รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

7 ประวัติ อื่นๆ สุราษฎร์ธานี

tour-history-miscelleneous-domestic

ประวัติ อื่นๆ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

tour-history-surat-thaniตราประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัด
พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 และเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

ต้นไม้ประจำจังหวัด        เคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)

ดอกไม้ประจำจังหวัด      ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii) ตั้งอยู่อำเภอพนม

คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ

คำขวัญประจำจังหวัดในอดีต
แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี
"สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าทองอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย"

สุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนพื้น เมือง ได้แก่ พวกเซมัง และมลายูดั้งเดิม ชึ่งอาศัยอยู่ ในเขตลุ่มน้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) และบริเวณอ่าวบ้านดอน ก่อนที่ชาวอินเดียจะอพยพเข้ามา ตั้งหลักแหล่ง และเผยแพร่วัฒนธรรม ดังปรากฏหลักฐาน ในชุมชนโบราณที่ อ. ท่าชนะ อ.ไชยา เป็นต้น

ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 13 มีหลักฐานปรากฏว่าเมืองนี้ได้รวมกับอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลง จึงแยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน และยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่าเมือง"กาญจนดิษฐ์" ครั้นเมื่อมีการปกครองแบบมณฑล ได้รวมเมืองทั้งสามเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองไชยา ต่อมา พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา มาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองแห่งคนดี

ประวัติความเป็นมา

ในทางประวัติศาสตร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประวัติความเป็นมาสืบแต่เมืองกาญจนดิษฐ์ถ้ากล่าวถึงในเขต จังหวัดสุราษฎร์ธานีปัจจุบันก็มีเมืองโบราณเก่าแก่หลายเมืองเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งชุมชน
กระจายอยู่หลายจุด จึงเกิดเมืองโบราณอยู่รอบบริเวณอ่าวบ้านดอน ได้แก่เมืองต่าง ๆ ดังนี้

1. เมืองไชยา   เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในคาบสมุทร แหลมมลายูตอนเหนือสุด ตั้งแต่อ่าวชุมพรถึงอ่าวบ้านดอน มีศูนย์กลางอยู่แถบที่ราบลุ่มคลองไชยา เป็นเมืองที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 อารยธรรมที่สั่งสมมามีตั้งแต่ครั้งศาสนาพราหมณ์เข้ามาเจริญรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ 11 - 14 ขณะเดียวกันพุทธศาสนาแบบเถรวาทก็เข้ามาเจริญควบคู่อยู่ด้วยกัน ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 และเมืองไชยามีชื่อเสียงมาก เมื่องครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยพุทธศาสนาลัทธิมหายานได้เข้ามาเจริญแพร่หลาย หลังจากนี้เมืองไชยาก็ยังคงมีอยู่แต่ลดบทบาทความสำคัญ ลงไปมาก เมื่องแรงกระตุ้นจากวัฒนธรรมและการเมืองจากภายนอกเสื่อมลงไป เมืองไชยาก็มีพัฒนาการของตัวเองสืบต่อมาและมีชื่อเเรียกว่า "เมืองบันไทยสมอ"   อันเป็นเมือง 12 นักษัตร   ของเมืองนครศรีธรรมราช

2. เมืองเวียงสระ    เป็นเมืองโบราณอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเมืองไชยา แต่มีอายุสั้นกว่า ตั้งอยู่ในแถบที่ราบลุ่ม แม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวง มีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ ริมฝั่งขวาของแม่น้ำตาปีหรือแม่น้ำหลวง เป็นเมืองที่มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 หรือ 16 หลังจากนี้ก็ดูจะเลิกร้างไป เนื่องจากสภาพสถานที่ตั้งเมืองไม่เหมาะสม อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ การคมนาคมติดต่อกับเมืองอื่นลำบาก โดยเฉพาะการติดต่อกับเมืองอื่นทางทะเลทำไม่ได้คล้ายกับเป็นเมืองปิด แม้จะมีเมืองท่าอยู่ปากอ่าว แต่ก็ยังอยู่ไกลไปมาลำบาก การติดต่อค้าขายให้เจริญ ขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บก็มิใช่น้อย จึงต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปอยุ่ที่อื่น ภายหลังส่งผู้คนกลับมาบุกเบิกอีก ก็เป็นเพียงการขยายชุมชน สร้างสมเสบียงกรัง และเพื่อแสวงหาโภคทรัพย์บำรุงบ้านเมือง

