รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วัดแม่พระเมืองลูห์ด หาดใหญ่ สงขลา

สารบัญ

LIST OF THE PARISH PRIESTS - HAAD YAI

N NAME FROM UNTIL
1. FR.RUZZEDDU MARIO 1941 1944
2. FR.OTTOLINA GIULIO 1944 1947
3. FR.CARNINI GIOBBE 1947 1952
4. FR.VITALI JOSEPH 1952 1954
5. FR.RUZZEDDU MARIO 1954 1957
6. FR.FORLAZZINI JOSEPH 1957 1964
7. FR.DELMOTTE MICHELLE 1964 1971
8. FR.MANE' NATALE 1972 1973
9. FR.DELORENZI FRANK 1973 1980
1O. FR.SOSIO VALENTINO 1980 1983
11. FR.TAPAI ELEUTERIUS 1983 1991
12. FR.SACCO FRANCIS 1991 1996
13. FR.TAMAYO JOHN 1996 1998
14. FR.VIW' CHENPHASUK PAUL 1998 2001
15. FR.NIPHON SARACHIT PETER 2001 2007
16. FR.JOHN LISSANDRIN 2007

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1956 คุณพ่อคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์รับผิดชอบการอภิบาลที่เบตง โดยคุณพ่อลีโน อินามา (และต่อมาคุณพ่อยอห์น เชเรซาโต ได้ไปสมทบช่วยงานที่อำเภอเบตงด้วย เป็นเวลา 1 ปี) จนถึง ปี ค.ศ.1960

คุณพ่อโยเซฟ ฟอร์ลาซซินี (Joseph Forlazzini)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส องค์ที่ 6
เมื่อคุณพ่อมารีโอ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงในปี ค.ศ. 1957 คุณพ่อโยเซฟ ฟอร์ลาซซินีได้รับมอบหมายเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสที่หาดใหญ่และเป็นรองอธิการด้วย โอกาสนี้ท่านได้เรียนภาษาจีนเพื่อสะดวกในการสื่อสารกับคนจีนในพื้นที่ท่านร้อนรนในการเอาใจใส่สัตบุรุษชาวจีน คุณพ่อได้อาศัย คุณครูจุงแสง (คุณครูเจริญศิลป์ เลิศวิทยาวิวัฒน์) เป็นผู้ช่วยคุณพ่อในการสอนคำสอนให้คนจีน นอกนั้นให้เดินทางกับคุณพ่อเวลาที่คุณพ่อไปทำมิสซาที่ทุ่งลุงหรือเบตง ทั้งยังช่วยคุณพ่อในการแปลคำสอนและการเทศน์สำหรับคริสตชนชาวจีน คุณพ่อยังได้เอาใจใส่ครอบครัวที่กระจัดกระจายทั่วไปตั้งแต่นครศรีธรรมราชถึงนราธิวาส จนถึงปี ค.ศ. 1964 ในปี ค.ศ. 1960 พระคุณเจ้าคาเร็ตโตได้ดำเนินเรื่องมอบวัดบ้านโป่ง ส่วนวัดหัวหินและวัดหาดใหญ่นั้นได้มอบที่ดินด้วย ทั้งการดำเนินงานกิจการวัดและที่ดินให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะซาเลเซียนอย่างเป็นทางการ โดยมีพันธะที่จะสร้างวัดถาวรด้วย

ในปี ค.ศ. 1964 คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท ได้มารับตำแหน่งคุณพ่อเจ้าอาวาส ท่านรับผิดชอบเฉพาะจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง ส่วนคุณพ่อยอแซฟ ไปอยู่ประจำที่เบตง

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1963 คุณพ่อฟรีเยรีโอไปอยู่ประจำที่จังหวัดยะลา คุณพ่อที่อยู่หาดใหญ่จึงรับผิดชอบจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล เพราะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคุณพ่อการ์โล กาเซตตา มาอยู่ประจำตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ดูแลรับผิดชอบสัตบุรุษที่นั่น

คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท (Michale Delmotte)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 7
ในปี ค.ศ. 1964 คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท (Fr. Michale Delmotte) ชาวเบลเยี่ยม ได้รับตำแหน่งเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสที่วัดแม่พระเมืองลูร์ด หาดใหญ่ มีคุณพ่อฟรังซิส ซัคโก (Fr. Francis Sacco) เป็นผู้ช่วย คุณพ่อเดลม๊อทเป็นคุณพ่อองค์แรกที่ทำงานที่วัดเต็มเวลาโดยมีผู้ช่วยด้วย เรื่องนี้รวมกับการที่อาณาเขตของวัดหาดใหญ่ลดน้อยมากแล้วทำให้คุณพ่อและผู้ช่วยได้เอาใจใส่งานอภิบาลที่หาดใหญ่และกลุ่มเล็กๆ ในอาณาบริเวณ โดยเฉพาะการสอนคำสอนให้เด็กในภาดฤดูร้อน

คุณพ่อซัคโกจะทุ่มเทเอาใจใส่สัตบุรุษที่ทุ่งลุง ทับโกบ คลองแงะ บางแก้ว พัทลุง และสตูล ที่ทุ่งลุง คุณพ่อได้ซื้อที่กลางหมู่บ้านและสร้างวัดถวายแด่พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นความตั้งใจของคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดหาดใหญ่ตั้งแต่ในสมัยของคุณพ่อยอบ การ์นินี ที่ทับโกบ คุณพ่อก็ได้ซื้อที่เหมือนกันและได้สร้างวัดน้อยเช่นเดียวกัน คุณพ่อเดลม๊อทเป็นผู้ที่ริเริ่มการสอนคำสอนภาคฤดูร้อนที่หาดใหญ่ และกระทำต่อเนื่องมา ทุกๆ ปี

ในปี ค.ศ.1968 คุณเสรีได้ถวายที่ดินทีเบ้านไร่ทางไปทุ่งลุงเพื่อเป็นที่เปิดสุสานคริสต์ต่างหากจากสุสานจีน และในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 มีการนเสกสุสานครั้งแรกที่นั่น

