รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ยุคของงานแห่เทียนเข้าพรรษา อุบลราชธานี

สารบัญ

ยุคต่างๆ ของงานแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
ความเชื่อที่ว่า เทียน คือ แสงสว่าง เพราะแสงสว่างในทางนามธรรมก่อให้เกิดปัญญา ในทางรูปธรรมแสงสว่างขจัดความมืด ดังนั้น การให้แสงสว่างเป็นทานนับว่ามีประโยชน์ ทั้งให้แสงสว่างที่เป็นแสงสว่างจริงๆ และการให้แสงสว่างทางปัญญา ดังนิทานชาดกเมื่อครั้งพุทธกาล เรื่องวานรถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธองค์ที่ป่าชายเมืองโกสัมพี ทำให้วานรได้รับผลานิสงส์ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรเป็นบริวารนับพัน และเรื่องพระอนุรุทธะพุทธสาวก ผู้มีปัญญาเฉียบแหลมเฉลียวฉลาด รู้อรรถ รู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน เป็นที่เลื่องลือในหมู่พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พระพุทธองค์ตรัสว่า ในชาติปางก่อน พระอนุรุทธะนั้น ได้ถวายแสงสว่าง (แสงประทีป) เป้นทาน จึงเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด หลักแหลม คนโบราณโดยเฉพาะคนภาคอีสาน มีความเชื่อตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า อานิสงส์ของการถวายเทียนนั้นหากมิได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์แต่เกิดในโลกมนุษย์ ผู้นั้นจะมีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาไหวพริบเลอเลิศประดุจแสงเทียนอันสว่างไสวเฉกเช่นพระอนุรุทธะ ดังนั้น จึงมีการถวายน้ำผึ้ง ประทีปโคมไฟ และเทียน เพื่อให้เกิดแสงสว่างเป็นพุทธบูชาปฏิบัติ สืบต่อกันมาแต่ครั้งพุทธกาล

ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดีจึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ชาวเมืองอุบล นอกจากยึดมั่นศรัทธาพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแล้ว ยังมีความเชื่อถือตามศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอยู่แต่เดิม ดังนั้นจึงเชื่อถือทั้งสิ่งที่มีเหตุผลตามหลักศาสนาพุทธ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ มีการจัดทำเทียนขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลตามเความเชื่อถือของตน เรียกว่า เทียนมงคล อาจจำแนกเทียนมงคลตามลักษณะต่างๆ ดังนี้

๑. จำแนกเทียนมงคลตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นเทียนเวียนหัว มีขนาดความยาวของเทียบเท่ากับความยาวที่ได้จากการวัดโดยรอบศรีษระ (เวียน เป็นภาษาอีสาน แปลว่า รอบ) เทียบค่าคืบมีขนาดความยาวของเทียบเท่ากับปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางที่เหยียดตรง (ค่า เป็นภาษาอีลาน แปลว่า เท่ากับ) เทียบค่าศอก มีขนาดความยาวของเทียนเท่ากับความยาวจากปลายนิ้วกลางที่เหยียดตรงถึงข้อศอก และเทียนค่าคีง มีขนาดความยาวของเทียบเท่ากับความยาวที่วัดจากซอกคอตรงใต้คางถึงสะดือ (คีง เป็นภาษาอีลาน แปลว่า ตัวหรือร่างกาย)

๒. จำแนกเทียนมงคลตามส่วนประกอบของชีวิตคือเทียนขันธ์ ๕ จัดทำขึ้นตามคติทางพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าชีวิตเป็นกระบวนการทางกายและจิต ส่วนประกอบของชีวิตที่สำคัญมี ๕ ประการเรียกว่า ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ เทียนขันธ์ ๕ จะมีขนาดเท่ากับเทียนค่าคืบ จำนวน๕ คู่ หรือ ๑๐ เล่มเท่านั้น และเทียนขันธ์ ๘ เข้าใจว่า จะเป็นการขยายความขันธ์ ๕ ให้เพิ่มมากขึ้นเป็น ๘ เพื่อให้ตรงกับมรรค ๘ ในทางพุทธศาสนาเทียนขันธ์ ๘ จะมีขนาดเท่ากับเทียนค่าคืบเช่นเดียวกัน จำนวน ๘ คู่ หรือ ๑๖ เล่มเท่านั้น

๓. จำแนกเทียนมงคลตามลักษณะเฉพาะ เขียนประเภทนี้แบ่งตามรูปลักษณะหรือโอกาสที่ใช้งานที่สำคัญ มี ๔ อย่าง คือ
- เทียนชัยใช้ในพิธีสมโภชพระพุทธรูป หรือพิธีพุทธาภิเษกเพื่อให้ผู้เป็นประธานในพิธีจุดเทียนชัยแสดงถึงการรวมจิตใจของบุคคลในที่ประชุม นั้น

