง ไปตั้งใหม่ที่ ชายทะเลนอกค่าย ตำบลพุมเรียง เนื่องจากบริเวณปากคลองพุมเรียง มีบ้านผู้คนหนาแน่น เป็นท่าเรือทั้งเรือประมงและเรือค้าขาย จึงเป็น ชุมชนที่เจริญมานาน เพราะสะดวกต่อการติดต่อค้าขายและการคมนาคมกับหัวเมืองอื่นๆ อยู่ใกล้ทะเลมาก และมีวัดเก่าอยู่ 2 – 3 วัด ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา คือ วัดรอ ( สมุหนิมิต) วัดโพธาราม เป็นต้น

เมืองพุมเรียงเติบโตขึ้น อย่างรวดเร็ว มีผู้คนจากถิ่นอื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกันมากขึ้น โดยเฉพาะชาวมุสลิม ที่มีถิ่นฐานเดิมที่สงขลา ปัตตานี เมืองไทรบุรีในมาเลซีย และที่มาจากอินโดนีเซียก็มี ชาวมุสลิมที่พุมเรียงแต่เดิมนั้นชำนาญการทำประมง ส่วนสตรีมุสลิมก็มีฝีมือทางด้านทอผ้า และยังเป็นประเพณีที่หญิงสาวต้องทอผ้าเป็น และทอผ้าไว้ใช้กันเอง มีการทอผ้าฝ้ายที่ใช้กันในครัวเรือน และผ้าไหมที่ใช้ในพิธีต่างๆ การเข้ามาอยู่ร่วมกันของกลุ่มมุสลิมจากพื้นเพต่างๆกัน ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม และถ่ายทอดเอกลักษณ์เดิมที่มีมาก่อนให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการทอผ้าไหมยกดิ้นเงินดิ้นทอง หรือยกไหม ซึ่งต่างจากผ้าไทยในสมัยนั้น

tour-phum-riang-village-surat-thani

การทอผ้าไหมพุมเรียง เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ของกลุ่มคนไทยมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหัวเลน หมู่ 2 บริเวณริมคลองพุมเรียง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้สืบทอดมาหลายชั่วคนตั้งแต่สมัยตอนปลายกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธพื้นเมืองในท้องถิ่น ผ้าไหมพุมเรียงมีลักษณะเด่นที่ต่างจากผ้าไหมของภาคอื่นๆ คือ การทอยกดอกด้วยไหมและดิ้น โดยมีผ้าทอยกที่มีชื่อเสียง คือ ผ้ายกชุดหน้านาง ผ้ายกดอกถมเกสร และผ้ายกดอกลายเชิง เป็นต้น และเครื่องมือที่ใช้ทอในสมัยก่อน ได้แก่ หูก จึงเรียกการทอผ้าว่าทอหูก ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของหญิงทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมที่ต้องเตรียมไว้ให้ครอบครัว ผ้าที่ทอในช่วงนั้นแบ่งออกเป็นผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันและผ้าที่ใช้ในงานและพิธีต่างๆ ซึ่งผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันนั้นส่วนใหญ่ใช้ผ้าฝ้ายทอเพื่อความทนทาน สำหรับผ้าที่ใช้ในงานและพิธีการต่างๆ จะทอด้วยไหมหรือผ้าฝ้ายแกมไหม มีลวดลายทอดอกสวยงาม ใช้นุ่งเข้าเฝ้าหรือนุ่งในงานนักขัตฤกษ์ งานบุญ งานแต่งงาน

ในปี พ.ศ. 2542 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้ามาสนับสนุนการรวมกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ในโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว และชาวบ้านได้มีการรวมตัวกันจัดตั้ง “กลุ่มผ้าไหมพุมเรียง” ขึ้น ซึ่งจากการที่กลุ่มนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายตามงานแสดงสินค้าต่างๆ และจำหน่ายที่กลุ่มเอง

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 652 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์