สร้างวัดใหม่ (หลังปัจจุบัน)
คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท (Fr. Michael Delmotte) มีความตั้งใจมาหลายปีแล้วว่า จะทำการสร้างวัดหลังใหม่ที่ถาวร เหมาะสมกับกลุ่มคริสตชนที่กำลังขยายตัวในเมืองหาดใหญ่

คุณพ่อเจ้าคณะและที่ปรึกษาจึงพิจารณาโครงการของคุณพ่อเดลม๊อท และอนุมัติให้มีการก่อสร้างวัดใหม่ (ดูมิติของที่ปรึกษาเจ้าคณะลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 1968 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1969) ในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1969 หลังจากที่ได้มีการเตรียมการมานานแล้ว คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท ได้ลงมือก่อสร้างวัดถาวรที่หาดใหญ่ โดยท่านเป็นผู้หาทุนเองเป็นส่วนมาก นอกนั้นคณะซาเลเซียนได้สมทบทุนในการก่อสร้าง มีช่างซาลอน เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มีพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1969 วัดนี้มีพิธีเปิดและเสกในวันที่ 4 ดุลาคม ค.ศ. 1970 โดยพระคุณเจ้าคาร์เรตโตเป็นประธาน

คุณพ่อนาตัล มาเน ( Fr. Natale Mane)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 8
เมื่อคุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท ได้สร้างวัดเสร็จแล้วท่านได้อยู่หาดใหญ่อีกไม่นาน และท่านจึงเดินทางกลับประเทศเบลเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1971

ในปี ค.ศ.1971 คุณพ่ออธิการโรงเรียนแสงทองวิทยา เป็นคุณพ่อเจ้าวัดที่หาดใหญ่ด้วย โดยคณพ่อซัคโกเป็นผู้ช่วย


คุณพ่อแฟรงค์ เดโลเรนซี (Fr. Frank Delorenzi)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 9
ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 คุณพ่อแฟรงค์ เดโลเรนซี ได้มารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแม่พระเมืองลูร์ด หาดใหญ่ คุณพ่อแฟรงค์อยู่หาดใหญ่เป็นเวลา 8 ปี ท่านได้เอาใจใส่อภิบาลกลุ่มคริสตชนที่หาดใหญ่และอาณาบริเวณด้วยใจร้อนรน อาทิเช่น บ้านทุ่งลุง ทับโกบ คลองแงะ บางแก้ว พัทลุง และสตูล เป็นอย่างดี ที่หาดใหญ่คุณพ่อมีความตั้งใจเป็นพิเศษ ที่จะพยายามสร้างหมู่คณะคริสตชนที่มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว ท่านจึงได้หาคูรสอนคำสอนสองคนมาช่วยงาน คือ คูรโสภา แซ่หลี และคูรยะหลาน (ภายหลังชื่อ ทัศนีย์ ซึ่งเข้าเป็นซิสเตอร์คามิลเลียน) ช่วยสอนคำสอนที่วัดทุ่งลุง ครูโสภาและครูยะหลานเป็นชาวเบตงที่คุณพ่อยอแซฟได้ส่งไปเรียนเป็นคูรคำสอนที่บาตูกะจา เมืองไตปิง ประเทศมาเลเซีย ต่อมาที่เบตงมีคุณพ่อบูเจียมาอยู่ ซึ่งรู้ภาษาจีนดีแล้วจึงไม่ต้องการครูคำสอนช่วย ต่อมาคุณพ่อแฟรงค์ได้คิดโครงการที่จะอบรมคูรคำสอนสำหรับทั้งสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีเพื่อเป็นผู้ช่วยคุณพ่อเจ้าวัดในวัดต่างๆ ตามความต้องการ ท่านได้ซื้อที่ดินที่สงขลาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1974 และได้สร้างวัดน้อยที่นั่น

ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ 1975 เป็นต้นไปมีผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามมาลงที่สงขลา เป็นเหตุให้คุณพ่อมีงานเพิ่มอีกอย่างหนึ่ง ผู้ลี้ภัยนี้จะมีมาเรื่อยๆ ต่อเนื่องกันถึง 10 ปี คุณพ่อและสมาชิกซาเลเซียนที่หาดใหญ่ ก็จะรับเป็นงานที่สำคัญที่ต้องไปให้การเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือ 2-3 ปีต่อมามีคุณพ่อคณะเยสุอิต ชาวอเมริกัน คือคุณพ่อเดฟริน (Fr. Devlin) มาเอาใจใส่เป็นประจำ

ในปี ค.ศ.1976 คุณพ่อโจซีโอได้ทำหน้าที่แทนคุณพ่อแฟรงค์เป็นเวลา 1 ปีเมื่อกลับมาแล้วคุณพ่อแฟรงค์ ได้สร้างอาคารศูนย์คาทอลิกแพร่ธรรม หาดใหญ่ และในปีต่อๆ ไป คุณพ่อซัคโก ซึ่งย้ายมาอยู่ที่ศูนย์คาทอลิกแพร่ธรรมหาดใหญ่ ได้อบรมครูคำสอนหลายรุ่น สำหรับสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีเพื่อให้งานอภิบาลสัตบุรุษเข้าถึงทุกครอบครัว ทุกปีจะเชิญซิสเตอร์หรือคุณพ่อจากคณะนักบวชที่กรุงเทพฯ มาช่วยอบรมและเยี่ยมเยียนครอบครัวต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้ผลดี คุณพ่อยังได้สนับสนุนกลุ่มเยาวชน พลมารี กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน และอื่นๆ

ในปี ค.ศ.1979 คุณพ่อไมเคิล เดลม๊อท ซึ่งช่วยเหลือวัดหาดใหญ่เป็นประจำ ทั้งๆ ที่ท่านได้กลับไปยังบ้านเกิดของท่านแล้ว ก็ยงเดินทางกลับมาเยี่ยมวัดที่ท่านได้สร้างขึ้นมา