- เทียนแพใช้ในพิธีใหญ่ ๆ หรือลำคัญ ๆ เพื่อแสดงถึงความเคารพ หรือสักการะบูชา จึงไม่นิยมใช้จุดไฟ อาจใช้ในการไหว้ผู้ใหญ่ก็ได้

- เทียนพุ่มใช้ในพิธีทางพุทธศาสนาเช่น พุ่มเทียนเข้าพรรษา ซึ่งคนสมัยก่อนนิยมทำกันมาก หรือจะใช้ในพิธีพราหมณ์เพื่อสักการะดวงวิญญาณผู้ตายก็ได้

- ต้นเทียนมีลักษณะเป็นลำต้นคล้ายต้นไม้ หรือต้นเสาจึงมักมีขนาดใหญ่นิยมจัดทำขึ้นในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ชาวเมืองอุบลจัดเป็นเทียนมงคลที่สำคัญยิ่ง ได้มีการคิดประดิษฐ์สร้างต้นเทียนพรรษาให้มีความสวยงามวิจิตรบรรจง จนเป็นมูนมังภูมิปัญญาให้ลูกหลาน สืบสานงานประเพณีอันดีงามที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติในปัจจุบัน

 


ชาวอุบล พลเมือง เมืองนักปราชญ์ เป็นผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลม เชื่อว่าเป็นมรรคผลที่เกิดจากการถวายเทียนพรรษา ดังนั้น ในฮีตสิบสองของคนอีสาน หนึ่งในสิบสองฮีตนั้น เรียกว่า บุญเดือน ๘ หรือบุญเข้าพรรษา เนื่องจากในช่วงฤดูฝน ๓ เดือน ซึ่งเป็นช่วงแห่งฤดูกาลของการทำนา พระพุทธองค์ทรงเกรงว่าภิกษุสงฆ์จะจาริกไปตามท้องทุ่งนา อันเป็นที่เพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารของชาวบ้าน ก่อให้เกิดดวามเสียหาย และเป็นภาระแก่ญาติโยมที่จะติดตามอุปัฏฐาก (อุปถัมภ์) ประกอบกับการเดินทางลำบาก จึงทรงบัญญ้ติพระวินัยให้ภิกษุสงฆ์ต้องอยู่จำพรรษาที่วัดของตนเอง เพื่อศึกษาพระไตรปิฎก บำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์จนครบไดรมาส ห้ามภิกษุสงฆ์เดินทางและรอนแรมค้างคืนที่อื่น แต่เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีตะเกียง หรือไฟฟ้า ในยามค่ำคืนจำต้องอาศัยไต้ หรือกะบองจุด เพื่อให้แสงสว่าง ซึ่งมักจะดับง่าย มีควันและเขม่าดำเป็นจำนวนมากจับผนังหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ อีกทั้งได้มักมีกลิ่นเหม็นของน้ำมันยาง รบกวนสมาธิในการศึกษาพระธรรมวินัย ญาติโยมผู้อุปัฏฐากเห็นความจำเป็นของภิกษุสงฆ์ ประกอบกับเมืองอุบลมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิด รวมถึงผึ้งจำนวนมาก จนได้รับการกล่าวขานว่า “ดงอูผึ้ง”

จึงได้คิดทำเทียนจากขี้ผึ้งถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อจุดไฟให้แสงสว่างแทนไต้ หรือกะบอง โดยนำรังผึ้งที่ไม่มีตัวผึ้งและเอาน้ำผึ้งออกหมดแล้ว นำมาต้มหรือนึ่งจนได้น้ำมันผึ้ง คนอีสานเรียกวิธีการนี้ว่า “เรียงเผิ่ง” นำมาทำเป็นงบผึ้ง ลักษณะเป็นก้อนครึ่งวงกลมคล้ายขนมครก หรืองบน้ำอ้อย คนอีสานเรียกว่า “เปี่ยงเผิ่ง” จากนั้นใช้เส้นฝ้ายซึ่งมีอยู่ตามบ้านต่าง ๆ จำนวนเส้นเท่ากับอายุ พันรวมกันเป็นเส้นใหญ่ ทำเป็นไส้เทียน นำเวียนรอบหัวของทุกคนในครอบครัว โดยเริ่มจากหว่างคิ้วเวียนไปทางด้านขวามือ และวนไปด้านหลังจนมาบรรจบจุดเดิม ใช้น้ำหมากแต้มทำเป็นเครื่องหมายไว้ที่ไส้เทียน เหตุที่ใช้น้ำหมากเนื่องจากผู้คนสมัยก่อนนิยมเคี้ยวหมากเป็นประจำทำให้สะดวกไม่ต้องยุ่งยากหาสีมาทำเครื่องหมาย จากนั้นนำขี้ผึ้งที่ลนไฟหรือตากแดดจนอ่อนตัวมาฟั่นรอบไจฝ้ายที่มีน้ำหมากแต้มไว้ให้พอดี จะได้เทียนเป็นเล่มเรียกว่า เทียนเวียนหัว

