อุโมงค์กู่จี เวียดนาม
อุโมงค์กู่จี เวียดนาม
อุโมงค์กู่จี (The Cu Chi Tunnels) อำเภอกู่จี อยู่ห่างจากโฮจิมินห์ซิตี้ประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเวียดนามที่นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องมาเยือน กู่จี๋อยู่ห่างจากโฮจิมินห์ ซิตี้ เพียง 70 กิโลเมตร ก่อนเกิดสงครามเวียดนาม กู่จี๋เคยเป็นบ้านนาอันสงบสุขของชาวเวียดนามหลายหมู่บ้าน ชาวบ้านมีอาชีพทำสวนผลไม้และสวนยาง กู่จี๋กลายเป็นเมืองสำคัญขึ้นมาก็เพราะชาวบ้านในแถบนี้ได้ให้ความช่วยเหลือทหารเวียดกงในการต่อสู้กับทหารอเมริกันอย่างทรหดกล้าหาญ จนฝ่ายที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์เหนือกว่าไม่สามารถเอาชนะได้ ต้องพ่ายแพ้ชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่ใช้ยุทธวิธีสู้รบด้วยการขุดอุโมงค์ใต้ดินเป็นที่ซ่อนตัวของนักรบจรยุทธเวียดกง อุโมงค์นี้ขุดโดยชาวบ้านที่มีเพียงจอบเสียมเป็นเครื่องมือ ค่อย ๆ ขุดดินแล้วใส่ตะกร้าลำเลียงออกมาทิ้งข้างนอกทุกวัน สร้างเส้นทางใต้ดินเชื่อมติดต่อกันเป็นโครงข่ายกว้างขวาง ความยาวถึง 250 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่าแสนไร่
สำหรับอุโมงค์กู่จี่เปรียบเสมือนที่มั่นหลักและที่มั่นสุดท้ายของทหารเวียดกง ซึ่งเป็นกองกำลังของเวียดนามใต้ที่ไม่พอใจและต่อต้านรัฐบาล โดยได้รับการจัดตั้งก่อสร้างขึ้นโดยคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการสู้รบในสมรภูมิเวียตนามใต้ การขยายกำลังของเวียดกงเป็นไปอย่างรวดเร็วจากการจัดตั้งปี พ.ศ. 2507 กำลังเวียดกงได้ขยายเป็นกว่า 30,000 คน
จากโฮจิมินห์ ไม่มีรถโดยสารไปยังอุโมงค์กู่จี ให้ซื้อแพ็กเก็จแบบวันเดย์ทัวร์ ซึ่งจะได้เที่ยวจุดอื่นๆ ด้วย กู่จี เป็นชื่อของอำเภอและยังเป็นชื่ออุโมงค์ใต้ดิน ที่พวกเวียดกงใช้เป็นฐานบัญชาการรบ โรงพยาบาล และหมู่บ้านใต้ดิน ซึ่งที่นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่หนึ่งที่ทำให้กองกำลังเวียดกงชนะในการรบ สำหรับโครงข่ายใต้ดินแห่งนี้มีความยาวกว่า 200 กิโลเมตร และเป็นสมรภูมิรบพื้นที่ที่น่ากลัวที่สุดอีกแห่งหนึ่งของสงครามเวียดนาม เพราะโดนทั้งสารเคมีและสารพิษต่างๆ ที่ใช้พ่นลงไปในอุโมงค์ โดยเฉพาะฝนเหลืองที่ทหารอเมริกันนำมาโปรยเพื่อกำจัดต้นไม้เพื่อจะได้เห็นตัวฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย จนทำให้พื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้กลายเป็นพื้นที่โล่งเตียน เป็นสาเหตุให้ทหารเวีดดกงต้องลงไปบัญชาการในอุโมงค์ใต้ดิน
ก่อนเข้าชมอุโมงค์กู่จี๋มีการฉายวิดีโอ เล่าประวัติการต่อสู้ของชาวกู่จี๋ ซึ่งใช้อุโมงค์เป็นอาวุธสำคัญมาตั้งแต่สมัยที่เวียดนามทำสงครามกับฝรั่งเศล หลังจากโฮจิมิห์ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสแต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับ จึงเกิดสงครามระหว่างขบวนการกู้ชาติเวียดนามกับฝรั่งเศส ฝ่ายเวียดนามได้ขุดอุโมงค์เป็นเส้นทางลับใต้ดินเป็นระยะทางยาวไกล อุโมงค์ใต้ดินบางเส้นทางทอดยาวลึกเข้าไปในดินแดนของศัตรู เพื่อให้ทหารของขบวนการกู้ชาติแอบขึ้นจากอุโมงค์มาทำลายศัตรูในเวลากลางคืน แล้วดำดินหายตัวไป โดยที่ศัตรูยากที่จะหาทางเข้าออกเจอ กู่จึ๋เป็นอุโมงค์เล็ก ๆ สร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1948 เพื่อใช้เป็นที่ซ่อนตัวของทหารขบวนการกู้ชาติ เมื่อเกิดสงครามเวียดนามอุโมงค์กู่จี๋มีความสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในฐานะกองบัญชาการใต้ดินของทหารเวียดกงที่อยู่ใกล้ไซ่ง่อนมากที่สุด มีการขุดอุโมงค์ขยายเส้นทางต่อไปอีกจนไปออกแม่น้ำไซ่ง่อนได้ ในอุโมงค์กู่จี๋แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วยปล่องระบายอากาศ ห้องประชุม ห้องนอน ห้องปฐมพยาบาล ครัว และคลังอาวุธ กว้างขวางจนสามารถจุคนได้มากถึง 16,000 คน