ในปี ค.ศ.1980 โอกาสฉลองปัสกา มีพิธีบวชพระสงฆ์เป็นครั้งแรกในวัดแม่พระเมืองลูรด์หาดใหญ่ คือ คุณพ่อชีโร่ นาวา (Fr. Ciro Nava)

คุณพ่อโซซีโอ
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที 10
ในปี ค.ศ.1980 คุณพ่อแฟรงค์ ได้ย้ายไปประจำวัดแม่พระฟาติมา ที่บ้านแสงอรุณ คุณพ่อโซซีโอ จึงเป็นคุณพ่อเจ้าวัด โดยมีคุณพ่อการ์โล เวลาร์โด เป็นผู้ช่วย และมีคุณพ่อซัคโก ดูแลอาคารแพร่ธรรม

แม้ว่าคุณพ่อวาเลนติโน โซซีโอ จะดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสเพียง 3 ปี แต่ท่านได้ดูแลนักเรียนประจำที่โรงเรียนแสงทองเป็นเวลาหลายปี และยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสหลายวาระติดต่อกัน ดังนั้นท่านได้ช่วยพัฒนาคริสตชนหาดใหญ่ในหลายด้าน โดยเฉพาะการดูแลเอาใจใส่การสอนคำสอนทั้งในช่วงภาคเรียนปกติและคำสอนภาคฤดูร้อน พร้อมทั้งจัดหาครูคำสอนเพิ่ม เช่น ครูพิลาป ประชาบาล ส่วนคุณพ่ซัคโกได้ให้ครูประสงค์ รุจิรัตน์ มาช่วยในศูนย์แพร่ธรรม ติดตามดูแลสัตบุรุษที่อยู่ห่างไกลอย่างสม่ำเสมอ อบรมบรรดาเด็กๆ ให้สามารถช่วยจารีต ร่วมพิธีกรรมอย่างถูกต้องและสง่างาม รับผิดชอบดูแลวัดและสัตบุรุษในช่วงที่คุณพ่อเจ้าอาวาสติดภารกิจนอกพื้นที่ด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดี

ในปี ค.ศ.1981 คุณพ่อซัคโก ซึ่งอยู่ประจำศูนย์คาทอลิกแพร่ธรรมหาดใหญ่ ทำหน้าที่แทน คุณพ่อโซซีโอ ระยะหนึ่ง


คุณพ่อแตร์รี่ ตาไปย์ (Fr. Terry Tapay)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 11
ในปี ค.ศ. 1983 มีคุณพ่อแตร์รี่ ตาไปย์ เป็นคุณพ่อที่หนุ่มทีสุดที่ชาวหาดใหญ่เคยมี ท่านมีอายุเพียง 35 ปีในตอนนั้น มีคุณพ่อซัคโก เป็นผู้ช่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์แพร่ธรรมคาทอลิกหาดใหญ่

ต้นปี ค.ศ. 1985 คุณพ่อซัคโก ย้ายไปเป็นคุณพ่อที่บ้านโป่ง คุณแตร์รี่ ตาไปย์ จึงรับผิดชอบศูนย์คำสอนด้วย โดยมีคุณพ่อยอแซฟ เกียรติ บุญกำจาย เป็นผู้ช่วยระยะหนึ่ง คุณพ่อตาไปย์ได้พัฒนาการมีส่วนร่วมของสัตบุรุษในกิจกรรมต่างๆ ของวัด เข่น การขับร้องในพิธีมิสซา สนับสนุน ดูแลเอาใจใส่เยาวชนให้รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัดและดำเนินชีวิตเป็นลูกที่ดีของพระเจ้า ทำให้เยาวชนรวมตัวกันอย่างเป็นปึกแผ่นและมีชีวิตชีวาด้วยการปลูกฝังให้พวกเขารักดนตรี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ส่งเสริมการใช้พระคัมภีร์ในครอบครัวให้เกิดผลในชีวิตประจำวัน แก่บรรดาสัตบุรุษที่สนใจสนับสนุนให้ฆราวาสมีบทบาทในงานแพร่ธรรมมากขึ้น โดยการส่งตัวแทนฆราวาสเข้าร่วมสัมมนาผู้นำฆราวาสของสังฆมณฑลเป็นประจำทุกปี เริ่มในปี ค.ศี 1985 ทำให้ฆราวาสมีความตื่นตัว เข้าใจบทบาทของตนเองที่มีต่องานแพร่ธรรม และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกิจการต่างๆ ตามความสามารถมากยิ่งขึ้น จัดให้มีการอบรมสัมมนาฟื้นฟูชีวิตครอบครัว โดยเชิญทีมพิธีกรจากบ้านโป่งมาให้คำแนะนำ ริเริ่มการแบ่งคริสตชนเป็นกลุ่มตามเขตที่อยู่อาศัย

คุณพ่อตาไปย์ ได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งที่สงขลา เพื่อเป็นที่ประกอบพิธีมิสซาหลังปัจจุบัน และพัทลุงก็เช่นเดียวกันโดยมีคุณพ่อโรเซ่น ช่วยหาทุน

ในปี ค.ศ.1987 วัดแม่พระเมืองลูดร์ หาดใหญ่ มีบุญได้ต้อนรับพระรูปแม่พระฟาติมา เป็นเวลา 1 เดือน ในปี ค.ศ.1988 ชาวหาดใหญ่ คือ โรงเรียนแสงทอง โรงเรียนธิดานุเคราะห์ และวัดหาดใหญ่ร่วมฉลองดอนบอสโก 88 อย่างสง่าเหมือนกัน

คุณพ่อฟรังซิส ซัคโก
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 12
ในปี ค.ศ.1991 มีคุณฟอซัคโก ย้ายมาประจำที่วัดหาดใหญ่ และสานต่องานของคุณพ่อตาไปย์ เป็นอย่างดี โดยมีคุณพ่ออนุรัตน์เป็นผู้ช่วย ในปี ค.ศ. 1993 มีคุณพ่อโซซิโอ กลับมาเป็นผู้ช่วย