เมื่อเวลาจุดไฟแล้วจะลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง มีควันไม่มากเท่าไต้ สะดวกแก่การนำไปถวายวัดอาจทำเป็นเล่มเทียนขนาดเล็ก ใหญ่ สั้น ยาว ต่าง ๆ กัน ตามต้องการ จากนั้นนำเทียนแต่ละเล่มของทุกคนในครอบครัวมาพันรวมกันพร้อมกับสิ่งของอื่น ๆ เช่น ผ้าอาบน้ำฝน เครื่องไทยทาน อาหารแห้ง จำพวกข้าวสาร พริก เกลือ และอื่น ๆเรียกว่า เครื่องถวายประจำพรรษา แต่ละครอบครัวนำไป ถวายเป็นพุทธบูชาที่วัดใกล้บ้าน คำว่า “เวียนหัว” มีบทสักการะอยู่บทหนึ่ง ซึ่งแปลความหมายได้ว่า “ขอน้อมสักการะกราบพระรัตนตรัยดวยเศียรเกล้า” ดังนั้นการที่ใช้เทียนเวียนหัว จึงเป็นการแสดงออกด้วยการ ก้มลงกราบ

นายบำเพ็ญ ณ อุบล เล่าว่า ในสมัยโบราณ นอกจากเทียนฟั่นหรือเทียนเวียนหัว ซึ่งชาวบ้านทำขึ้นสำหรับนำไปถวายพระสงฆ์ ทั่วไปแล้วยังมีเทียนพิเศษอีกชนิดหนึ่ง คือ เทียนกาบ หรือเทียนสี ที่ชาวบ้านโดยทั่วไปในภาคอีสานนิยมทำให้ผู้ที่จะบวชนำไปถวายพระอุปัชฌาย์ ๑ ต้น พระคู่สวด ๑ ต้น และพระอนุศาสน์ ๑ ต้น รวมเป็น ๓ ต้น พร้อมกับเครื่องไทยทาน ภายหลังจากเสร็จพิธีกรรมทางสงฆ์ เทียบกับภาคกลางก็คือ กรวยอุปัชฌาย์นั่นเอง ลักษณะของเทียนกาบ หรือเทียนสี จะประกอบด้วยเทียนที่ทำเป็นกาบ มีลวดลายนำไปติดเข้ากับแกนที่ทำจากไม้ไผ่ ปักอยู่บนลูกมะพร้าวอ่อนที่ตกแต่งให้สวยงามแล้ว โดยนำเทียนซึ่งพิมพ์จากแบบที่ทำด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปใบขนุนติดรอบแกนไม้ไผ่ บริเวณโคน ๔กาบ และที่ยอด ๔ กาบ แล้วประดับด้วยเส้นเทียนฟั่น ๔ เล้น ที่โค้งปลายออกคล้ายเส้นเกสรดอกไม้

***ป้จจุบันอยู่ที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย สามเหลี่ยมมรกตครอบคลุม พื้นที่อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวยท และอำเภอบุณฑริก เนื่องจากทีดงอู่ผี้งแห่งนี้มีน้ำผึ้งที่ดีทีสุดในประเทศไทย สำนักพระราชวังโดยกองพระราชพิธีได้มีหนังสือถึงเรือตรีดนัย เกตุศิริ ผู้ว่าราชการจังmัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น ขอให้อำนวยความสะดวกแก่ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังในการตั้งค่ายพักแรมนำรวงผึ้งจากอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยไปทำงบผึ้งเพื่อ ทำเทียนพระราชทานให้กับพระอารามหลวง และเป็นที่มาของเทียนหลวงพระราชทานเพื่อเป็นเทียนชัยมิ่งมงคล นำขบวนแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราขธานีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒เป็นต้น มาจนกระทั่งป้จจุบัน

การเกิดงานแห่เทียนพรรษาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดหนึ่ง ในภาค อีสานที่ได้รับอิทธิพลคติความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของการถวายขี้ผึ้ง และ การถวายแสงสว่างเป็นทาน ซึ่งเมื่อผนวกกับความเชื่อเรื่องฮีตสิบสองคองสิบสี่ในงานบุญเดือนแปดหรืองานบุญเข้าพรรษา ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของรวงผึ้งจนมีชื่อเรียกว่า“ดงอู่ผึ้ง”เข้าด้วยกันแล้ว ส่งผลให้พิธีการถวายเทียนที่ทำมาจากขี้ผึ้งเพื่อให้ความสว่างแด่พระสงฆ์ถือกำเนิดขึ้น

แม้ไม่มีหลักฐานที่จะระบุว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีการถวายเทียนพรรษาในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเมื่อ ปีพ.ศ.ใด หากแต่เชื่อว่าอย่างน้อยที่สุด อิทธิพลของคติความเชื่อเรื่องฮีตคอง ดังกล่าวน่าจะชี้ให้เห็นได้ว่ามีงานแห่เทียนพรรษาเกิดขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานีและได้มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานมาแล้ว นั่นเอง

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1096 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์