3. เมืองคีรีรัฐนิคม   เป็นเมืองขนาดเล็ก ชุมชน เกิดขึ้นมาแต่โบราณแล้วเดิมเป็นเมืองบริวารของเมืองเวียงสระ เรียกกันว่าเมือง "ธาราวดี" บ้าง "คงคาวดี" บ้าง ซึ่งชื่อเมืองนี้คงตั้งตามนามบ้านและรูปลักษณะของภุมิประเทศนั่นเอง เพราะบริเวณท้องที่ตั้งเมืองมีแม่น้ำไหลผ่านวกเวียนอยู่ระหว่างภูเขาและเมืองเดิมตั้งอยู่ที่บ้านน้ำรอบ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองคีรีรัฐนิคม เพราะมีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนตั้งอยู่โดยรอบท้องที่ และสายน้ำไหลวกเวียนอยู่ระหว่างภูเขาตลอดสายราว พ.ศ.2439จึงได้ยุบลงเป็นอำเภอและเรียกอำเภอคีรีรัฐนิคม มีโบราณสถานที่เก่าแก่ไม่มากนัก เนื่องจากมิได้เป็นเมืองศูนย์กลางทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านควบคุมเส้น ทางเดินบกข้ามแหลมมลายู     ระหว่างฟากทะเลตะวันตกกับฟากทะตะวันออก จึงพบโบราณศิลปะวัตถุน้อยคือ พบเทวรูปพระนารายณ์ศิลปที่ถ้ำสิงขรและพบพระพิมพ์ดินดิบแบบศรีวิชัยแถบถ้ำในเขา เขตอำเภอพนม และได้พบกลองมโหระทึกวัฒนธรรมดองซอนในบริเวณใกล้เคียงบ้าง เป็นต้น

4. เมืองพุนพิน
เป็นเมืองขนาดเล็กเช่นเดียวกับเมืองคีรีรัฐนิคม แต่ก็จัตวามีขนาดใหญ่และมีความสำคัญกว่าเดิมเรียกว่า "พุนพิน" เป็นเมืองที่มีอายุรุ่นเดียวกับเมืองเวียงสระและเมืองไชยา เป็นเมืองบริวารของเมืองเวียงสระ ทำหน้าที่เป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายทางทะเล เมืองพุนพินมีความสำคัญมากเนื่องจากตั้งอยู่ตรงชุมทาง หรือศูนย์กลางคมนาคมถึง3 - 4 ทาง คือเส้นทางเดินเรืองติดต่อกับเมืองคีรีรีฐนิคมตามลำน้ำพุมดวง ติดต่อกับเมืองเวียงสระพระแสง และคลองอิปันคลองสินปีนข้ามไปคลองท่อมหรือฝั่งทะเลตะวันตก ได้ติดต่อกับเมืองต่าง ๆ แถบชายฝั่งทะเล เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช เป็นต้น เมืองพุนพินจึงเหมาะที่จะเป็นเมืองท่าเรือสำหรับรับส่งสินค้าและมีชื่อเสียงมากจนนักจดหมายเหตุจีนได้บันทึก กล่าวถึงไว้ที่เรียกว่า "ท่าข้าม" ก็อยู่ตรงจุดศูนย์กลางนี้ด้วย ตัวเมืองพุนพินไม่มีคันคูเมือง เนื่องจากภุมิประเทศส่วนมากเป็นที่ราบ เมืองจึงตั้งอยู่บริเวณดดยรอบปากน้ำสามแพรกกระจายออกไป เนื่องจากเนื้อที่การเพาะปลูกทำนามีจำกัด ฤดูหลากมักจะท่วมเสียหาย ศาสนสถานสำคัญจึงมักสร้างขึ้นตามตีนเขาเชิงเขา   หรือบนควนภูเขา เช่น บนควนท่าข้าม (สวนสราญรมย์) เขาศรีวิชัย เมืองพุนพินคงจะเป็นเมืองท่าเรือติดต่อค้าขายทางทะเลมีชื่อมานาน ตรงกับชื่อเมือง พาน - พาน หรือ พัน - พัน ในจดหมายเหตุจีน และเป็นท่าเรือใหญ่ประจำอ่าวบ้านดอน จึงได้พบโบราณศิลปวัตถุบริเวณนี้เป็นอันมาก