คุณพ่อซัคโก ได้พัฒนางานด้านอภิบาลคริสตชน และงานแพร่ธรรมอย่างเต็มความสามารถ เช่น ส่งเสริมงานแพร่ธรรมกับบรรดาคนต่างศาสนา ส่งเสริมการใช้วีดีโอในการสอนคำสอน จัดอบรมคูรคำสอนอย่างต่อเนื่อง สอนคำสอนคนต่างศาสนา โปรดศีลล้างบาปแก่ผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมาก ริเริ่มให้มีสภาอภิบาลวัด และยกร่างธรรมนูญฉบับที่ 1 สำหรับสภาอภิบาลวัด เพื่อการทำงานร่วมกันของพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส จำนวน 31 ท่าน ได้ริเริ่มให้มีการสวดสายประคำตามบ้านของสัตบุรุษในช่วงเดือนตุลาคมเป็นประจำทุกปี

เริ่มต้นการบูรณะป่าช้า โดยมีคุณครูเจิม เทพสุริยวงศ์ คุณพร้อมสุข สินเจริญกุล คุณครูพรสวัสดิ์ เลิศวิทยาวิวัฒน์ คุณอุดมเลิศ มหัทธโนบล และคุณอุดมชัย มหัทธโนบล พร้อมกับนักเรียนโรงเรียนแสงทองวิทยาจำนวนหนึ่ง โดยในระยะเริ่มแรกได้สร้างถนน ปลูกไม้ยืนต้นเพื่อความร่มรื่นและสวยงาม ของ ป่าช้า

เริ่มผลักดันให้มีการกอ่ตั้งมูลนิธิพี่น้องคาทอลิก หาดใหญ่ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมอบห้คุณพร้อมสุข ติดต่อประสานงานเรื่องการรับโอนที่ดินในส่วนของป่าถ้าจำนวน 4 ไร่เศษ จากคุณเจริญสุข แซ่อึ้ง มารดาของท่าน ซึ่งได้ซื้อที่ดินแปลงนี้จากทายาทของคุณสิริเสรีสำราญ

คุณพ่อยอห์น ตามาโย (Fr. John Tamayo)
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 13
ในปี ค.ศ. 1996 คุณพอยอห์น ตามาโย มาเป็นคุณพ่อที่หาดใหญ่ และคุณพ่อโซซีโอ เป็นผู้ช่วย ท่านได้เอาใจใส่การอภิบาลครอบครัว โดยจัดให้มีการอบรมสัมมนาชีวิตครอบครัวอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งให้มีการฝึกทีมพิธีกรในเขตพื้นที่ เพื่อช่วยในการสัมมนาโดยไม่ต้องเชิญพิธีกรมาจากส่วนกลาง สานต่องานการแบ่งคริสตชนเป็นกลุ่มตามเขตที่อยู่อาศัย เพื่อการสร้างคริสตชนกลุ่มย่อยและเปิดโอกาสให้ฆราวาสจากกลุ่มต่างๆ เข้ามามีบทบาท ช่วยเหลืองานของวัดตามเอกลักษณ์และกระแสเรียกของกลุ่มนั้นๆ อย่างเหมาะสม เช่น กลุ่มส่งเสริมชีวิตครอบครัวช่วยคุณพ่อในเรื่องการอภิบาลครอบครัว กลุ่มพลมาข่วยคุณพ่อในเรื่องการติดตามคริสตชนที่มีปัญหาทั้งวัด และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากคุณพ่อจิตตาธิการกลุ่มในเขตวัดเท่าที่จะทำได้ ริเริ่มวางรากฐานกิจกรรมคริสตศาสนสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย) โดยส่งตัวแทนฆราวาสเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพระจิต ประเทศมาเลเซีย สนับสนุนให้มีการพบปะกันระหว่างเยาวชนมาเลเซียกับเยาวชนของวัด เปิดโอกาสให้พี่น้องต่างความเชื่อได้สัมผัสถึงอำนาจขององค์พระเจ้าในการรักษาความเจ็บป่วย ทำให้ฆราวาสได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน ส่งผลให้ชีวิตคริสตชนฆราวาสจากทุกสถาพประสานกลมเกลียวกัน มีการริเริ่มจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นของชาววัดเพื่อการอภิบาล และจัดทำสารวัดเพื่อแบ่งปันพระวาจา ข้อคิดตลอดจนประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของวัดให้สัตบุรุษได้ทราบ สนับสนุนสัตบุรุษให้กล้าประกาศพระวาจาในพิธีมิสซามากขึ้น

คุณพ่อปอล วีระ เจนผาสก
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 14
ในปี ค.ศ 1998 คุณพ่อวีระ เจนผาสุก มาเป็นคุณพ่อเจ้าวัดที่หาดใหญ่ เป็นคุณพ่อคนไทยคนแรก ท่านมีคุณพ่อวาเลนติโน โซซิโอ เป็นผู้ช่วย ทั้งยังมีคุณพ่อที่โรงเรียนช่วยคุณพ่อสำหรับอภิบาลสัตบุรุษที่สะเดา

ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 2000 ท่านได้ปรับปรุงวัดให้สวยงาม เพราะวัดหาดใหญ่เป็นวัดหนึ่งที่สัตบุรุษทางใต้ตอนล่างสุดจะไปแสวงบุญ ในที่สุดคุณพ่อก็ปรับปรุงสุสานให้เหมาะสม และจัดให้มีคนเฝ้าเอาใจใส่ดูแลเป็นประจำ คุณพ่อยังได้เอาใจใส่การสอนคำสอนครอบครัว มีคนรับศีลล้างบาปและทำพิธีศีลกล่าวให้ถูกต้อง เป็นจำนวนมาก ท่านได้ดูแลเอาใจใส่ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หาดใหญ่ ให้เหมาะสมกับการเป็นศูนย์รวมจิตใจของคริสตชน จัดให้มีการวาดภาพแม่พระและพระตรีเอกานุภาพบนกำแพงหลังพระแท่นในวัด จัดสร้างถ้ำแม่พระใหม่ เพื่อเป็นการต้อนรับปี ปีติมหาการุญ ค.ศ. 2000และเร่งดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิพี่น้องคาทอลิก หาดใหญ่ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้รับการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิพี่น้องคาทอลิก หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ.1998 และรับโอนที่ดินจำนวน 4ไร่ 2 งาน 36.8 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 913 จากคุณเจริญสุข แซ่อึ้ง และได้รับใบอนุญาตสุสานเลขที่2/2543 ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2000 ซึ่งต้องไปต่อใบอนุญาตทุก 3 ปี