ทางเข้าอุโมงค์กู่จี๋มีหลายจุด ที่เปิดให้เข้าชมได้มีอยู่ 2 แห่ง คือที่ บิ๋นดิงห์ (Ben Dinh) และบิ๋นด็อค (Ben Doc) ค่าเข้าชมคนละ 5 ยูเอสดอลลาร์ ทางเข้าอุโมงค์ที่บิ๋ินดิงห์ เดิมเป็นช่องทางเล็กมาก ปัจจุบันขยายให้ใหญ่ขึ้น (ประมาณ 1 เมตร) สำหรับคนที่สนใจจะต้องลงไปดูในอุโมงค์ซึ่งมืดและคับแคบจนบางช่วงถึงกับต้องคลานไป ระหว่างสงครามเวียดนาม ทหารอเมริกันได้พยายามที่จะทำลายอุโมงค์นี้หลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ ครั้งแรกในปีค.ศ.1966 ทหารอเมริกันวางแผนทำลายอุโมงค์ด้วยการสูบน้ำจากแม่น้ำระบายน้ำเข้าท่วมกู่จี๋ หวังจะให้ทหารเวียดกงในอุโมงค์ถูกน้ำท่วมตายหมด แต่แผนก็ล้มเหลวลงเพราะน้ำไม่มากพอที่จะท่วมอุโมงค์ได้ ปีต่อมาทหารอเมริกันหวังจะล้างอายด้วยยุทธการ “ปอกเปลือกผิวโลก” โดยทำการทิ้งระเบิดนาปาล์มปูพรมเผาไร่นาและป่าในบริเวณกู่จี๋จนวอดวาย ซ้ำยังส่งรถแทร็กเตอร์เข้าไปตัดต้นไม้จนเหี้ยนเตียนและให้ทหารเดินเท้าเข้าไปสำรวจ เมื่อพบปากอุโมงค์ก็ทิ้งระเบิดสังหารและระเบิดควันพิษลงไปทำลาย แต่กระนั้นก็ยังไม่สามารถทำลายอุโมงค์กู่จี๋ได้ เพราะความยาวและความคดเคี้ยวของอุโมงค์กู่จี๋ที่มีทั้งความลึกและความซับซ้อนมากเกินคาด
![]() |
![]() |
ยิ่งกว่านั้นทหารเวียดกง ยังสามารถใช้อุโมงค์เป็นอาวุธสำคัญทำลายชีวิตทหารอเมริกันและสร้างความเสียหายให้กองทัพที่มีกำลังรบมหาศาล จนได้รับชัยชนะในสงครามอันโหดร้ายครั้งนี้ในที่สุด
ปัจจุบันมีการเปิดสมรภูมิเลือดแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีเจ้าหน้าที่พาเดินไปยังจุดสำคัญและสามารถมุดลงไปถึงชั้นสามของอุโมงค์ เส้นทางคดเคี้ยวและมืดมาก แม้ว่าจะมีการปรับปรุงให้สว่างขึ้น ก็ควรจะพกไฟฉายติดตัวไปด้วย ส่วนบริเวณโดยรอบของอุโมงค์แห่งนี้ ยังคงเหลือซากแห่งสงคราม อาทิ รถถัง เครื่องบิน วัตถุระเบิด และหลุมระเบิดขนาดใหญ่ซึ่งกลายเป็นบ่อเลี้ยงปลาไปแล้ว
การจัดโครงสร้างของเวียดกงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1.กำลังหลักปฏิบัติการ ภายใต้การบังคับบัญชาของคอมมิวนิสต์ใต้ (เวียดนาม)
2.กองโจรเต็มรูปแบบ จัดกำลังขนาดกองร้อยทำงานกันในระดับจังหวัด
3.กำลังทหารบ้านป้องกันตนเอง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยขนาดหมู่และหมวดซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันหมู่บ้าน
โดยหลักการแล้วเวียดกงถือว่าเป็นกำลังกองโจร ไม่มีเครื่องแบบ การแต่งกายจะใช้เสื้อผ้าแบบชาวบ้านทั่วไป แล้วแฝงตัวให้เข้ากับพื้นที่เมื่อภารกิจสำเร็จ เวียดกงจะใช้ยุทธวิถีตีหัวเข้าบ้านเวียดกงได้รับชัยชนะอย่างงดงามในปี พ.ศ. 2506 เมื่อสามารถสร้างความสูญเสียอย่างมากต่อทหารเวียดนามใต้ เวียดกงยังมีส่วนร่วมสำคัญต่อปฏิบัติการรุก โดยเข้าโจมตีอำเภอและเมืองต่างๆ ของเวียดนามใต้ เมื่อต้นปี พ.ศ.2511 ในเวลาต่อมากองทัพประชาชนเวียดนามเหนือ ได้เข้ามามีบทบาทแทนที่เวียดกง จนสิ้นสุดสงครามใน ปีพ.ศ. 2518 เวียดนามรวมตัวกันได้เป็นหนึ่งเดียว เวียดกงจึงลดบทบาทลง โดยหลังสงคราม ทหารเวียดกงที่เหลือได้ถูกรวมเข้ากับกองทัพประชาชนเวียดนาม
คำยืนยันลูกค้า
คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - ทีมบิ้วดิ้ง จันทบุรี (เคอรี่ ฟลาวมิลล์) กรุ๊ปหนึ่ง 22 ท่าน Part 2
9352 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - ทีม บิ้วดิ้ง แก่งกระจาน (โรงเรียนวัดลาดพร้าว) 60 ท่าน Part 1
10144 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - กรุ๊ปคุณล็ก (คิดส์มาเนีย) กิจกรรมเวียดนามกลาง 4 วัน 47ท่าน
18374 Views