รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ภาพรวมในทางพุทธศาสนา อุบลราชธานี

ภาพรวมในทางพุทธศาสนา

จากเอกสารที่ปรากฏนับตั้งต่จังหวัดอุบลราชธานีได้เริ่มจัดงานแห่เทียนพรรษากระทั่งงานแห่เทียนพรรษาเป็นที่รู้จักทั้งในระดับประเทศและขยายสู่ระดับนานาชาติพบว่ามีอายุราวหนึ่งศตวรรษมาแล้ว กล่าวได่ว่า เทียนพรรษาและงานแห่เทียนพรรษานับเป็นสัญญะ ทีผูกพันกับชีวิตวัฒนธรรม ของชาวจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับบัวสายหรือบัวอุบล อย่างไรก็ดีแม้การบอกเล่าเรื่องราวของเทียนพรรษาและงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีจะปรากฏอยู่ในเอกสารจำนวนมาก หากแต่ยังมิได้มีการรวบรวมอย่างชัดเจนและสมบูรณ์ทั้งคดีความเชื่อและความเป็นมา

ประเพณีเข้าพรรษากับความเชื่อในพุทธศาสนา
วันเข้าพรรษาตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
เข้าพรรษาแปลว่า “พักฝน” ซึ่งหมายถึง การที่พระสงฆ์จะต้องอยู่ประจำวัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน เนื่องจากในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์มีหน้าที่จาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทว่าในช่วงฤดูฝนการจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ จำเป็นต้องผ่านไร่นาที่ชาวบ้านปลูกกล้าเอาไว้ทำให้พระสงฆ์ต้องเหยียบกล้าของชาวบ้านเสียหาย และชาวบ้านได้กล่าวโทษพระสงฆ์ในพระวินัยปิฎกมหาวรรคภาค ๑ หมวด วัสสูปนายิกขันธกะ เลื่อนกาลฝน ได้ระบุถึงสาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อห้ามมิให้พระสงฆ์ต้องจาริกในช่วงฤดูฝนไว้ว่า
“..ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติการจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งมีชีวะยังสัตว์เล็กๆจำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียร์ถีย์เหล่านีเป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทรามยังพักยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า..”

การกราบทูลของพระลงฆ์ถึงเรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านต่อพระพุทธเจ้าทำให้พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระวินัยในเรื่องการจำพรรษาขึ้นในชั้นแรก ทรงบัญญัติให้วันเข้าพรรษามี ๒ ช่วงโดยช่วงแรกให้เริ่มต้นหลังจากวันอาสาฬหบูชาไปแล้ว ๒ วัน(คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) เป็นวันเข้าพรรษาต้น (ปุริมิกา) และช่วงหลังให้ เริ่มต้นหลังจากวันอาสาฬหบูชาไปแล้ว ๑ วัน(คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙) เป็นวันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมิกา) ดังข้อความว่า
“...ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวันเข้าพรรษานี้มี ๒ คือ ปุริมิกา วันเข้าพรรษาต้น ๑ ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษานี้มี ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ว ๑ วัน พึงเข้าพรรษาหลัง...”

แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงกำหนดให้พระสงฆ์ต้องอยู่จำพรรษาในช่วงฤดูฝนแล้ว ทว่ามิได้ทรงกำหนดระยะเวลาที่พระสงฆ์จะ จำพรรษาด้วย จึงทำให้พระสงฆ์บางรูปลักลอบออกไปตามสถานที่ต่างๆ และ เดินเหยียบไร่นาของชาวบ้านเช่นเดิม ซึ่งพระพุทธเจ้าต้องทรงบัญญัติพระวินัยอีกครั้งว่า เมื่อพระสงฆ์อยู่จำพรรษาแล้วจะต้องอยู่ตลอด ๓ เดือนไม่ว่าจะเข้าพรรษาต้น หรือ เข้าพรรษาหลัง ก็ตาม ถ้าพระสงฆ์รูปใดจำพรรษาไม่ครบตามเวลาดังกล่าว หรือหลีกเลียงไม่ยอมจำพรรษา หรือไม่ยอมจำพรรษาในวันเข้าพรรษาจะต้องผิดวินัยอาบัติทุกกฏ
“...แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่าดูก่อน ภิกษุทั้งหลายภิกษุจำพรรษาไม่อยู่ตลอด ๓ เดือนต้น หรือ ๓ เดือนหลังไม่พึงหลีกไปสูจาริก รูปใดหลีกไปต้องอาบัติทุกกฏ

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่จำพรรษาไม่ได้ รูปใดไม่จำพรรษาต้องอาบัติทุกกฏ

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ประสงค์จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา ไม่พึงแกล้งล่วงเลยอาวาสไปเสีย รูปใดล่วงเลยเสียต้องอาบัติทุกกฎ...”