ปรับปรุงธรรมนูญสภาอภิบาลวัด และขั้นตอนการเลือกสมาชิกสภาอภิบาลวัด จัดสอนคำสอนผู้ใหญ่ และเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสมเท่าที่เวลาจะอำนวย สานต่องานด้านการเสวนากับพี่น้องต่างความเชื่อ มีการฟื้นฟูกลุ่มวินเซนต์ เดอ ปอล ขึ้นใหม่

ช่วงปลายปี ค.ศ. 2000 ระหว่างวันที่ 21 - 25 พฤศจิกายน เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ วัดได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ทำให้คุณพ่อและสัตบุรุษมีโอกาสแสดงความเอื้ออาทรต่อกันในความทุกข์ยากลำบาก

คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 15
ในปี ค.ศ.2001 คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ เป็นคุณพ่อเจ้าวัดที่วัดหาดใหญ่ โดยมีมีผู้ช่วยเจ้าอาวาส 3 ท่านในต่างวาระ กล่าวคือ คุณพ่อวาเลนติโน โซซีโอ (ค.ศ. 2001) คุณพ่อยอห์น บอสโก สุวัฒน์ เหลืองสอาด (ค.ศ. 2004) และคุณพ่อหลุยส์ พรจิต พูลวิทยกิจ (ค.ศ. 2006 - 2008) ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว กิจการต่างๆ ภายในเขตการปกครองและอาณาบริเวณ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน บนพื้นฐานเทววิทยาพระศาสนจักร “Communion of Communities” โดยมีพระวาจาของพระเจ้าเป็นจุดศูนย์กลางได้มีความพยายามสร้างประสบการณ์แห่งการทำงานร่วมกันในหมู่ชาววัดในระดับรากหญ้า อันเป็นบรรยากาศพื้นฐานที่ก่อให้เกิดคริสตชนกลุ่มย่อย “Basic Ecclesial Community” (BEC) ที่เข้มแข็งอาศัยความร่วมมืออันดีของชาววัด การพัฒนาได้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับทิศทางงานอภิบาลทั้งในระดับสังฆมณฑล และระดับประเทศ

ในระยะเริ่มต้น คุณพ่อได้ส่งเสริม และจัดให้มีการทำแผนอภิบาลวัด (Parish Pastoral Plan) ระยะ 6 ปี (ค.ศ. 2001 - 2006) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอภิบาลชีวิต คริสตชน ให้สามารถดำเนินชีวิตสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าโดยอาศัยพระวาจา การภาวนา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และพิธีกรรม มุ่งสร้างสถาบันครอบครัวและคริสตชนกลุ่มย่อยที่มีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินชีวิตในทุกสถานภาพมีความสอดคล้องผสานกลมกลืน มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พร้อมทั้งจัดเสวนากับพี่น้องต่างความเชื่อบนพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกมิติ คุณพ่อได้จัดระบบการทำงานให้มีความชัดเจนเป็น 4 ฝ่าย

1. ฝ่ายอภิบาลคริสตชน จัดให้มีการสอนคำสอนผู้ใหญ่ สอนคำสอนนักเรียนชั้น ป.1 - 6 จัดค่ายคำสอนภาคฤดูร้อน โดยมีกิจกรรมตามเทศกาลพิธีกรรม มีการอบรมฟื้นฟูจิตใจฆราวาสกลุ่มต่างๆ การสวดภาวนา เฝ้าศีล ศึกษาและแบ่งปันพระวาจา (Lectio Divina) ริเริ่มการสวดสายประคำตามบ้านโดยมีการรำพึงพระวาจาของพระเจ้า ในช่วงเดือนตุลาคม กลุ่มต่างๆ อาทิ ซาเลเซียนผู้ร่วมงานฯได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทช่วยเหลืองานของวัดตามเอกลักษณ์และพระพรพิเศษของตน มีการส่งตัวแทนเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมชุมนมผู้นำเยาวชนในระดับสังฆมณฑล ระดับประเทศ และระดับโลก (วันเยาวชนโลก) ส่งบุคลากรเข้าร่วมส่วนในการอบรมและศึกษาพระคัมภีร์ ประชุมสัมมนาพระสงฆ์นักบวช ฆราวาส ระดับสังฆมณฑลประจำปี และนำผลที่ได้รับจากการประชุมมาเป็นแนวทางในการอภิบาลชีวิตคริสตชนในแต่ละป็อย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมให้ชาววัดได้เข้าร่วมกิจกรรมปีครอบครัว ปีศีลมหาสนิท ปีแพร่ธรรมในระดับสังฆมณฑล เป็นเจ้าภาพเฉลิมฉลองปิดปีสายประคำระดับสังฆมณฑลในเขตภาคใต้ตอนล่าง และยังคงจัดให้มีการจาริกแสวงบุญประจำปี ณ วัดนักบุญอันนา ประเทศมาเลเซีย

ในช่วงสุดท้ายของการเป็นเจ้าอาวาส เพื่อให้การอภิบาลวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ดหาดใหญ่ เป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ ได้จัดให้มีการปรับปรุงข้อกำหนดสภาอภิบาลวัดให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ และบริบทของวัด ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาอภิบาลวัดชุดใหม่แทนชุดเดิมที่หมดวาระการทำงาน และในที่สุด พร้อมกับสภาอภิบาลวัด ได้จัดทำแผนอภิบาล (Parish Pastoral plan) ปี 2007 - 2012 เพื่อเป็นแผนแม่บทอีกครั้ง รวมทั้งแผนงานประจำปี 2007 - 2009 ของทั้ง 4 ฝ่ายเพื่อรองรับแผนแม่บท โดยมุ่งเน้นให้ตอบสนองต่อบริบท ปัจจุบันของวัด และทิศทางปัจจุบันของสังฆมณฑล ปี 2007 - 2009 ที่มุ่งสร้างกลุ่มคริสตชนชาววัดให้มีความรัก และความศรัทธาต่อพระวาจาของพระเจ้า