5. เมืองท่าทอง
เป็นเมืองค่อนข้างใหญ่ มีการติดต่อและมีความสัมพันธ์กับเมืองคีรีรัฐนิคมด้วย   เดิมทีเดียวก็เป็นเมืองขนาดเล็ก ต่อมาภายหลังเจริญเติบโตรวดเร็วมาก เพราะมีพื้นที่ทำเกษตรกรรมมาก และได้ติดต่อใกล้ชิดกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเป็นเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราชด้วย จึงมีชื่อเสียงอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองสะอุเลา"   และเข้าใจว่าอาจจะเป็นชื่อเมืองเดิมก็ได้ เนื่องจากจุดที่ตั้งเป็นตัวเมืองท่าทองนั้นดูจะตั้งใหม่ภายหลังที่บ้านสะท้อนเมืองท่าทองเก่าหรือเมืองสะอุเลา เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ตลอดลุ่มน้ำท่าทองอุแท และบริเวณที่ราบลุ่มคลองกะแดะควบคู่กัน จุดศูนย์กลางเดิมคงจะอยุ่แถว ๆ บ้านข้อศอก ตำบลท่าอุแท เนื่องจากมีโบราณวัตถุสถานสำคัญรุ่นเก่าอยู่มาก แต่น่าเสียดายที่ชำรุดสูญหายถูกทำลายไปมากต่อมาก อายุของเมืองท่าทองคงอยุ่ที่ราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 เป็นต้นมา แต่โดยแท้จริงแล้วเมืองท่าทองเก่ามีอายุสูงกว่านี้ แต่เนื่องจากชุมชนกระจายอยุ่หลายแห่ง และอายุไม่เท่ากัน กล่าวคือ ในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน เราได้พบโบราณศิลปวัตุมากมายหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา จากการสำรวจพบว่าบริเวณตำบลช้างขวาและตำบลเขตใกล้เคียงเป็นชุมชนเก่าแก่ และที่วัดถ้ำคูหา มีศิลปกรรมสมัยทวารวดีจำนวนมากและสำคัยยิ่ง ฝีมือช่างสูง และตามถ้ำตามเขาในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ได้พบพระพิมพ์แบบทวารวดีศรีวิชัยอยู่เป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่า เมืองสะอุเลาหรือเมืองท่าทอง เป็นเมืองเก่ากว่าที่เข้าใจกันแต่เดิม และเมืองท่าทองย่อมหมายถึงลุ่มน้ำกะแดะด้วย

ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชปราบพม่าข้าศึกราบคาบหมดแล้ว   แต่หลวงนายสิทธิ์  ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระ นับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาและไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังนั้นใน พ.ศ. 2312 จึงโปรดให้กองทัพบกยกลงมาทางชุมพร ไชยา ยกทัพข้ามแม่น้ำ หลวงที่บ้านท่าข้ามส่วนทัพเมืองนครศรีธรรมราชออกมารับทัพ กรุงโดยตั้งค่ายมั่นที่บ้านท่าหมากอำเภอบ้านนาสารการทำศึก-สงครามกันย่อม ทำให้ผู้คนพลเมือง ในท้องถิ่นต้องกระทบกระเทือนเดือดร้อนด้วย

ดินแดนประวัติศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอนถือเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยที่สะสมอารยธรรม และสืบทอดกันมายาวนานจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนแห่งนี้ทำใหทราบว่าสภาพภูมิศาสตร์ให้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาการ ของเมืองเป็นอย่างยิ่งสุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองที่ถูกจัดตั้งด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอนเป็นกลางชุมชนเมือง ที่ถูกจัดตั้งด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอนเป็นศูนย์กลางการค้าขายนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยพัฒนามาพร้อมๆชุมชนโบราณอีกหลายแห่งที่อยู่บริเวณรอบอ่าวบ้านดอน ประกอบด้วยชุมชนเมืองสำคัญ ๆในอดีตดังต่อไปนี้

1.  เมืองไชยา
2.  เมืองเวียงสระ
3.  เมืองคีรีรัฐนิคม
4.  เมืองท่าทอง

สุราษฎร์ธานีเป็นเมืองแห่งนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ทรงพระราชทานนามสะพานข้ามแม่น้ำตาปีว่า " สะพานจุลจอมเกล้า " และเขื่อนเชี่ยวหลานในอำเภอบ้านตาขุนว่า " เขื่อนรัชประภา "

การปกครอง

สุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ อำเภอเมือง อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิยม อำเภอพนม อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย อำเภอดอนสัก อำเภอไชยา อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านตาขุน อำเภอเกาะพะงัน อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอชัยบุรี และกิ่งอำเภอวิภาวดี

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่
ทิศตะวันออก ติดต่ออ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง

 

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 806 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์