แรกเริ่มของวันเข้าพรรษาในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้มี ๒ ช่วงนั้น ในเวลาต่อมา พระเจ้าพิมพิสาร เจ้าเมืองมคธ ได้ทรงขอให้พระพุทธเจ้าเลื่อนวันเข้าพรรษามาเป็น เดือน ๘ ซึ่งทรงเห็นชอบให้เป็นไปตามนั้น เนื่องจากทรงเห็นว่าการกำหนดให้มีวันเข้าพรรษาเพียงวันเดียวไม่ส่งผลกระทบต่อพระสงฆ์ที่จะจำพรรษาอยู่แล้ว

“...ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช มีพระราชประสงค์จะทรงเลื่อนกาลฝนออกไปจึงทรง ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ถ้ากระไรขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงจำพรรษาในชุณหปักษ์อันจะมาถึง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้คล้อยตามพระเจ้าแผนดิน... ”

การที่พระพุทธเจ้าโปรดให้เลื่อนวันเข้าพรรษาใช้วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เป็น วันเข้าพรรษาตามคำกราบทูลของพระเจ้าพิมพิสารนั้น ยังมีความเชื่ออีกว่าพระสงฆ์ที่จำพรรษาในพรรษาต้นจะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ ตลอด ๕ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว ได้แก่
- การเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา
- จาริกไปโดยไม่ต้องเอาจีวรไปครบลำรับ
- ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
- เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
- ได้รับสิทธิครองจีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้นๆและได้รับสิทธิกรานกฐิน

ด้วยเหตุนี้ ในเวลาต่อมาจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการยึดถือวันเข้าพรรษาเป็น วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เพียงวันเดียว ซึ่งมักจะเรียกว่า วันปุริมพรรษา นั่นเอง อย่างไรก็ดีในการจำพรรษาของพระสงฆ์นั้น ข้อปฏิบัติที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ พระสงฆ์จะ ต้องอธิษฐานใจหยุดพักอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ ไม่จำเป็นต้องเป็นวัด โดยห้ามมิให้พักค้างคืน ณ ที่อื่น ทั้งนี้หากมีความจำเป็นอื่นๆ เช่น มีกิจนิมนต์ ณ ที่แห่งใด หรือกิจของสงฆ์ อาทิ พระอุปัชฌาย์อาพาธโดยไม่สามารถกลับมาพำนักยังที่ซึ่งพระสงฆ์รูปนั้นจำพรรษาอยู่ได้ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พักแรม ณ ที่อื่นได้ไม่เกิน ๗ วัน หากเกินกำหนดนี้ให้ถือว่า ขาดพรรษาและถือว่า ผิดพระวินัยตามพุทธบัญญัติอีกด้วย

เห็นได้ชัดเจนว่าพระสงฆ์เริ่มมีการจำพรรษามาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ หรือ ประมาณ ๒๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว การที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษา ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นเวลานานๆ ในช่วงฤดูฝน ซึ่งจีวรเปียกน้ำฝน ทำให้ชาวบ้านดำริการถวายผ้าจำนำพรรษาหรือผ้าอาบน้ำฝนขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และถวายส่งของอื่นๆที่จำเป็นแด่พระสงฆ์ ในช่วงเข้าพรรษา อาทิ เทียนพรรษา เป็นต้น นอกจากนี้ การที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษาเป็นเวลานาน ทำให้มีเวลาสอนหนังสือและสอนธรรมะ แก่ชาวบ้านซึ่งนิยมให้บุตรหลานของตนบรรพชาเป็นสามเณรและอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ “เพื่อเรียนหนังสือและพระธรรมวินัย ”

ดังนั้น การถวายผ้าอาบน้ำฝน ตลอดจนสิ่งของที่จำเป็น รวมถึงการบวชเรียนในช่วงเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์ประกอบกิจในช่วงจำพรรษา จึงถือเป็นประเพณีปฏิบัติ เป็นต้นมากระทั่งปัจจุบัน

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 998 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์