2. ฝ่ายพิธีกรรม เพื่อให้ชาววัด มีส่วนร่วมในพิธีกรรมและรับศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยความเข้าใจ เกิดประโยชน์ในชีวิต โดยเฉพาะในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ จึงได้จัดตั้งและส่งเสริมกลุ่มพิธีกรรม กลุ่มผู้ประกาศพระวาจา กลุ่มนักขับร้อง กลุ่มผู้ช่วยจารีต ทั้งสี่กลุ่มจะมีส่วนในการจัดเตรียมพิธีกรรมในโอกาสต่างๆ ให้สง่างาม เรียบง่าย และมีความหมาย ช่วยให้ชาววัดมีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า มีการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมด้านพิธีกรรมในระดับสังฆมณฑล และนำสิ่งที่ได้รับมาเป็นแนวทางในการจัดเตรียมพิธีกรรมของวัด จัดอบรมและฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิตของกลุ่มพิธีกรรม กลุ่มผู้ประกาศพระวาจา กลุ่มนักขับร้อง และกลุ่มผู้ข่วยจารีต มีการส่งเสริมให้ใช้สัญลักษณ์ที่สื่อความหมายฝ่ายจิตในโอกาสฉลองสำคัญ เช่น ฉลองวัด ฉลองพระคริสตสมภพ ในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณที่มีพี่น้องต่างชาติ และต่างความเชื่อ ได้มีความพยายามอภิบาลให้เกิดความเข้าใจสาระฝ่ายจิต โดยการใช้ภาษาอังกฤษหรือให้คำอธิบาย ในโอกาสและจังหวะที่เหมาะสม อีกทั้งยังจัดพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณเป็นภาษาอังกฤษเพื่อพี่น้องต่างชาติ นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้มีการประชุมจัดเตรียมงานฉลองสำคัญต่างๆ โดยมีพระวาจาหล่อเลี้ยง และเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานรวมกันอย่างมีเป้าหมาย

3. ฝ่ายสื่อสาร - สังคม เพื่อให้เกิดเอกภาพและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น อีกทั้งเห็นคุณค่า สิ่งดีงามของสภาพวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น เกิดจิตสำนึกในการช่วยเหลือ รักรู้คุณ รับใช้เสียสละ แบ่งปัน ในหมู่ชาววัด คุณพ่อได้ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆของวัดใน 3 รูปแบบ ได้แก่ จัดบอร์ดตามเทศกาลพิธีกรรม จัดทำสารวัด พร้อมบทรำพึงพระวาจาประจำสัปดาห์ จัดทำ web site ของวัด ส่งเสิรมให้ชาววัดได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากภายนอกโดยรับวารสารของสังฆมณฑล สำนักพิมพ์อุดมสาร และอื่นๆ จัดมุมหนังสือสำหรับผู้ที่สนใจข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพระศาสนจักร จัดแผนกประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ให้การต้อนรับสัตบุรุษที่มาจากต่างวัด ได้จัดให้มีสื่อคำสอนที่เอื้อต่อกิจกรรมการเรียนการสอนคำสอน ให้บริการยืมหนังสือ วีดีทัศน์ ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการบริการด้านศาสนภัณฑ์สำหรับชาววัดที่สนใจ ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มองค์กรต่างๆเช่น พลมารี วินเซน เดอ ปอล ส.ช.ค. ในการเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ เด็กกำพร้า ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ ผู้ต้องขังในเรือนจำร่วมกับองค์กรภายนอกเช่น โคเออร์ จัดกิจกรรมด้านศาสนสัมพันธ์ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี

4. ฝ่ายธุรการ - อาคารสถานที่ ในด้านงานธุรการ นอกจากการปรับปรุงซ่อมแซม เครื่องใช้อุปกรณ์สำนักงาน พร้อมทั้งจัดหมวดหมู่เครื่องใช้ต่างๆแล้ว ยังได้จัดให้มีระบบการทำงานแบบ Local Network เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคล และฝ่ายต่างๆ มีการจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร ที่เป็นระบบและปลอดภัย ทั้งในูรปแบบไฟล์เอกสารและไฟล์คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และพัฒนาฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการสำรวจสำมะโนประชากรชาววัด และทำทะเบียนวัดใหม่ เพื่อให้เป็นปัจจุบัน ง่ายต่อการค้นหา ติดต่อเยี่ยมเยียน และอภิบาล

เพื่อให้วัดเป็นสถานที่แห่งการภาวนา เป็นศูนย์กลางในการสรรเสริญโมทนาคุณพระเจ้า และเป็นสถานที่เสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชาววัดอย่างแท้จริง ได้มีการปรับปรุงสถานที่ต่างๆภายในวัด อาทิ ห้องทำงานเจ้าอาวาส และห้องรองเจ้าอาวาส ห้องทำงานของเจ้าหน้าที่วัด ห้องเรียนคำสอนห้องสือคำสอนห้องสมุดชาววัด ห้องประขุม ห้องประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน มีการปรับปรุงที่พัก ห้องนอน ห้องน้ำ ให้สะอาดถูกสุขลักษณะ สำหรับเด็กค่ายคำสอน และผู้ประสงค์เข้าพักในโอกาสพิเศษ ได้มีการจัดสร้างวัดน้อย (ห้องภาวนา) ใหม่ในเขตอาคารวัดใหญ่ แทนวัดน้อยเก่าที่อยู่ในอาคารแพร่ธรรม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาววัดที่ต้องการสวดภาวนาและเฝ้า ศีล

มีการปรับปรุงประตูหน้าของวัด จัดทำป้ายวัดบริเวณประตูหน้า เปลี่ยนหลังคาวัด และทาสีวัดทั้งภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบแสงและเสียงภายในวัด เพื่อพิธีกรรม และการประกาศพระวาจาที่มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงแผงควบคุมสวิตซ์ไฟฟ้า เพื่อความสะดวก ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จัดให้มีมุม “ศาลาร่มเย็น” สำหรับการพบปะพูดคุยของชาววัด นอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบ อาทิ สวนน้ำใต้บันได

มีการพัฒนาสุสานบ้านไร่ให้อยู่ในสภาพที่สะอาดเรียบร้อย และที่สำคัญ ได้มีการเริ่มก่อสร้างศาลาฌาปนกิจหลังใหม่ แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม บรรยากาศแห่งการร่วมแรงร่วมใจของครอบครัวชาววัด และการร่วมรับผิดชอบของสภาอภิบาลวัดเป็นสองสิ่งที่โดดเด่นในช่วงการก่อสร้าง

นอกจากการปกครองดูแลรับผิดชอบประชาสัตบุรุษในเขตวัด และอาณาบริเวณโดยรอบ คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ ยังต้องรับตำแหน่งผู้รักษาการสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ในปี ค.ศ. 2003 เมื่อตำแหน่งประมุขของสังฆมณฑลว่างลง อันเนื่องมาจากการมรณภาพของพระคุณเจ้าประพนธ์ ชัยเจิรญ กระนั้นก็ดี การดำเนินงานด้านต่างๆ ของวัดก็มิได้หยุดชะงัก เนื่องจากชุมชนชาววัดเริ่มเข้มแข็งผนวกกับระบบงานที่ชัดเจน และเปิดกว้างฟูการกระจายอำนาจในปริมาณที่เหมาะสม อันนำมาซึ่งการมีส่วนร่วมของชาววัดในทุกระดับ

คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน
เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 16
ในเดือนเมษยน ค.ศ. 2007 คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน (John Lissandrin) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดหาดใหญ่ เป็นองค์ที่ 16 โดยมีคุณพ่อหลุยสัพรจิต เป็นผู้ช่วยในเวลา 1 ปี ต่อมามีคุณพ่ออันตน ปิยะ พืชจันทร์ เป็นผู้ช่วย

คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน มีประสบการณ์การเป็นเจ้าอาวาสเป็นเวลา 9 ปีที่วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ บ้านเจ้าคณะที่กรุงเทพ เป็นประสบการณ์ที่ประทับใจ ท่านจึงเอาใจใส่เยี่ยมเยียนสัตบุรุษทุกครอบครัวเพื่อรู้สถานการณ์ชีวิตคริสตังของพวกเขา คุณพ่อยังได้พยายามสานต่องานของคุณพ่อนิพนธ์เป็นอย่างดี ต่อมาคุณพ่อได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดหาดใหญ่กับหมู่คณะซาเลเซียนที่ทำงานที่โรงเรียน ท่านจึงได้รับความช่วยเหลือมากมายในงานอภิบาล

ในด้านการก่อสร้าง คุณพอยอห์นได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาฌาปนกิจหลังใหม่จนแล้วเสร็จตั้งชื่อว่า “บ้านแม่พระ” โดยที่สัตบุรุษช่วยกันออกทุนเป็นส่วนมากในการก่อสร้างนี้ ท่านได้เอาใจใส่วัดทุ่งลุงเป็นพิเศษเพราะอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมหลังน้ำท่วมปี ค.ศ. 2000 ท่านจึงได้ทำโครงการที่จะบูรณะวัดพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า

ที่ทุ่งลุงที่ดินของแขวงซาเลเซียนที่หาดใหญ่
(ข้อมูลได้มาจากการบันทึกรายวันและจากเอกสารของแขวง)

ในปี ค.ศ. 1936 พระคุณเจ้าปาซอตตี โดยการแนะนำของอาจารย์ทวน คมกฤศ ได้ซื้อที่ดิน 12 ไร่ ที่สามแยกคอหงส์หลังโรงยาง ในราคา 450 บาท ที่ดินแปลงนี้บริษัทเซ้าท์เทอร์น (Southern Rubber co,ltd.) ได้ซื้อจากมิสซังในราคา 120,000 บาท ค.ศ. 1951 (ดูศาลาแดง วันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ.1951)

ในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ 1938 คุณพ่อมารีโอเขียนในการบันทึกรายวันของท่านว่า ท่านได้ไปหาเถ้าแก่ซีกิมหยงที่สงขลา และเถ้าแก่ได้ยืนยันว่า ท่านตั้งใจที่จะให้ที่ติน 6 ไร่ เพื่อชาวคาทอลิกเปิดกิจการที่จะช่วยพัฒนาหาดใหญ่ ด้านศีลธรรมและการศึกษา

วันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อมารีโอ กลับจากการเดินทางไปภาคใต้ รายงานให้คุณพ่อเจ้าคณะว่า เถ้าแก่ชีกิมหยงพร้อมที่จะให้ที่ดินแน่นอนจำนวน 6 ไร่แก่คณะเพื่อเปิดโรงเรียน

ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อมารีโอได้เดินทางไปพบเถ้าแก่ซีกิมหยงที่สงขลาตามการนัดหมาย และเถ้าแก่ซีกิมหยงได้ทำหนังสือถวายที่ดิน 6 ไร่ ให้แก่คุณพ่อมารีโอ และคุณพ่อเตรียมโครงการสร้างบ้านสองชั้นทันทีในที่ดินที่ได้รับมา โดยได้ลงมือก่อสร้างในเดือนมิถุนายน และท่านได้เข้าไปพักอาศัยในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1941 บ้านนี้เป็นที่พักอาศัยและมีโบสถ์ในนั้นด้วย

ในวันที่ ฯ4 ตุลาคม ค.ศ. 1941 พระคุณเจ้าปาซอตตี ได้ทำพิธีเสกบ้านนี้ และท่านได้พูดว่า “ขอบคุณพระเจ้าที่แขวงซาเลเซียนมีความร่วมมือดีกับสังฆมณฑลราชบุรี” คำพูดแบบนี้ฟังดูแล้วดูมีปริศนา ในปี ค.ศ. 1942 คุณพ่อมารีโอได้ยื่นเรื่องเปิดโรงเรียนหาดใหญ่วิทยา แต่เนื่องจากลถานการณ์ทางการเมืองในสมัยนั้น จึงยังไม่สำเร็จ (ดูการบันทึกหมายเหตุรายวัน บ้านซาเลเซียน ศาลาแดง และงานของคุณพ่อมารีโอด้วย สิงหาคม 1942 - เมษายน 1943; 14 – 2 - 44; 14 มีนาคม 1944)

ในปี ค.ศ. 1944 เถ้าแก่ซีกิมหยง ยังให้คำสัญญาแก่คุณพ่ออ๊อตโตลีนา ว่าจะถวายที่ดินเพิ่มให้ครบ 11 ไร่ ถ้าหากมีการเปิดกิจการโรงเรียน เมื่อเถ้าแก่ซีกิมหยงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 (ทำพิธีฝังศพ วันที่ 10 มีนาคม ปีเดียวกัน) ท่านยังไม่ได้โอนที่ดินให้แก่นักบวชซาเลเซียน หรือสังฆมณฑลราชบุรี

เมื่อเกิดไฟไหม้ วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1950 คุณพ่อคาร์เรตโต เจ้าคณะได้ขออนุญาตผู้ใหญ่ของคณะที่กรุงตูรินเพื่อกู้เงิน 100.000 เหรียญจากสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้สำหรับกิจการของแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย และได้ให้แก่บุตรธิดาของเถ้าซีกิมหยงได้กู้ยืมไปจำนวนหนึ่ง เพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็วหน่อย ในวันที่ 8ี มกราคม ค.ศ.1951 คุณสุ่ยฟัดและคุณสุ่ยหยงถวายที่ดินอีก 3 ไรให้แก่คุณพ่อเจ้าคณะ ที่ดินของวัดปัจจุบัน ภายหลังจึงมีการขายที่ดิน 12 ไร่ของมิสซังที่คอหงส์

ในที่สุดโดยการประสานงานของพระคุณเจ้าคาร์เรตโต ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1951บุตรทั้งสองสัญญาที่จะให้ที่ดิน 5 ไร่ที่ยังเหลืออยู่ในแปลงนี้ และจะช่วยจัดการให้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ได้ออกไปที่อื่น แต่เรื่องโอนที่ดินได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนถึงปี ค.ศ.1958 ได้โอนให้ซาเลเซียนในนามของสัตบุรุษหาดใหญ่ผู้หนึ่งและต่อมาจึงโอนเข้ามูลนิธิซาเลเซียนแห่งประเทศไทย (ดูการบันทึกรายวันที่หาดใหญ่)

บุตรธิดาของเถ้าแก่ซิกิมหยงได้มอบที่ดินจำนวน 20 ไร่ ที่สามแยกหนองโรง ทางเข้าเมืองสงขลา เป็นการใช้หนี้ทั้งหมด พวกเขาได้โอนที่ดินให้แก่พระคุณเจ้าคาร์เรตโต ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1952 พระคุณเจ้าคาร์เร็ตโตได้รับโอนที่ดินในนามของคณะซาเลเซียน ส่วนคณะซาเลเซียนมีโครงการที่จะเปิดโรงเรียนอาชีวศึกษาในอนาคต เนื่องจากว่าท่านเป็นผู้ที่ได้หาเงินทุนให้พวกเขาพระคุณเจ้าการ์เรตโต ได้โอนที่ดินนี้ให้แก่คณะจาเลเซียน ในปี ค.ศ. 1956 (ดูรายงานการประชุมที่ปรึกษาเจ้าคณะ) แขวงซาเลเซี่ยนแห่งประเทศไทยได้อนุมัติขายที่ดินผืนนี้ในปี ค.ศ. 1970 โรงเรียนแสงทองได้ขายที่ดินผืนนี้ในปี ค.ศ. 1972 เพื่อใช้เงินในการก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 พระคุณเจ้าคาร์เร็ตโตและที่ปรึกษาได้มอบวัดหาดใหญ่และหัวหิน พร้อมที่ดินให้แก่คณะซาเลเซียนโดยที่คณะซาเลเซียนได้รับภาระที่จะสร้างอาคารวัด ในวัดทั้งสองแห่ง

ทัวร์แนะนำ

  1. เหมากรุ๊ป Team Building
  2. เหมากรุ๊ป CSR
  3. เหมากรุ๊ป Team Building และ CSR
  4. เหมากรุ๊ปทัวร์ในประเทศ
  5. เหมากรุ๊ปทัวร์เอเชีย

ศูนย์รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน สำหรับในประเทศและโซนเอเชีย

นิววิวทัวร์ รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

เชื่อถือได้

เราเป็นบริษัทที่ทำด้านการท่องเที่ยวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีลูกค้าต่างๆมากมาย ซึ่งเชื่อมั่นในคุณภาพของการดำเนินงานของเรา

ราคาคุ้มค่า

ทุกแพ็คเก็จทัวร์มีรายละเอียดและแผนงาน ที่ทำให้คุ้มค่ากับทุกบาทที่ลูกค้าเลือกเรา

บริการต่อเนื่อง

 เมื่อมีโปรโมชั่นใหม่ๆ หรือ ทัวร์น่าเทียว เราจะแจ้งให้ทราบตามส่วนติดต่อที่ระบุไว้ให้กับเรา 

ข้อมูลเพิ่มเติม

เราทีทีมงานที่พร้อมให้ข้อมูลกับลูกค้าทุกท่าน เพียงแค่โทรหาเรา

นิววิวทัวร์พาเที่ยว

กับผลงานการจัดทัวร์บางส่วนของความมุ่งมั่นในการให้บริการจากเราและการอุปการะคุณที่ดีของลูกค้าที่ผ่านมาโดยตลอด

คำยืนยันลูกค้า

คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์